คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประสิทธิ์ แสนศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญาในการพิจารณาคดีแพ่ง
คดีก่อนโจทก์แจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยข้อหาบุกรุกที่พิพาทพนักงานอัยการฟ้องจำเลย คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลย คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกต้นมะพร้าวและขนำในที่ดินพิพาทดังกล่าวทำให้โจทก์เสียประโยชน์จากการใช้ที่ดินขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อในคดีอาญาศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีดังกล่าว ดังนั้นการพิพากษาคดีนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาว่า จำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินค่าหลักประกันและค่าผลงานออกจากค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมา
สัญญามีใจความว่า ผู้รับจ้างได้นำหลักประกันเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันธนาคารกรุงเทพ จำกัด เป็นจำนวนร้อยละ 8ของราคาที่จ้าง 1,984,000 บาท มามอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาและหลักประกันนี้ ผู้ว่าจ้างจะคืนให้เมื่อผู้รับจ้างพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันดังกล่าวถือได้ว่าหลักประกันดังกล่าวเป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่มีการผิดสัญญาเข้าลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา380 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้ ฉะนั้นเมื่อค่าเสียหายของโจทก์มี 3,047,200 บาท จึงชอบที่จะนำเงินตามสัญญาค้ำประกันซึ่งโจทก์ริบไปแล้วมาหักออกจากค่าเสียหายดังกล่าวได้ คงเหลือค่าเสียหายที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ 1,063,200 บาท ค่าผลงานที่จำเลยทำไปแล้ว ตามปกติจำเลยมีสิทธิได้รับชดใช้คืนจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามแต่ตามสัญญามีข้อกำหนดว่า เมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วบรรดางานที่ผู้รับจ้างทำและสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้นำมาไว้ ณ สถานที่ทำงานนั้นโดยเฉพาะเพื่องานจ้างดังกล่าว ผู้รับจ้างยอมให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง โดยผู้รับจ้างจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้เลย ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 แก่โจทก์ผู้ว่าจ้างและหากเป็นจำนวนพอสมควรโจทก์มีสิทธิรับผลงานนี้ได้โดยไม่ต้องใช้ราคาแก่จำเลยผู้รับจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เปิดทางพิพาทโดยไม่ระบุโฉนดที่ดิน แม้มีการแบ่งแยกที่ดินก่อนฟ้อง ก็ยังคงมีผลบังคับใช้ได้
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2822 มีการรังวัดแบ่งแยกก่อนฟ้อง และทางพิจารณาโฉนดเลขที่ 2822 ไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าทางพิพาทมีอยู่ในแห่งอื่นอีก และโฉนดเลขที่ 5977 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนสิทธิภาระจำยอมนั้นก็แบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 2822 ที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ทางพิพาทที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือทางพิพาทที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุโฉนดเลขที่ ทางพิพาทก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5977 จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความและการพิพากษาเกินคำขอ: การบังคับใช้สิทธิในทางพิพาทที่แบ่งแยกจากที่ดินเดิม
แม้ที่ดินโฉนดเลขที่ 2822 มีการรังวัดแบ่งแยกก่อนฟ้องและทางพิจารณาโฉนดเลขที่ 2822 ไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 แต่ก็ไม่ปรากฏว่าทางพิพาทมีอยู่ในแห่งอื่นอีก และโฉนดเลขที่ 5977ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ไปจดทะเบียนสิทธิภารจำยอมนั้นก็แบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 2822 ที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าทางพิพาทที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องก็คือทางพิพาทที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองเปิดทางตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองเปิดทางพิพาทนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุโฉนดเลขที่ ทางพิพาทก็มีผลบังคับได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันเปิดทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5977 จึงหาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดในการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กรณีทับที่สาธารณประโยชน์ และการฟ้องร้อง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการ-จังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 (75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลและการกระทำของผู้แทน: กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70(75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคล: ผู้ว่าฯ เป็นผู้แทนกระทำการ
แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยแต่จังหวัดมหาสารคามจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยสภาพแล้วไม่สามารถกระทำการด้วยตนเองได้ เว้นแต่จะกระทำโดยทางผู้แทนดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามจึงเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ในการแสดงเจตนาแทน คำสั่งของ ส. ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ที่ให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์จึงเป็นคำสั่งของจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 แม้ประเด็นที่พิพาทคู่ความได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวเสียเองได้แต่เมื่อผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขับขี่รถชนที่ไม่หยุดช่วยเหลือและแจ้งเหตุ รวมถึงประเด็นการประมาท
เมื่อเกิดเหตุแล้วจำเลยซึ่งขับรถยนต์เฉี่ยวชนกับรถยนต์อื่นมิได้อยู่ในที่เกิดเหตุ และมิได้ไปแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในคืนเกิดเหตุ แม้จะอ้างว่าได้มอบให้ พ. เป็นคนคอยแจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และในวันรุ่งขึ้นได้มาพบเจ้าพนักงานตำรวจแล้วก็ตามก็เป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับไว้จำเลยจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78 วรรคแรก160 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายเนื่องจากผิดสัญญาและการปรับรายวันสูงเกินควร ศาลลดค่าปรับตามหลักความยุติธรรม
สัญญาซื้อขายชุดเครื่องมือซ่อมเครื่องเรดาร์ข้อ 7 วรรคแรกระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญา ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 6 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร ฯลฯ และตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 7 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน วรรคสองระบุว่าในกรณีที่เป็นการซื้อสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้ทั้งชุด ถึงแม้ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดสัญญาแต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย และผู้ขายยินยอมให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด และวรรคสามระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 6 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 7 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ภายในกำหนด โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและยอมให้จำเลยส่งมอบสิ่งของเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับตามสัญญาแต่ในระหว่างที่มีการปรับจำเลยได้ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์แต่ไม่ครบถ้วนและโจทก์ได้ยอมรับไว้ แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันและเรียกร้องค่าปรับเต็มราคาของทั้งชุด โดยถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8วรรคสาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันได้
สินค้าที่ซื้อขายกันเป็นเงิน 341,500 บาท โจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันเป็นเงินสด 34,150 บาท แล้ว โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังเป็นเวลานานถึง 607 วัน ค่าปรับรายวันเป็นจำนวนสูงถึง 414,581 บาทนับว่าสูงเกินส่วน สมควรลดลงตามจำนวนพอสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383วรรคแรก เห็นสมควรกำหนดให้ 30,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, การลดค่าปรับตามมาตรา 383
สัญญาซื้อขายชุดเครื่องมือซ่อมเครื่องเรดาร์ข้อ 7 วรรคแรกระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญา ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 6 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร ฯลฯ และตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 7 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน วรรคสองระบุว่าในกรณีที่เป็นการซื้อสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้ทั้งชุด ถึงแม้ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดสัญญาแต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย และผู้ขายยินยอมให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุดและวรรคสามระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 6 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 7 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ภายในกำหนดโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและยอมให้จำเลยส่งมอบสิ่งของเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับตามสัญญา แต่ในระหว่างที่มีการปรับจำเลยได้ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์แต่ไม่ครบถ้วนและโจทก์ได้ยอมรับไว้ แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันและเรียกร้องค่าปรับเต็มราคาของทั้งชุด โดยถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 วรรคสามโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันได้ สินค้าที่ซื้อขายกันเป็นเงิน 341,500 บาท โจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันเป็นเงินสด 34,150 บาท แล้ว โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังเป็นเวลานานถึง 607 วัน ค่าปรับรายวันเป็นจำนวนสูงถึง414,481 บาท นับว่าสูงเกินส่วน สมควรลดลงตามจำนวนพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก เห็นสมควรกำหนดให้30,000 บาท
of 68