พบผลลัพธ์ทั้งหมด 676 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็น และการยกข้อต่อสู้ที่ไม่เคยกล่าวอ้างในชั้นศาล
การยกข้อกฎหมายขึ้นมาปรับบทนั้น จะต้องปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติ โดยข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบซึ่งได้วินิจฉัยแล้วตามประเด็น หรือเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับ คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผิดนัดนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระถึงวันที่ชำระเงินอัตราร้อยละสิบสองต่อปีตามสัญญา และค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าที่โจทก์จ่ายแทนไป จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้ชำระราคาส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดนัดชำระราคาส่วนที่เหลือตามฟ้องหรือไม่ และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ดังนั้น ที่ว่า จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ คือต้องรับผิดตามสัญญาตามฟ้องนั่นเอง หากไม่ต้องรับผิดด้วยเหตุที่โจทก์มิได้บอกสงวนสิทธิว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองด้วยในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้ จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสอง ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์ได้บอกสงวนสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้หรือไม่ อันเป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหาก จึงจะปรับบทตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 ได้ โดยจำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า โจทก์มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้ แต่จำเลยทั้งสองมิได้ให้การแก้คดีในข้อดังกล่าวไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.
จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าดอกเบี้ยในส่วนที่ผิดนัดชำระราคาห้องชุดที่เหลือ โดยโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด แต่จำเลยไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้นปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิซื้อห้องชุดนั้น ปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเช่นกัน ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าดอกเบี้ยในส่วนที่ผิดนัดชำระราคาห้องชุดที่เหลือ โดยโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด แต่จำเลยไม่ชำระจึงได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่ 2 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 นั้นปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิซื้อห้องชุดนั้น ปัญหานี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเช่นกัน ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5193/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระราคาซื้อขายห้องชุด, ผลของการชำระเงินที่ไม่ครบถ้วน, และความรับผิดของตัวแทน
การยกข้อกฎหมายขึ้นมาปรับบทนั้นจะต้องปรับบทกฎหมายตามข้อเท็จจริงที่รับฟังเป็นยุติโดยข้อเท็จจริงนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบซึ่งได้วินิจฉัยแล้วตามประเด็นหรือเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความยอมรับคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ผิดนัดนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระถึงวันที่ชำระเงินอัตราร้อยละสิบสองต่อปีตามสัญญาและค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าที่โจทก์จ่ายแทนไปจำเลยที่1ให้การว่าจำเลยที่1ได้ชำระราคาส่วนที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นที่เรียบร้อยแล้วไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ4ว่าจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดนัดชำระราคาส่วนที่เหลือตามฟ้องหรือไม่และจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใดดังนั้นที่ว่าจำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่คือต้องรับผิดตามสัญญาตามฟ้องนั่นเองหากไม่ต้องรับผิดด้วยเหตุที่โจทก์มิได้บอกสงวนสิทธิว่าจะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองด้วยในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองก็เป็นข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้บอกสงวนสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้หรือไม่อันเป็นอีกประเด็นหนึ่งต่างหากจึงจะปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381ได้โดยจำเลยต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยทั้งสองในเวลาที่โจทก์รับชำระหนี้แต่จำเลยทั้งสองมิได้ให้การแก้คดีในข้อหาดังกล่าวไว้คดีจึงไม่มีประเด็นดังกล่าวที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเลยยังไม่ได้ชำระค่าดอกเบี้ยในส่วนที่ผิดนัดชำระราคาห้องชุดที่เหลือโดยโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแต่จำเลยไม่ชำระจึงได้เชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดจำเลยที่2จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1นั้นปัญหานี้จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่2เป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยที่2เป็นคนต่างด้าวไม่มีสิทธิซื้อห้องชุดนั้นปัญหานี้จำเลยที่2ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเช่นกันฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ระงับสิทธิเรียกร้องจากผู้กระทำละเมิด หากอีกฝ่ายไม่ชำระหนี้
