คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสิทธิ์ แสนศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, ครอบครองปรปักษ์, อายุความ: ศาลฎีกาตัดสินคดีที่ดินโฉนด
คดีจะมีประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จะต้องเกิดจากคำให้การของจำเลยว่าจำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม ดังนั้นศาลย่อมมีอำนาจที่จะนำคำให้การของจำเลยมาวินิจฉัยประกอบคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ผู้ครอบครองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้ เพราะการครอบครองปรปักษ์ใช้ได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น ที่ดินที่มีโฉนดจะนำเรื่องการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 มาปรับใช้ไม่ได้เพราะเป็นคนละเรื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายหลังตัวการถึงแก่กรรม: สัญญาตัวแทนระงับ แต่ทนายยังปกปักรักษาประโยชน์ได้จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวน-พิจารณาแทนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตาม ป.พ.พ.ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไป ทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารรบบความศาลฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังตัวความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้แทน
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 นั้นเป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15ว่าด้วยตัวแทน เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฏต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความหลังคู่ความถึงแก่กรรม: ปกปักรักษาประโยชน์จนกว่าจะมีผู้สืบสิทธิ
การที่คู่ความแต่งตั้งทนายความให้ว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น เป็นการแต่งตั้งตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 15 ว่าด้วยตัวแทนเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นตัวการถึงแก่กรรม สัญญาตัวแทนย่อมระงับไปทนายโจทก์คงมีอำนาจและหน้าที่จัดการดำเนินคดีเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 828 จนกว่าทายาทหรือผู้แทนของโจทก์จะอาจเข้ามาปกปักรักษาประโยชน์ของโจทก์ อำนาจทนายโจทก์หาได้หมดสิ้นไปทันทีเมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไม่ ทนายโจทก์มีอำนาจลงนามเป็นผู้ฎีกาแทนโจทก์ได้ แต่เมื่อครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ที่ปรากฎต่อศาลว่าโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วไม่มีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมแผนโบราณโดยมิได้รับอนุญาตและการหลอกลวงผู้ป่วย ศาลพิพากษาลงโทษและห้ามประกอบวิชาชีพ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลยและถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดยเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติยา ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัดโดยใช้คนขับรถสองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบธุรกิจสถานพยาบาลและจำหน่ายยาโดยไม่ถูกต้อง อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ยา และอาจถูกสั่งระงับเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลย และถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดยเปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยา
ก่อนเกิดเหตุคดีนี้ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัด โดยใช้คนขับรถ-สองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ-แผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไปอาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำหน่ายยาแผนโบราณโดยไม่ขึ้นทะเบียน และหลอกลวงผู้ป่วยด้วยข้อมูลเท็จ มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา และอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาล ได้รับใบอนุญาตให้ขายยาแผนโบราณ และได้รับใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม เมื่อยาของกลางมีไว้เพื่อกิจการค้าของจำเลย และถูกเก็บซุกซ่อนอยู่ในสถานพยาบาล แม้มิได้นำออกแสดงโดย เปิดเผยให้คนทั่วไปทราบ แต่จำเลยพร้อมที่จะนำมาขายให้แก่ คนไข้หรือผู้มาขอซื้อได้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติ ยา พ.ศ. 2510 มาตรา 4,72,122 ซึ่งตาม มาตรา 4 ให้ถือว่า การมีไว้เพื่อขายเป็นการขายด้วย ก่อนเกิดเหตุ จำเลยถูกร้องเรียนจากราษฎรว่าสถานพยาบาลของจำเลยมีพฤติการณ์หลอกลวงคนไข้ว่าสามารถรักษาโรคสารพัดโดยใช้คนขับรถสองแถวรับจ้างชักจูงคนไข้ เจ้าหน้าที่เคยตักเตือนจำเลยแล้ว ก็ยังไม่ยอมงดการกระทำอันเป็นการท้าทายเจ้าหน้าที่ โดยอาศัยโอกาสที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาเภสัชกรรม หากปล่อยให้จำเลยประกอบอาชีพต่อไป อาจกระทำความผิดได้อีก กรณีอยู่ในหลักเกณฑ์ใช้วิธีการเพื่อ ความปลอดภัยแก่จำเลยโดยห้ามจำเลยประกอบอาชีพผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5079/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กกับความยินยอมและการอยู่กินฉันสามีภริยา ไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็ก และการรอการลงโทษ
นางพ.ได้นำเด็กหญิงพ.ผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 14 ปีเศษบุตรสาวไปทำงานที่ร้านขายอาหารของนางส. ต่อมาจำเลยได้พาเด็กหญิงพ.ออกจากร้านอาหารโดยไม่ปรากฏว่านางพ.และนางส.รู้เห็นแล้วนำไปกระทำชำเราที่บ้านพักของจำเลยโดยเด็กหญิงพ.ยินยอม ด้วยประสงค์จะเลี้ยงดูเด็กหญิง พ. เป็นภริยาและต่อมาเด็กหญิงพ. กับจำเลยได้อยู่กินฉันสามีภริยา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กไปจากมารดาและผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินจำนวน 77,000 บาทแก่โจทก์ที่ 1 ใช้เงินจำนวน 150,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ใช้เงินจำนวน 50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงแยกกันตามความรับผิดที่ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์แต่ละคนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนไม่เกินรายละ 200,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของโจทก์ทั้งสามในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 หรือไม่นั้น ข้ออ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ทั้งสามย่อมต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาเพื่อสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดลูกจ้าง - ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินจำนวน 77,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ใช้เงินจำนวน 150,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ใช้เงินจำนวน50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลอุทธรณ์-พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงแยกกันตามความรับผิดที่ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์แต่ละคน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนไม่เกินรายละ200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสามในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 หรือไม่นั้น ข้ออ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ทั้งสามย่อมต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาเพื่อสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ทั้งสาม จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 68