คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากพฤติการณ์สบประมาทและการเยาะเย้ยท้าทายของผู้ตายและชู้รักเข้าข่ายเหตุลดโทษตามมาตรา 72
ผู้ตาย นาย พ. และจำเลยรู้จักชอบพอกัน ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลย วันเกิดเหตุผู้ตายพาจำเลยไปบ้านนาย พ.ขณะที่จำเลยกับนาย พ.คุยกันตามลำพังจำเลยถามนายพ.ว่าผู้ตายมานอนค้างคืนกับนาย พ.หรือไม่นายพ. ตอบว่าผู้ตายมานอนค้างคืนกับนาย พ. และจะแต่งงานกัน จำเลยเรียกผู้ตายมาถามผู้ตายบอกว่ามานอนกับนาย พ. ทุกวัน จำเลยจึงพูดขึ้นว่าทำไมจึงหลอกกัน แล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ฟังได้ว่าจำเลยกระทำไปเพราะโกรธผู้ตายที่ผู้ตายหลอก และไปนอนค้างคืนกับนาย พ.โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนว่าผู้ตายกับนายพ. มีสัมพันธ์สวาทกัน การที่ผู้ตายไปนอนค้างคืนกับนาย พ. และยังบอกจำเลยต่อหน้านาย พ.อย่างปราศจากความยำเกรงจำเลยจึงเป็นการเยาะเย้ยท้าทายจำเลยว่าได้ทำชู้กันอยู่เรื่อย ๆ จำเลยจะทำไม อันเป็นการยั่วยุอารมณ์ของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการสบประมาทจำเลยอย่างร้ายแรงโดยมิได้คาดคิดมาก่อน ย่อมเหลือวิสัยที่จำเลยจะอดกลั้นโทสะไว้ได้เป็นการกดขี่ข่มเหงในทางจิตใจอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจำเลยบันดาลโทสะขาดความยับยั้งชั่งใจ กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 428/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันดาลโทสะจากการถูกยั่วยุ: การกระทำผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และการลดโทษตามมาตรา 72
เมื่อจำเลยกับผู้ตายอยู่กินร่วมกันฉันสามีภรรยา การที่ผู้ตายไปนอนค้างคืนกับนาย พ.และผู้ตายยังบอกจำเลยต่อหน้านายพ.อย่างปราศจากความยำเกรงจำเลยว่า ผู้ตายมานอนกับนาย พ.ทุกคืน จึงเป็นการเยาะเย้ยท้าทายจำเลยว่าได้ทำชู้ กันอยู่เรื่อย ๆจำเลยจะทำไม อันเป็นการยั่วยุอารมณ์ของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการสบประมาทจำเลยอย่างร้ายแรง โดยมิได้คาดคิดมาก่อน ย่อมเหลือวิสัยที่จำเลยจะอดกลั้นไว้ได้ พฤติการณ์เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการกดขี่ข่มเหงจิตใจของจำเลยอย่างร้ายแรง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายในทันทีจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลงหลังสัญญาซื้อขายหุ้น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยน และอำนาจฟ้องของเจ้าของกิจการ
บรรยายฟ้องว่า บริษัทค. เป็นหนี้โจทก์ 1,811,515.90เหรียญฮ่องกงเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 บริษัทค. บริษัทบ.และจำเลย ได้ทำสัญญาซื้อขายหุ้นกัน โจทก์จำเลยและ บริษัทค. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์แทนบริษัทค.เป็นเงิน 1,700,000เหรียญฮ่องกง หนี้ถึงกำหนดจำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เป็นการบรรยายเกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหาโดยละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้ดีแล้ว หาจำต้องบรรยายว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เนื่องมาจากการแปลงหนี้ใหม่หรือการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ส่วนที่ระบุชื่อโจทก์ในฟ้องว่า "นายสุทินฟุ้งสาธิต ในฐานะเจ้าของและผู้จัดการผู้มีอำนาจรามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี และในฐานะส่วนตัว" นั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อมาว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวและกิจการค้าใช้ชื่อทางการค้าว่ารามาทัวร์แอนด์เทรดดิ้งคอมปานี โดยโจทก์เป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวและเป็นผู้จัดการมีอำนาจเต็มอ่านโดยตลอดแล้วย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ฟ้องในฐานะเป็นเจ้าของกิจการดังกล่าวซึ่งมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การประกอบธุรกิจทางการค้า ผู้ประกอบธุรกิจจะตั้งชื่อร้านหรือกิจการของตนได้โดยไม่จำต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์เป็นเจ้าของกิจการจึงมีอำนาจฟ้องในฐานะส่วนตัว หนังสือสัญญาระบุว่า จำเลยตกลงจะจ่ายเงินให้แก่โจทก์ภายใน 90 วันนับจากวันที่ทำสัญญาซื้อขายระหว่างบริษัทค. และบริษัทบ. กับจำเลย เมื่อ บริษัทค. บริษัทบ. และจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดกันแล้วตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526ข้อที่จำเลยอ้างว่าสัญญาซื้อขายเป็นโมฆะไม่สามารถโอนหุ้นกันได้เป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญาหาอาจนำมาอ้างกับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ไม่ ข้อตกลงจึงมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526การนับระยะเวลา 90 วัน จึงเริ่มนับแต่นั้นเป็นต้นไป และครบกำหนดชำระแล้ว จำเลยเป็นคนไทยจะชำระหนี้เป็นเงินเหรียญฮ่องกง ปกติจำเลยก็ต้องไปซื้อเงินเหรียญฮ่องกงจากธนาคาร อัตราแลกเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามอัตราขายของธนาคาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีชิงทรัพย์โดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของพยานผู้เสียหายและระยะเวลาระหว่างเกิดเหตุกับจับกุม