จำเลยที่1ขับรถยนต์ของจำเลยที่2นายจ้างไปในทางการที่จ้างชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ซึ่งร. ภรรยาโจทก์เป็นผู้ขับได้รับความเสียหายต่อมาจำเลยที่1ทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับร. มีข้อความว่าจำเลยที่1ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่รถยนต์โจทก์เสียหายแก่ร. จำนวน30,990บาทร. ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่1และมีข้อความต่อไปว่าการตกลงครั้งนี้จะยังไม่ผูกพันจำเลยที่1เท่านั้นจำเลยที่2จะคงผูกพันอยู่จนกว่าร. จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนเรียบร้อยแล้วร. จึงจะไม่ติดใจเรียกร้องใดๆกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่2อีกแม้จำเลยที่2มิได้ร่วมลงลายมือในบันทึกก็ตามแต่ข้อความตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์ว่าหากจำเลยที่1ยังไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ครบถ้วนโจทก์ก็ยังมิได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่1ผิดนัดไม่ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้หนี้ในมูลละเมิดจึงยังไม่ระงับโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่2ชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผูกพันของข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายและการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดและผู้ว่าจ้าง
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 นายจ้างไปในทางการที่จ้างชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ซึ่ง ร. ภรรยาโจทก์เป็นผู้ขับได้รับความเสียหายต่อมาจำเลยที่ 1 ทำบันทึกตกลงชดใช้ค่าเสียหายกับ ร. มีข้อความว่า จำเลยที่ 1ยอมชดใช้ค่าเสียหายที่รถยนต์โจทก์เสียหายแก่ ร. จำนวน 30,990 บาท ร.ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่ 1 และมีข้อความต่อไปว่าการตกลงครั้งนี้จะยังไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 จะคงผูกพันอยู่จนกว่า ร. จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ร. จึงจะไม่ติดใจเรียกร้องใด ๆ กับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 อีก แม้จำเลยที่ 2 มิได้ร่วมลงลายมือในบันทึกก็ตามแต่ข้อความตอนท้ายของบันทึกดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์ว่า หากจำเลยที่ 1 ยังไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ครบถ้วน โจทก์ก็ยังมิได้สละสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ หนี้ในมูลละเมิดจึงยังไม่ระงับ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาของผู้จัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาหากมิได้ถูกกระทบสิทธิโดยตรง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งก. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้ร้องจึงเป็นคู่ความในคดีนี้ส่วนก. มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือว่าก. เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ปัญหาว่าก. มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการอุทธรณ์/ฎีกาของผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง และการยกประเด็นโดยศาลฎีกา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ก. และ พ. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ก. มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือว่า ก. เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะที่จะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อขอให้ตั้ง ก. เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องอุทธรณ์ฎีกาของผู้ที่มิได้เป็นคู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง ก.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้ร้องจึงเป็นคู่ความในคดีนี้ ส่วน ก.มิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ถูกกระทบสิทธิโดยคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือว่า ก.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่อยู่ในฐานะจะยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ปัญหาว่าก.มีอำนาจฟ้องอุทธรณ์หรือฎีกาหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำโดยไม่สุจริตของกรรมการบริษัทที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบและเพิกถอนสัญญาเช่าได้
จำเลยที่ 1 ขณะเป็นกรรมการของบริษัท ส. ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมอาคารโรงงานที่พิพาทของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบริษัท ส. โดยมีข้อตกลงว่าระหว่างอายุสัญญาจำนอง จำเลยที่ 1จะไม่นำทรัพย์จำนองไปทำให้เสื่อมสิทธิใด ๆ รวมทั้งให้บุคคลอื่นเช่า เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ทราบดีว่าโจทก์ได้เรียกให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังให้บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการอยู่ด้วยเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยทำสัญญาเช่ากันเพียงอาคารโรงงานเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานที่ดิน แต่ความจริงเป็นการเช่าทั้งที่ดินและอาคารโรงงานที่พิพาทการทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาท จึงเป็นการฝ่าฝืนสัญญาจำนองและเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานที่พิพาทโดยจดทะเบียนการเช่าไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอไว้มีกำหนด 20 ปี ย่อมทำให้เกิดภาระติดพันแก่ตัวทรัพย์จำนองอันไม่อาจนำที่ดินไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้ และทำให้การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่มีผู้เข้าสู้ราคา จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าดังกล่าวทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ โดยขณะที่ทำนั้นจำเลยที่ 2 ผู้ซึ่งได้ลาภงอกแต่การนั้นได้รู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์ชอบที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าวเสียได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน การเลื่อนกำหนดโอนกรรมสิทธิ์ และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้วยพยานบุคคล
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์ โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญา จึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อขาย: การเลื่อนโอนกรรมสิทธิ์ & การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญาจึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้