พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการส่งไปทำงานต่างประเทศ ไม่ใช่การจัดการสินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสการที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4912/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เพื่อหลักประกันการทำงานต่างประเทศ มิใช่การจัดการสินสมรส
โจทก์มอบเงินให้จำเลยเพื่อให้จำเลยจัดส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ จำเลยจึงทำสัญญากู้ให้โจทก์ โดยไม่มีการมอบเงินตามสัญญากู้การทำสัญญากู้ดังกล่าวเป็นการทำนิติกรรมเพื่อเป็นหลักประกันการที่จำเลยจะส่งโจทก์ไปทำงานต่างประเทศ มิได้ทำขึ้นเพื่อผูกพันสินสมรสของโจทก์โดยเฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรส การที่โจทก์นำสัญญากู้มาฟ้องจึงมิใช่การจัดการสินสมรสอันจะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนมติคณะกรรมการเช่าที่ดินฯ จำเลยที่ 1 ไม่อยู่ในฐานะถูกฟ้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งได้ให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เช่าทำนา ต่อมาโจทก์เรียกค่าเช่านาเพิ่ม โดยได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล แต่โจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด จำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 มีมติยืนตาม จึงขอให้เพิกถอนมติของจำเลยที่ 1 และบังคับให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่านาที่เพิ่ม ดังนี้เมื่อพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 บัญญัติแต่เพียงว่าคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล(คชก.ตำบล) ก็ดี คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด(คชก. จังหวัด) ก็ดี ประกอบด้วยบุคคลใดบ้าง แต่หาได้มีกฎหมายบัญญัติรับรองให้คณะกรรมการดังกล่าวมีสภาพเป็นนิติบุคคล หรือเป็นบุคคลธรรมดาแต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องร้องได้ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ และการที่จะขอให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชำระค่าเช่าที่นาเพิ่มได้ก็ต่อเมื่อมีการเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดก่อน เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว โจทก์ก็ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้ชำระค่าเช่านาที่เพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่ระบุรายละเอียดโฉนดและกำหนดเวลาจดทะเบียน เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456
หนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อความว่า ผู้ขายตกลงขายที่ดินสวนจากให้ผู้ซื้อ ผู้ขายได้รับชำระราคาจากผู้ซื้อครบถ้วนและส่งมอบที่ดินให้ผู้ซื้อแล้วตั้งแต่วันทำสัญญา แสดงว่าคู่กรณีมีเจตนามุ่งซื้อขายที่ดินกันเสร็จเด็ดขาด ทั้งสัญญาดังกล่าวก็ไม่ลงเลขที่หรือรายละเอียดของโฉนดไว้เป็นข้อตกลงแน่นอนว่าจะต้องโอนที่ดินโฉนดเลขที่เท่าใดให้แก่กัน และไม่มีข้อตกลงว่าจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เมื่อใดเป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3864/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันพยายามฆ่า: จำเลยที่ 2 ไม่ได้มีเจตนาตั้งแต่แรก และการกระทำหลังเกิดเหตุไม่ถึงขั้นร่วมมือ
จำเลยทั้งสองไปงานเทศกาลทำบุญวันสารท ที่วัด ไม่ได้เจตนาร่วมกันไปฆ่าผู้เสียหายมาตั้งแต่แรก เมื่อพบผู้เสียหายที่หน้าศาลาการเปรียญ จำเลยที่ 1 เข้าไปเอาอาวุธปืนจ่อขมับผู้เสียหายเป็นเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 2 ไม่คาดคิดมาก่อน โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสองปรึกษาร่วมกันฆ่าผู้เสียหายมาก่อนหรือในขณะนั้นเพียงแต่เมื่อกระสุนปืนลั่นถูกผู้เสียหาย ผู้เสียหายแย่งอาวุธปืนจากจำเลยที่ 1 เมื่อ ส. เข้าไปช่วยยกผู้เสียหายออกจากที่เกิดเหตุจำเลยที่ 2 จึงกระโดดเข้าไปถีบผู้เสียหาย เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังการกระทำของจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองหนีไปด้วยกันเนื่องจากมาวัดด้วยรถจักรยานยนต์ด้วยกัน และหนีไปหลังจากมีคนมาแยกผู้เสียหายออกจากจำเลยทั้งสองแล้ว พฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 พยายามฆ่าผู้เสียหาย ฟังได้เพียงว่า จำเลยที่ 2ทำร้ายผู้เสียหายไม่ถึงกับเกิดอันตรายแก่กาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมาย แม้ไม่ได้มี พ.ร.ฎ. กำหนด ศาลไม่มีอำนาจริบหากเจ้าของไม่ได้รู้เห็นการกระทำผิด
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร จึงไม่จำต้องมี พ.ร.ฎ.กำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ
แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 ประกอบ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ
แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 ประกอบ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้าม, การรับของโจร, และอำนาจริบของกลาง: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาเรื่องไม้หวงห้าม, การชดใช้ค่าเสียหาย, และการริบของกลาง
ไม้ยางเป็นไม้ที่กำหนดโดย พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484มาตรา 7 วรรคแรก ให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชการอาณาจักร จึงไม่จำต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ไม้ยางเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดอีก จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรเฉพาะไม้ยาง 1 ท่อน ที่อยู่ในครอบครองของจำเลยซึ่งไม้ยางดังกล่าวเจ้าพนักงานตำรวจยึดกลับคืนมาได้แล้วและจำเลยไม่ได้เป็นผู้ลักไม้ยางของผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ราคาไม้ยางที่ถูกลักไปแต่ยังหาไม่พบ แม้ไม้ยางที่พบอยู่ในครอบครองของจำเลยเป็นไม้ที่จำเลยได้มาหรือมีไว้เนื่องจากการกระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้ยางอันยังมิได้แปรรูปโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ประกอบมาตรา 69 แต่ไม้ยางดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดศาลย่อมไม่มีอำนาจริบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33ประกอบพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 74 แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์และฎีกาปัญหานี้ แต่เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 195วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3601/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: การโอนที่ดินเพื่อจำนอง มิใช่การโอนให้จริง
โจทก์ให้จำเลยยืมที่พิพาทไปจำนองธนาคาร ไม่มีความประสงค์ให้ผูกพันเป็นการโอนให้กันจริง ๆ จึงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม (มาตรา 155ที่แก้ไขใหม่) ที่พิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่และจำเลยตกอยู่ในความผูกพันที่จะต้องโอนที่พิพาทคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง แม้ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ แต่ถือเป็นการได้รับประโยชน์จากประกาศ
เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด อำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ลูกหนี้หามีอำนาจดังกล่าวโดยลำพังไม่ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ มาตรา 24 และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดการโดยมิให้เกิดความเสียหายแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ก่อนที่จะมีประกาศกระทรวงการคลังขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลูกหนี้ได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย โดยระบุว่าจะชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ ผลการประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้ดังกล่าว ต่อมาศาลมีคำสั่งเห็นชอบซึ่งเป็นไปตามกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 45 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 และเป็นกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว ต่อมาลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการที่จะรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรที่ต้องชำระหรือนำส่งให้เจ้าหนี้ตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: ผลกระทบต่อหนี้ภาษีค้างชำระ
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50บาท ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนหรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535โดยไม่ต้องเสียเบี้ยประกันหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้วถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตาม แต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4(3) ยังไม่ถนัดเพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ปรับและเงินเพิ่ม