คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสิทธิ์ แสนศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5724/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยความรับผิดในคดีขับรถประมาท และการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวน
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ง. ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย เมื่อเห็นผู้ตายได้รับอันตรายสาหัส ง. จะต้องเปิดประตูรถยนต์ออกมาเพื่อจะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ส่วนจำเลยได้รับอันตรายสาหัสและเมาสุราจำเลยจะต้องออกจากรถยนต์หลังจากที่ ง. ออกมาจากรถยนต์ก่อนแล้วเป็นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยอาศัยหลักเหตุผลที่ว่าบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บมากย่อมจะต้องออกมาจากรถยนต์ช้ากว่าบุคคลที่ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย จึงเป็นการชอบด้วยการรับฟังพยานหลักฐานแล้วหาเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกเหนือไปจากพยานหลักฐานในสำนวนไม่ คำให้การชั้นสอบสวนไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ให้รับฟังประกอบเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใด เมื่อปรากฏว่า ส.ให้การต่อพนักงานสอบสวนหลังเกิดเหตุไม่นานและ ส. เป็นพยานคนกลางไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใด จึงน่าเชื่อว่า ส. ให้การไปตามความจริงที่รู้เห็นมา ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ นั้น จึงหาเป็นการขัดต่อกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5647/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อในพินัยกรรม และการระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานอื่นประกอบ
ที่ผู้ร้องฎีกาว่าศาลควรอนุญาตให้ผู้ร้องระบุพยานผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม เพราะตามรายงานการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ลายมือชื่อของเจ้ามรดกมีลักษณะการเขียนไม่คงที่ เขียนได้หลายแบบไม่มีลักษณะของการเขียนเด่นชัดเพียงพอ ไม่อาจตรวจพิสูจน์ได้ เป็นความเห็นมีลักษณะเอื้อประโยชน์แก่ผู้คัดค้านฝ่ายเดียว ผู้ร้องจำเป็นต้องซักค้านผู้เชี่ยวชาญและระบุผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นพยานเพิ่มเติมนั้นปรากฏว่าผู้ร้องก็เป็นฝ่ายขอให้ทำการตรวจพิสูจน์เช่นเดียวกันความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมิได้ส่อไปในทางไม่สุจริต แม้สามารถทำการตรวจพิสูจน์ได้ก็มิใช่จะรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเสียทีเดียว จะต้องพิจารณาตามลักษณะการเขียนและพยานหลักฐานอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งศาลย่อมตรวจดูได้ การขอให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นทำการตรวจอีกจึงไม่จำเป็น จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องระบุพยานผู้เชี่ยวชาญอื่นเป็นพยานเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-ความรับผิดร่วม: ศาลแก้เบี้ยปรับเหมาะสมกับความเสียหายและยืนยันความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้วจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้วเงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 และ 689 นั้นฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน – ความรับผิดร่วมกันของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน – การลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้ว จะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้ว เงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน
ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 688 และ 689นั้น ฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถือกรรมสิทธิ์แทนกันในที่ดิน: พยานหลักฐานหักล้างข้อสันนิษฐานได้
โฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์เมื่อมีข้อโต้แย้งถึงสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 3กับโจทก์ จำเลยที่ 3 หาได้ถูกปิดปากมิให้ยกข้อเถียงตามความเป็นจริงที่ว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแทนจำเลยที่ 3 ไม่และการที่จำเลยที่ 3 นำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 นั้น หาใช่เป็นการนำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำหนังสือตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่แต่เป็นการนำสืบพยานบุคคลในข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3ในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงมิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด จำเลยที่ 3 มีพยานบุคคล และพยานเอกสารประกอบกับนำสืบให้เห็นถึงพฤติกรรมการซื้อที่ดินของจำเลยที่ 3 หลายแปลงรวมทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการหักล้างข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1373 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายกล่องกระดาษ การผิดนัด การบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3 คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้ง รายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้าปรากฎตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฎรายละเอียดวันส่งสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ 2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทนข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน...วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายกล่องกระดาษ: การชำระราคา, การผิดนัด, และเบี้ยปรับ
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้นเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ โดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาล และสิทธิในการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองนำค่าขึ้นศาลเพิ่มมาชำระภายในกำหนด 30 วัน โจทก์ทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1)แต่มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไปเป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียวซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 187 ประกอบมาตรา 246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลและการขอเป็นคนอนาถา ศาลมีดุลพินิจในการพิจารณาคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ทั้งสองนำค่าขึ้นศาลเพิ่มมาชำระภายในกำหนด 30 วัน โจทก์ทั้งสองเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนดโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) แต่มาตรา 132 ไม่ได้บังคับว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไป เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ
คดีนี้โจทก์ทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาเลยกำหนดที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระเพียงวันเดียว ซึ่งขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ยังมิได้สั่งจำหน่ายคดี คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 187 ประกอบมาตรา246 การที่โจทก์ทั้งสองมีความจำนงจะดำเนินคดีอย่างคนอนาถาด้วยเหตุที่ไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาล เมื่อตกเป็นคนยากจนลงภายหลังจะยื่นคำขอในเวลาใด ๆ ก็ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคแรก คดีมีเหตุสมควรให้โจทก์ทั้งสองได้มีโอกาสดำเนินคดีต่อไป โดยยังไม่สั่งจำหน่ายคดีของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, ครอบครองปรปักษ์, อายุความ: ศาลฎีกาตัดสินคดีที่ดินโฉนด
คดีจะมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องเกิดจากคำให้การของจำเลยว่าจำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม ดังนั้นศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยประกอบคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ผู้ครอบครองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ที่ดินที่มีโฉนดจะนำเรื่องการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับใช้ไม่ได้เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
of 68