คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดระเบียบบริษัท แม้ไม่มีข้อบังคับห้ามชัดแจ้ง ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส. อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือนจำเลยยังมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ลูกจ้าง, การด่าว่าผู้อื่นขณะปฏิบัติงาน, การเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรมอันดีในขณะปฏิบัติหน้าที่แม้นายจ้างไม่มีคำสั่ง ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีดังกล่าว ต้องถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ฉะนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยด่าว่า ส.ซึ่งเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยโรงงานของจำเลยขณะที่ ส.ปฏิบัติหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส. อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและกระทำผิดซ้ำ
โจทก์ด่าว่า ส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ ส.ปฏิบัติการตามหน้าที่ย่อมถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็นหนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่า ส.อีก จึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยยึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3599/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและศีลธรรม แม้นายจ้างไม่ได้สั่ง การด่าทอถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและเป็นเหตุเลิกจ้างได้
ลูกจ้างมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีในขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้นายจ้างไม่มีคำสั่งข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ ถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี ก็ต้องถือว่าลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานแล้ว โจทก์ด่าว่าส.ซึ่งเป็นยามขณะที่ส. ปฏิบัติการตามหน้าที่เป็นการกระทำผิดอาญาฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าย่อม ถือว่าโจทก์ได้กระทำผิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานแล้ว แม้จะไม่มีคำสั่ง ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานห้ามไว้ จำเลยจึงมีสิทธิลงโทษโจทก์โดยตักเตือนเป็น หนังสือ เมื่อโจทก์ได้ด่าว่าส. อีกจึงถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้อง จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครอง แรงงานข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง แม้ที่ดินแบ่งแยกโฉนดใหม่ หากโจทก์ใช้ทางต่อเนื่องก่อนแบ่งแยก ก็ยังคงมีภาระจำยอมได้
ช. บิดาโจทก์ทั้งสองทำทางพิพาทตั้งแต่ พ.ศ.2519 ทั้ง ช.โจทก์ทั้งสองและครอบครัวตลอดจนราษฎรได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกทางสาธารณะมาจนถึงวันที่จำเลยทำลายทางพิพาทเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วโดยไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของที่ดินที่ทางพิพาทผ่าน ทางพิพาทจึงตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสอง
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินของโจทก์กับที่ดินของจำเลยที่มีทางพิพาทผ่านเดิมเป็นที่ดินแปลงเดียวกันเพิ่งแบ่งแยกโฉนดนับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง10 ปี ทางพิพาทจึงไม่ตกเป็นภาระจำยอมนั้น จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยการครอบครองปรปักษ์: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี ถือเป็นการได้ภารจำยอม แม้เจ้าของเดิมอนุญาตในเบื้องต้น
ทางพิพาทเป็นทางแยกจากซอยวิชิต แม้จะเป็นถนนส่วนบุคคลที่มารดาจำเลยที่ 1 ได้ปักป้ายสงวนสิทธิไว้ที่ปากซอยมาประมาณ30 ปีแล้ว ก็มีผลเป็นเพียงการสงวนกรรมสิทธิ์ซอยวิชิตและทางพิพาทไม่ให้ต้องตกไปเป็นทางสาธารณะอันจะกลายเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินเท่านั้น ไม่มีผลเลยไปถึงว่าซอยวิชิตและทางพิพาทปลอดจากภาระติดพันใด ๆ มารดาโจทก์กับโจทก์และผู้เช่าที่ดินของโจทก์ปลูกบ้านอยู่อาศัยต่างได้ใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเสมือนว่าตนมีสิทธิที่จะใช้โดยมิได้อาศัยสิทธิของมารดาจำเลยที่ 1 หรือจำเลยทั้งสองตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว พฤติการณ์ในการใช้ทางพิพาทของโจทก์และบุคคลทั่วไปจึงมีลักษณะเป็นการใช้โดยถือสิทธิเป็นปรปักษ์ต่อเจ้าของทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอม การที่โจทก์จะได้ภารจำยอมหรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อที่ว่า โจทก์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยทั้งสองมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีประชาชนทั่วไปใช้ทางพิพาทเป็นประจำด้วยหรือไม่เมื่อโจทก์ใช้ทางพิพาทมาเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทย่อมตกเป็นภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs. สิทธิครอบครองเดิม ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิเหนือกว่าหากผู้ครอบครองไม่คัดค้าน
กรณีการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 ผู้ครอบครองทรัพย์จะรู้หรือไม่ว่ามีการขายทอดตลาดก็หาเป็นเหตุที่จะยกขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน-พิพาทมาโดยตลอด แต่จำเลยมิได้ร้องคัดค้านเสียตั้งแต่ต้น กลับปล่อยให้มีการขายทอดตลาดจนสำเร็จบริบูรณ์โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวไปแล้ว สิทธิครอบ-ครองของจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5431/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด สิทธิของผู้ซื้อ vs. ผู้ครอบครองเดิม
กรณีการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ผู้ครอบครองทรัพย์จะรู้หรือไม่ว่ามีการขายทอดตลาดก็หาเป็นเหตุที่จะยกขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาโดยตลอด แต่จำเลยมิได้ร้องคัดค้านเสียตั้งแต่ต้นกลับปล่อยให้มีการขายทอดตลาดจนสำเร็จบริบูรณ์โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวไปแล้ว สิทธิครอบครองของจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหมิ่นประมาทโดยอาศัยข่าวหนังสือพิมพ์: การใช้สิทธิโดยสุจริตและการไม่เป็นละเมิด
ข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์เมื่ออ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้ไขข่าว เมื่อข้อความดังกล่าวเป็นการใส่ความ จำเลย การที่จำเลยฟ้องโจทก์ในข้อหาหมิ่นประมาทจึงไม่เป็นความเท็จ และแม้จำเลยจะฟ้องโจทก์หลายศาลจำเลยก็คงเข้าใจว่าตนมีสิทธิกระทำได้เพราะหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นมีวางจำหน่ายทั่วประเทศ ประชาชนทั่วไปย่อมมีโอกาส อ่านและพบเห็นข้อความในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวได้ดังนั้น การใช้สิทธิของจำเลยที่ฟ้องโจทก์ดังกล่าวก็ไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อีกเช่นกัน จึงไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิฟ้องหมิ่นประมาทโดยสุจริต แม้ฟ้องหลายศาล ไม่เป็นละเมิด หากข้อความที่ฟ้องไม่เป็นเท็จ
ข้อความที่ลงในหนังสือพิมพ์ตามฟ้องเมื่ออ่านแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้ไขข่าวเป็นการใส่ความจำเลย การที่จำเลยฟ้องโจทก์ในข้อหาหมิ่นประมาทจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ไขข่าว ฟ้อง จำเลยจึงฟังไม่ได้ว่าเป็นความเท็จและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และแม้จำเลยจะฟ้องโจทก์หลายศาลก็เป็นเพราะหนังสือพิมพ์ดังกล่าวมีวางจำหน่ายทั่วประเทศการใช้สิทธิของจำเลยไม่เป็นการใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์
of 29