นับแต่วันเกิดเหตุชิงทรัพย์ถึงวันที่จำเลยถูกจับเป็นระยะเวลาห่างกันร่วม 8 ปี ผู้เสียหายไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าคนร้ายมาก่อนเพิ่งเห็นในวันเกิดเหตุเท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่าจะจำคนร้ายได้ และผู้เสียหายก็เบิกความกลับไปกลับมาไม่อยู่กับร่อง กับรอย ยิ่งกว่านั้นผู้เสียหายยังเบิกความแตกต่างกับพยานอื่นเป็นข้อพิรุธ จำเลยก็ให้การปฏิเสธตลอดมา พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องมีพฤติการณ์พิเศษ การอ้างเหตุผู้พิพากษาโยกย้ายไม่เพียงพอ
การขอขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. หรือตามที่ศาลกำหนดไว้ หรือตามกฎหมายอื่นให้พึงทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษโจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 วันที่ 19 สิงหาคม 2534 แต่ไม่ทำฎีกาและยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาจนเวลาล่วงเลยไปถึงวันที่ 17 กันยายน 2534 ซึ่งเหลือเวลาอีกเพียง 2 วันจะครบกำหนดยื่นฎีกากลับมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาอ้างว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นย้ายไปรับราชการศาลอื่น ทั้งที่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอีกนายยังรับราชการที่ศาลชั้นต้นนั้นเอง และถึงแม้โจทก์จะให้ผู้พิพากษาที่ย้ายไปเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกา ระยะเวลาภายในหนึ่งเดือนก็เพียงพอที่จะดำเนินการหากโจทก์รีบจัดการเสียแต่เนิ่น ๆ ข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ จึงไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลาฎีกาให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาข้ามกำหนด: เหตุขยายเวลาต้องเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ไม่อาจกะเกณฑ์ได้
โจทก์ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 19 สิงหาคม 2534 โจทก์ไม่ทำฎีกาและคำร้องยื่นขอให้ผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีอนุญาตให้ฎีกาจนเหลือเวลาอีกเพียง 2 วัน จะครบกำหนดยื่นฎีกา จึงมายื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 25 วัน นับแต่วันครบกำหนดอ้างว่าผู้พิพากษาผู้พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นย้ายไปรับราชการที่ศาลอื่น ทั้งที่ปรากฏว่าผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีอีกนายหนึ่งยังรับราชการอยู่ที่ศาลชั้นต้นนั้นแม้โจทก์ประสงค์จะให้ผู้พิพากษาที่ย้ายไปเป็นผู้อนุญาตให้ฎีกา ระยะเวลาหนึ่งเดือนก็เพียงพอที่จะดำเนินการได้ทันหากโจทก์รีบจัดการเสียแต่เมื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้ออ้างของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องแย่งการครอบครอง 1 ปี ตามมาตรา 1375 ไม่ใช่เรื่องอายุความ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง
กำหนดเวลาให้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 นั้น ไม่ใช่เรื่องอายุความ แต่เป็นกำหนดเวลาสำหรับฟ้องเมื่อโจทก์ผู้ถูกแย่งการครอบครองไม่ได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ย่อมเสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่หลุดมือไปแล้วทันทีปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นประเด็นโดยตรง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องแย่งการครอบครอง 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นประเด็น
กำหนดเวลาให้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 นั้น ไม่ใช่เรื่องอายุความแต่เป็นกำหนดเวลาสำหรับฟ้องเมื่อโจทก์ผู้ถูกแย่งการครอบครองไม่ได้ฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ย่อมเสียสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่หลุดมือไปแล้วทันที ปัญหาข้อนี้เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นประเด็นโดยตรงศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีวินัย – การสอบสวนทางวินัยไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยโจทก์ทั้งสองข้อหากระทำผิดวินัยเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ โจทก์ทั้งสองจะมีความผิดหรือไม่ก็ต้องรอผลการสอบสวนก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การตั้งคณะกรรมการสอบวินัยยังไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยโจทก์ข้อหากระทำผิดวินัยเท่านั้น จำเลยจะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์หรือไม่ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ โจทก์จะมีความผิดหรือไม่ก็ต้องรอฟังผลการสอบสวนก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
of 29