พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3472/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการขยายเวลาชำระภาษีอากร: การใช้สิทธิประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลัง
เจ้าหนี้ซึ่งมีอยู่เพียงรายเดียวนำค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าซึ่งลูกหนี้ค้างชำระในช่วงปี 2523 ถึง 2525 มายื่นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับคำขอประนอมหนี้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 และลูกหนี้ได้วางเงินชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ก่อนร้อยละ 35 ของจำนวนเงินที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเงิน 162,675.50 บาท ต่อเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2535 ปรากฏว่าก่อนที่ประชุมเจ้าหนี้จะยอมรับคำขอประนอมหนี้นั้น ได้มีประกาศกระทรวงการคลังให้ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรให้แก่ผู้มีหน้าที่ยื่นรายการ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรซึ่งยังมิได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วน หรือมิได้นำส่งภาษีอากรให้ครบถ้วนให้ขอชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรโดยยื่นรายการและหรือแบบชำระภาษีอากรตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด พร้อมกับชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม กระบวนพิจารณาในการขอประนอมหนี้ดังกล่าวเป็นไปตามมาตรา 45 และ 46 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งกระทำภายหลังจากมีประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวแล้ว และลูกหนี้ก็ได้ชำระหนี้ตามคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ภายในกำหนดเวลาตามประกาศนั้นแล้ว ถือเป็นการชำระหนี้ภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศกระทรวงการคลังโดยตรงก็ตาม หรือถึงแม้จะเป็นการดำเนินการในคดีล้มละลายในขั้นตอนของการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายก็ตามแต่ก็ตรงตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวงการคลังแล้ว และกรณีนี้จะถือเป็นภาษีอากรค้างอยู่ในศาลซึ่งจะต้องมีการถอนฟ้องก่อนตามคำชี้แจงของกรมสรรพากรเกี่ยวกับประกาศดังกล่าวข้อ 4 (3) ยังไม่ถนัด เพราะเจ้าหนี้ไม่อาจถอนฟ้องได้ และลูกหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้เจ้าหนี้ถอนฟ้องได้เพราะลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ลูกหนี้ย่อมได้รับประโยชน์จากประกาศกระทรวงการคลังโดยไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณา ทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์ในภายหลัง
โจทก์ยื่นคำร้องฉบับแรกขอให้เรียกบิดามารดาจำเลยเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา การที่โจทก์ยื่นคำร้องฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกับคำร้องฉบับแรกโดยมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ประการใด ถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3457/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารคำนวณหนี้ที่ถูกต้องมาประกอบการวินิจฉัยคดี ศาลมีอำนาจสั่งได้โดยไม่ต้องมีฝ่ายร้องขอ
ระหว่างพิจารณาคู่ความแถลงว่าให้โจทก์จัดทำเอกสารเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ถูกต้องมาเสนอศาล เมื่อโจทก์จัดทำเอกสารมาแจ้งศาลชั้นต้นได้ออกหมายเรียก ก. มาเป็นพยานเบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเช่นนี้เป็นอำนาจของศาลที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาได้ โดยไม่ต้องมีฝ่ายได้ร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86เพราะศาลนำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3455/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดก การขายทรัพย์ส่วนหนึ่ง และสิทธิในการแบ่งทรัพย์ของทายาทที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตร กับจำเลยที่ 2 และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นหลาน โดยโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 2 ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น เมื่อเจ้ามรดกตายที่พิพาทจึงตกได้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และโจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1745 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่พิพาท โดยใส่ชื่อจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นผู้รับมรดกคนหนึ่งและเป็นพี่ของโจทก์ทั้งสองร่วมด้วย อันเป็นการเข้ารับมรดกแสดงว่าจำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่พิพาทในฐานะทายาทตามพินัยกรรมและเป็นการเข้าครอบครองแทนโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจึงยังคงเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2ขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการขายเฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1และที่ 2 เท่านั้นจำเลยที่ 3 ได้สิทธิไปเท่าที่จำเลยที่ 1 และที่ 2มีอยู่การครอบครองที่พิพาทในส่วนของโจทก์ทั้งสองจะถือว่าเป็นการแย่งการครอบครองไม่ได้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์นั้นได้และจะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ คดีของโจทก์ทั้งสองจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของโจทก์ร่วมในคดีอาญา: การยุติสิทธิเมื่อมิได้อุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้อง
