คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้การต่อสู้ขัดขวางไม่มีความผิด
เจ้าพนักงานตำรวจไม่ได้แต่งเครื่องแบบและไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นโดยไม่แจ้งข้อหาแก่เด็กวัยรุ่นคนใดว่าเป็นผู้ดูหมิ่นตนและจะต้องถูกจับ กลับสั่งให้คนขับรถที่เด็กวัยรุ่นโดยสารมาขับรถไปสถานีตำรวจ จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานโดยชอบ ผู้ต่อสู้ขัดขวางมิให้จับกุมไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2608/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การที่เจ้าพนักงานไม่ได้แสดงตนและแจ้งข้อหา ทำให้การจับกุมไม่ชอบธรรม
ขณะที่ ส.ต.ต. บ. กับ ส.ต.ท. บ. จะเข้าจับกุมกลุ่มเด็กวัยรุ่นพวกของจำเลยนั้น บุคคลทั้งสองไม่ได้แต่งเครื่องแบบตำรวจและไม่ได้แสดงตนว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ทั้งไม่ได้แจ้งข้อหาแก่เด็กวัยรุ่นคนใดว่าเป็นผู้ดูหมิ่นตนและจะต้องถูกจับ จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมในข้อหาดูหมิ่นเจ้าพนักงานโดยชอบ ฉะนั้น แม้หากจำเลยจะต่อสู้ขัดขวางมิให้ ส.ต.ต. บ.กับ ส.ต.ท. บ. เข้าจับกุมพวกของจำเลย ก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดิน การประมาทเลินเล่อ และความสุจริตของผู้ก่อสร้าง
จำเลยทราบดีว่าที่ดินข้างเคียงมีเจ้าของและที่ดินของจำเลยกับที่ดินข้างเคียงเป็นที่ดินมีโฉนด ก่อนทำการก่อสร้างจำเลยควรรังวัดสอบเขตให้ตรงกับโฉนดที่ดินของจำเลยเสียก่อน แต่จำเลยไม่กระทำจึงเป็นการก่อสร้างตามอำเภอใจ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงทราบแล้วไม่คัดค้านหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องรังวัดตรวจสอบเขตที่ดินในขณะที่จำเลยทำการก่อสร้างเมื่อตึกแถวที่จำเลยก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จำเลยจะอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคแรกไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็น สัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัท ท. หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัท ท. ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่และจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้ เมื่อโจทก์และบริษัท ท. ไม่ได้ทำสัญญาต่อกันทั้งจำเลยก็มิได้บอกกล่าวการโอนหนี้เป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ยินยอมเป็นหนังสือดังนั้นจำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัท ท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้ จำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ปัญหาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การเป็นประเด็นไว้ แม้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ แต่โจทก์และบริษัทท.มิได้ทำสัญญาต่อกัน ดังนั้น จำเลยจะยกข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัทท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้จำเลยยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่กรรมการลูกจ้าง: การมาทำงานแต่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายงานเป็นเหตุเลิกจ้างได้
นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไปทำงานที่เครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กโดย ได้แจ้งการโยกย้ายให้ลูกจ้างทราบตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2535 ทั้งได้อธิบายให้ทราบด้วยว่า การทำงานของเครื่องอัดอะลูมิเนียมเครื่องเล็กมีขั้นตอนการทำงานน้อยกว่าเครื่องใหญ่เมื่อลูกจ้างได้ทราบคำสั่งแล้วเพียงแต่มาที่ทำงานเพื่อลงเวลาเข้าทำงานและเลิกงานตามปกติ โดยไม่ยอมไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้างในวันที่ 20 ถึงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2535 การกระทำของลูกจ้างย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดย ไม่มีเหตุอันสมควร และเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีมีเหตุที่นายจ้างจะเลิกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2468/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินหลังขายทอดตลาด: กรณีจำเลยปลูกอ้อยก่อนการขายทอดตลาด และการที่การบังคับคดีทำให้ฎีกาไม่เป็นประโยชน์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนต้นอ้อยออกไปจากที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากการขายทอดตลาดของศาล จำเลยให้การว่า จำเลยปลูกอ้อยโดยสุจริตจึงมีสิทธิตัดต้นอ้อยได้อีก 2 ปี โจทก์ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโดยพลัน คงมีสิทธิได้เพียงค่าเช่า หรือค่าเสียหายเท่านั้น ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนต้นอ้อยออกจากที่ดินดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินแล้วตามบันทึกการมอบการครอบครองที่ดินโดยบันทึกดังกล่าวปรากฏข้อความด้วยว่าที่ดินอยู่ในสภาพว่างเปล่า มีตออ้อยถูกเผาตายอยู่เพียงเล็กน้อยกับมีพงหญ้าขึ้นสูงเต็มไปหมด ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลจะเข้าครอบครองที่ดินได้ต่อเมื่อได้ใช้ค่าทดแทนให้แก่จำเลยก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1310 วรรคแรก และมาตรา 1314 จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทนทายาท การงดสืบพยานไม่ชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดก ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยื่นคำคัดค้าน เมื่อตามคำคัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองในฐานะส่วนตัวจึงไม่มีประเด็นว่าผู้คัดค้านครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองหรือไม่ ต้องถือว่าผู้คัดค้านยึดถือครอบครองมรดกไว้แทนทายาทของเจ้ามรดก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดตลอดมา ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกยึดถือทรัพย์มรดกแทนทายาท การงดสืบพยานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยื่นคำคัดค้าน เมื่อตามคำคัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านครอบครอง ทรัพย์มรดกเพื่อตนเองในฐานะส่วนตัว จึงไม่มีประเด็นว่า ผู้คัดค้านครอบครองทรัพย์มรดกเพื่อตนเองหรือไม่ ต้องถือว่าผู้คัดค้านยึดถือครอบครองมรดก ไว้แทนทายาทของเจ้ามรดก การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดตลอดมา ย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดก จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ยังไม่เด็ดขาด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินซึ่งจำเลยรับสารภาพว่ายักยอกและยินยอมชดใช้คืนให้โจทก์ เป็นการฟ้องเรียกมูลค่าทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งจำเลยเอาไปโดยไม่มีสิทธิ ทั้งเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งเดิมโจทก์ฟ้องเป็นคดีอาญาและศาลประทับฟ้อง แต่ยังไม่ได้ตัวจำเลยมาพิจารณาและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว คดีอาญายังไม่เด็ดขาดอายุความฟ้องคดีแพ่งย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง.
of 29