คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสิทธิ์ แสนศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานชิงทรัพย์และฆ่าเพื่อหวังทรัพย์ การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว การสนับสนุนและตัวการร่วม
จำเลยที่ 2 ร่วมคบคิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 มาก่อนเกิดเหตุเพื่อที่จะมากระทำผิดโดยเขียนแผนที่เพื่อประโยชน์ในการเข้ากระทำผิดและหลบหนี และขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดฐานชิงทรัพย์จำเลยที่ 2 รออยู่ ณ ที่ตามที่นัดหมายกันไว้ พร้อมกับมีรถจักรยานยนต์อีกคันหนึ่งเพื่อช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 หลังจากได้กระทำความผิดสำเร็จและขาดตอนไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 รออยู่ในที่ ๆ ใกล้ชิดเพียงพอที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1และที่ 3 ในขณะกระทำผิดได้ ไม่พอฟังว่าเป็นการร่วมเป็นตัวการในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงเป็นการช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 ก่อนการกระทำผิด จำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ จำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในบ้านผู้ตาย ผู้ตายเรียก ช.เข้าไปในบ้าน จำเลยที่ 3 เอาวิทยุโทรศัพท์มือถือของผู้ตายยื่นให้ ช.นำไปมอบแก่ภริยาผู้ตายช. ไม่ยอมรับ จำเลยที่ 1 ดึงมือช. พาเข้าไปยืนที่หน้าโต๊ะทำงานของผู้ตาย จำเลยที่ 3 สั่งให้ผู้ตายส่งลูกกุญแจให้ แล้วจำเลยที่ 3 ส่งกุญแจต่อให้จำเลยที่ 1จำเลยที่ 1 ไปเปิดลิ้นชักโต๊ะทำงานของผู้ตายเอาเงินสดไป ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 เตะปลายคาง ช. และชักอาวุธปืนสั้นออกมายิงผู้ตาย1 นัด แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 3 เดินออกไปขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายพากันหลบหนีไป ดังนี้ การกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์กับการฆ่าผู้ตายได้กระทำต่อเนื่องกันไปอันเป็นการฆ่าเพื่อสะดวกในการชิงทรัพย์และการพาทรัพย์นั้นไป ทั้งเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงเป็นความผิดกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินมีข้อจำกัดตาม ป.ที่ดิน ผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมาย และสิทธิครอบครอง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการ-ทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตาม ป.ที่ดิน มาตรา31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาล-ชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่า ห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่ต่อมามี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.ที่ดิน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31 แห่ง ป.ที่ดิน ที่ใช้อยู่เดิมจากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดิน น.ส.3ก. ที่มีข้อจำกัดตามมาตรา 31 ประมวลกฎหมายที่ดิน และผลของการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนภายในสิบปีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 อันเป็นการห้ามโอนโดยเด็ดขาด การที่โจทก์ที่ 1 ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 2 ไม่ทำให้โจทก์ที่ 2 ได้สิทธิครอบครองในที่ดินแต่อย่างใดนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 โจทก์ที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2530 แม้ตามสารบัญจดทะเบียนจะมีข้อความว่าห้ามโอนภายในสิบปี ตามมาตรา 31 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินนับแต่วันที่ 15 มกราคม 2523 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตามแต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2521 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 31แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อยู่เดิม จากการห้ามโอนภายในสิบปีให้ยกเลิกเป็นการห้ามโอนมีกำหนดห้าปี ดังนั้น ข้อกำหนดห้ามโอนที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31 เดิมจึงไม่อาจนำมาใช้บังคับในคดีนี้ได้เพราะคดีนี้โจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 เมื่อพ้นกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีแล้ว โจทก์ที่ 2จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายผ้าผูกพันตามสัญญา แม้จำเลยนำไปตัดเย็บเพื่อหากำไร ไม่เป็นยักยอก
โจทก์มอบสินค้าผ้าให้จำเลยกับพวกไปโดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยกับพวกจะนำผ้าเหล่านั้นไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อขาย และได้กำหนดราคาผ้ากันไว้ จำเลยกับพวกจะนำผ้ามาตัดเย็บเพื่อขายหากำไรเท่าใดเป็นเรื่องจำเลยกับพวกโดยเฉพาะ จำเลยกับพวกมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าสินค้าผ้าตามจำนวนในใบส่งสินค้าฝากขายตามที่ได้ตกลงกัน กรณีมิใช่จำเลยกับพวกได้รับมอบหมายให้รับสินค้าผ้าไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ขายเชื่อสินค้าผ้าให้จำเลยทั้งสองกับพวก แม้เมื่อถึงกำหนดชำระราคาสินค้าผ้าแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกไม่นำเงินไปชำระให้โจทก์และหลบหนีไป ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายเชื่อสินค้าและหลีกเลี่ยงหนี้ ไม่เข้าข่ายความผิดฐานยักยอก แต่เป็นผิดสัญญาทางแพ่ง
โจทก์มอบสินค้าผ้าให้จำเลยกับพวกไปโดยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยกับพวกจะนำผ้าเหล่านั้นไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพื่อขาย และได้กำหนดราคาผ้ากันไว้จำเลยกับพวกจะนำผ้ามาตัดเย็บเพื่อขายหากำไรเท่าใดเป็นเรื่องจำเลยกับพวกโดยเฉพาะ จำเลยกับพวกมีความผูกพันที่จะต้องชำระค่าสินค้าผ้าตามจำนวนในใบส่งสินค้าฝากขายตามที่ได้ตกลงกัน กรณีมิใช่จำเลยกับพวกได้รับมอบหมายให้รับสินค้าผ้าไว้ในฐานะตัวแทนโจทก์แต่เป็นกรณีที่โจทก์ขายเชื่อสินค้าผ้าให้จำเลยทั้งสองกับพวกแม้เมื่อถึงกำหนดชำระราคาสินค้าผ้าแล้วจำเลยทั้งสองกับพวกไม่นำเงินไปชำระให้โจทก์และหลบหนี้ไป ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ทำสัญญาแทน: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องรับผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์เป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนทำสัญญาซื้อขายที่ดิน เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องรับผิดชอบ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์เป็นการเชิดให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและครอบครัวเข้าอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยโจทก์ แม้จะอยู่มาเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในบ้าน-พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อบ้านพิพาทจากโจทก์ในราคา 8,000 บาท เมื่อปี 2516 จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้วจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลบังคับก่อนที่จำเลยยื่นฎีกา คู่ความจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านโดยไม่จดทะเบียน และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินราคาไม่เกินสองแสนบาท
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและครอบครัวเข้าอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยโจทก์ แม้จะอยู่มาเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยฎีกาว่าจำเลยซื้อบ้านพิพาทจากโจทก์ในราคา 8,000 บาท เมื่อปี 2516จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้วจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลบังคับก่อนที่จำเลยยื่นฎีกา คู่ความจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาพิพากษา
คดีก่อนโจทก์แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาบุกรุกที่พิพาทพนักงานอัยการฟ้องจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลย คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นมะพร้าวและขนำในที่ดินพิพาทดังกล่าวทำให้โจทก์เสียประโยชน์จากการใช้ที่ดินขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อในคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีดังกล่าว ดังนั้นการพิพากษาคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์
of 68