ในคดีอาญาที่ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมนั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องก็หมายถึงยกฟ้องของโจทก์ร่วมด้วยเมื่อโจทก์ร่วมมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นคดีของโจทก์ร่วมจึงยุติลง ฉะนั้น แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาได้ โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์จากกรณีจำเลยนำราษฎรเข้าไปในพื้นที่ราชการปลูกต้นไม้และต้อนสัตว์เข้าไปทำลาย
จำเลยเป็นพระภิกษุนำราษฎรเข้าไปในที่เกิดเหตุขึงสายสิญจน์ขุดดิน และปลูกต้นไม้ มีการต้อนโค กระบือเข้าไปเหยียบย่ำกินหญ้าที่ทางราชการปลูกจนได้รับความเสียหายจึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อีกบทหนึ่ง อันเป็นการกระทำกรรมเดียวกันกับผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการกู้เงินซ้ำซ้อนและการชำระหนี้โดยทางอ้อม แม้เป็นการกู้คนละส่วนกัน แต่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยง
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ.โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อนโดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกันและลูกหนี้ที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ.ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ.เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป้นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาทที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไปส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลยลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนีได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้จากการกู้เงินทดแทนและการคิดดอกเบี้ยเมื่อมีการชำระหนี้ต้นเงิน
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ. โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อน โดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกัน และลูกหนี้ที่ 1ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ. ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่ 16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป็นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ที่ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไป ส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15 ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลย ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่ 21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้บริวารของจำเลยไม่อาจอ้างเป็นเหตุเพิกถอนได้
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งจำเลยเช่าจากโจทก์ บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยเช่า ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยให้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไป แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่าจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด แต่จำเลยมิได้รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปตามสัญญาโจทก์จึงขอออกหมายบังคับคดี และปรากฏว่าบ้านพิพาทในคดีนี้เป็นบ้านหลังเดียว กันกับบ้านพิพาทในอีกคดีหนึ่งซึ่ง ส.เป็นโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยในคดีนี้ฟ้องขับไล่ผู้ร้องในคดีนี้เป็นจำเลยให้ออกจากบ้านพิพาทและคดีดังกล่าวได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันว่า ผู้ร้องยอมอาศัยห้องหนึ่งของบ้านพิพาทอย่างผู้อาศัย ดังนั้น เมื่อ ส. แถลงรับในคดีนี้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลว่า เป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวและมอบอำนาจให้จำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นบิดาเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทน ทั้งยินยอมที่จะปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์คดีนี้ ส. จึงอยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องในฐานะผู้อาศัยอยู่ในบ้านพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งทำไว้กับ ส. ก็อยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน หาได้มีอำนาจพิเศษอันจะเป็นข้ออ้างต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) แต่อย่างใดไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิจะขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณี ผู้มีฐานะบริวารย่อมไม่มีสิทธิโต้แย้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ แล้วโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมรื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินของโจทก์ ศาลพิพากษาตามยอมและ ส. บุตรของจำเลยยอมรับว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาท จำเลยเป็นผู้ดูแลบ้านพิพาทแทน ส. และยอมปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนี้ ส. อยู่ในฐานะวงศ์ญาติและบริวารของจำเลย ผู้ร้องอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทในฐานะผู้อาศัยสิทธิของ ส. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องผู้ร้องคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะคู่กรณีไม่ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องย่อมอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยเช่นเดียวกัน จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและหมายบังคับคดีในคดีนี้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาถึงเหตุที่เพิ่งยกประเด็นเรื่องโจทก์ให้ผู้ร้องเช่าที่ดินต่อจากจำเลย และ ส.ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยดูแลบ้านพิพาทและฟ้องคดีแทนขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์นั้น เป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย