พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลพิพากษาตามสัดส่วนการครอบครอง ไม่เกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์อยู่ 6 ใน 12 ส่วน จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ฟ้องแย้งเข้ามาเพื่อขอแบ่งส่วนของตน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์และจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและต่างได้ครอบครองเป็นสัดส่วน ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัดส่วนที่แต่ละฝ่ายครอบครองได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การพยานชั้นสอบสวนประกอบพยานหลักฐานอื่น ตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดีลงโทษจำเลย ก. ให้การในชั้นสอบสวนว่าจำเลยเป็นคนฆ่าผู้ตาย แม้ต่อมาจะเบิกความต่อศาลในชั้นพิจารณาแตกต่างกับคำให้การในชั้นสอบสวนเพื่อเป็นการช่วยเหลือจำเลยก็ตาม แต่คำให้การชั้นสอบสวนของ ก.สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของ ต. ประจักษ์พยานอีกปากหนึ่งที่โจทก์ไม่ได้ตัวมาเป็นพยาน ทั้ง ก. และ ต. ให้การหลังเกิดเหตุทันทีโดยไม่มีเวลาคิดไตร่ตรองเพื่อช่วยเหลือหรือปรักปรำผู้หนึ่งผู้ใด ดังนั้น คำให้การชั้นสอบสวนจึงสามารถรับฟังได้เป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาทั้งชั้นจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายรายนี้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ขัดแย้งกันและการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและอาวุธปืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาความผิดฐานมีอาวุธปืนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทที่ลงโทษจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 72 วรรคหนึ่ง เป็นมาตรา 72 วรรคสาม และแก้โทษจากจำคุก2 ปี เป็นจำคุก 1 ปี เป็นการแก้ไขมาก แต่ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ส่วนข้อหาพาอาวุธปืนศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตามศาลชั้นต้นและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง คำให้การในชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานโจทก์สอดคล้องตามกันและได้ให้การภายหลังเกิดเหตุทันที่โดยไม่มีเวลาคิดไตร่ตรองเพื่อช่วยเหลือหรือปรักปรำผู้หนึ่งผู้ใด เชื่อว่าได้ให้การไปตามความจริงตามที่ได้รู้เห็นโดยไม่มีเหตุจูงใจหรือถูกบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนจึงได้บันทึกและให้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน การที่ประจักษ์พยานโจทก์มาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลว่า ไม่ทราบว่าใครเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตายก็คงเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิด เชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานโจทก์เป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาทั้งคำให้การชั้นสอบสวนไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ให้รับฟังประกอบเป็นข้อพิจารณาของศาลประการใด เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดี เช่น จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท และการฟ้องร่วมกัน
เมื่อโจทก์ทั้งสามกล่าวในฟ้องชัดแจ้งว่าโจทก์แต่ละคนได้รับการยกให้และต่างก็เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นส่วนสัดตามที่รับโอนมาโดยไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลยโจทก์ทั้งสามจึงมิได้มีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์ทั้งสามชอบที่จะยื่นฟ้องจำเลยมาคนละสำนวน การที่โจทก์ ทั้งสามร่วมกันฟ้องมาในสำนวนเดียวกันและศาลชั้นต้นยอมรับฟังโจทก์ทั้งสามเช่นนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคดีนี้ย่อมต้องถือเอาราคาที่ดินที่โจทก์ทั้งสามแต่ละคนอ้างว่าเป็นของตนตามที่แบ่งแยกกันครอบครองเป็นส่วนสัดกันมานั้น เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสามแต่ละคนปรากฏว่าทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนไม่เกินคนละสองแสนบาท คดีของโจทก์แต่ละคนจึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสน ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การพิจารณาตามมูลค่าความเสียหายของโจทก์แต่ละคน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายสำหรับโจทก์ที่ 1 จำนวน 73,011 บาท โจทก์ที่ 2 จำนวน 38,000 บาทโจทก์ที่ 3 จำนวน 8,183 บาท และโจทก์ที่ 4 จำนวน 10,368 บาทรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 129,562 บาท ดังนี้ไม่ใช่หนี้ร่วมที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนเงินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดเท่านั้น คดีในส่วนของโจทก์ที่ 3ที่ 4 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยที่ 2ไม่มีสิทธิที่จะฎีกาข้อเท็จจริงในส่วนของโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ต่อมาได้และคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 2 ในข้อเท็จจริงสำหรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางกระบวนการยุติธรรมและการละเมิดอำนาจศาล: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกเลิกข้อกำหนดตามป.วิ.พ. มาตรา 30, 31, และมาตรา 33 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นต่อไปได้ เพราะโจทก์ได้คัดค้านไว้แล้ว ขอให้ยกเลิกข้อกำหนดของศาลชั้นต้นเสียนั้น โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลออกข้อกำหนดก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ในขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนด โจทก์มิได้นำพาต่อข้อกำหนดของศาล ยังลุกขึ้นแถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงาน-กระบวนพิจารณาอีก โจทก์ย่อมทราบถึงการกระทำของตนดีว่าเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว ย่อมเป็นการละเมิดอำนาจศาลจะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่รู้ว่ามีความผิดไม่ได้
การที่ศาลออกข้อกำหนดก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ในขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนด โจทก์มิได้นำพาต่อข้อกำหนดของศาล ยังลุกขึ้นแถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงาน-กระบวนพิจารณาอีก โจทก์ย่อมทราบถึงการกระทำของตนดีว่าเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว ย่อมเป็นการละเมิดอำนาจศาลจะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่รู้ว่ามีความผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดอำนาจศาลและการขัดขวางกระบวนพิจารณา ศาลฎีกายืนโทษปรับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกเลิกข้อกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30,31 และมาตรา 33คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นต่อไปได้ เพราะโจทก์ได้คัดค้านไว้แล้วขอให้ยกเลิกข้อกำหนดของศาลชั้นต้นเสียนั้น โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลออกข้อกำหนดก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ในขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้วเมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนด โจทก์มิได้นำพาต่อข้อกำหนดของศาลยังลุกขึ้นแถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาอีก โจทก์ย่อมทราบถึงการกระทำของตนดีว่าเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วย่อมเป็นการละเมิดอำนาจศาลจะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่รู้ว่ามีความผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดอำนาจศาล: การขัดขวางกระบวนพิจารณาโดยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล
ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ใน ขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่ อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดดังกล่าว โจทก์ก็ยังลุกขึ้น แถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงาน กระบวนพิจารณาอีกจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การแจ้งข้อหาเปลี่ยนแปลงจากการสอบสวน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ ดังนั้น แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสถานบริการ: แม้แจ้งข้อหาไม่ครบถ้วน หากสอบสวนความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องแล้ว โจทก์ยังมีอำนาจฟ้องได้
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120