คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสมของผู้ถูกเสนอชื่อตามข้อเท็จจริงและผลประโยชน์ของทายาท
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 หรือ น. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้อื่นหรือไม่เท่านั้น เมื่อพินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างไม่มีข้อความกำหนดแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยไปถึงว่า พินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาจากคำร้องและข้อเท็จจริงเฉพาะหน้า ไม่ต้องวินิจฉัยความถูกต้องของพินัยกรรม
คดีมีปัญหาเพียงว่าสมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 หรือ น.เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องหรือไม่เท่านั้น เมื่อในพินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างไม่มีข้อความกำหนดแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยไปถึงว่าพินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประเด็นข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ศาลต้องปฏิบัติตามข้อตกลงหากฟังข้อเท็จจริงตามที่ตกลงกัน
ผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างท้ากันในศาลแรงงานกลางว่า หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ทำเพชรดิบให้เข้ารูปและมีหน้าที่ซ่อมแซมเพชรที่แผนกอื่นทำบกพร่องและไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้แล้วให้เข้ารูปอีกครั้งแล้วส่งไปยังแผนกอื่นต่อไป ให้ถือว่าผู้คัดค้านกระทำผิดตามคำร้องทุกประการ ผู้คัดค้านยอมแพ้ และให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามคำร้อง เป็นการที่คู่ความตกลงกันกำหนดประเด็นเสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีเป็นไปโดย รวดเร็วซึ่งศาลแรงงานกลางมีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 138,183 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ตรงตามคำท้าจึงต้องถือตามคำท้าว่าผู้คัดค้านกระทำผิดตามคำร้อง โดย ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงและจงใจขัดคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องตามคำร้อง และต้องถือตามคำท้าต่อไปว่าผู้คัดค้านยอมแพ้ ศาลแรงงานกลางต้องพิพากษาอนุญาตให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายต่อศาล: ศาลต้องวินิจฉัยตามประเด็นที่ตกลงกันไว้ หากฟังตามนั้นแล้วต้องพิพากษาตามนั้น
การที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านท้ากันในศาลแรงงานกลางเพียง ข้อ เดียวว่า "หากศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านมีหน้าที่ทำ เพชรดิบ ให้เข้ารูปและมีหน้าที่ซ่อมแซมเพชรที่แผนกอื่นทำบกพร่อง และไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้แล้ว ให้เข้ารูปอีกครั้งแล้วส่งไปยัง แผนกอื่นต่อไป ให้ถือว่าผู้คัดค้านกระทำผิดตามคำร้องทุกประการ ผู้คัดค้านยอมแพ้และให้ศาลพิพากษาให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน ได้ตามคำร้อง..." นั้น เป็นการ ที่คู่ความตกลงกันกำหนดประเด็น เสนอศาลเพื่อให้กระบวนพิจารณาคดีเป็นไปโดยรวดเร็ว ซึ่งศาลแรงงานกลาง มีอำนาจกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138,183 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้าน มีหน้าที่ทำเพชรดิบ ให้เข้ารูปและมีหน้าที่ซ่อมแซมเพชรที่แผนกอื่น ทำบกพร่อง และไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้ให้เข้ารูปอีกครั้ง แล้วส่งไปยังแผนกอื่นต่อไป ก็ต้องถือตามคำท้าว่าผู้คัดค้านกระทำผิด ตามคำร้อง กล่าวคือ ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับ การทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงและจงใจขัดคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายของ ผู้ร้องตามคำร้อง และต้องถือตามคำท้าต่อไปว่าผู้คัดค้านยอมแพ้ ศาลแรงงานกลางต้องพิพากษาให้ผู้ร้อง เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ตามคำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2078/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก กรณีศาลล่างวินิจฉัยแล้ว และประเด็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้าม
ค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสามเป็นค่าเสียหายที่แต่ละคนได้รับแม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมา แต่จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน โจทก์ที่ 3 เรียกค่าเสียหาย 30,000 บาทเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าศาลล่างพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสามสูงเกินไปนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ส. คนขับรถลูกจ้างโจทก์ที่ 1 ขับรถโดยประมาท โจทก์ที่ 1 ในฐานะนายจ้างต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 2 ตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งมีจำนวนเพียง 22,500 บาท ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดของ ส. จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเรื่องค่าเสียหายตามฟ้องแย้ง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบว่า คนขับรถของโจทก์ที่ 1 ประมาทอย่างไรที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง ศาลอุทธรณ์เห็นด้วยในผล พิพากษายืนเช่นนี้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะมิได้พิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แต่ก็พอแปลจากคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ว่า ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษาให้ยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 แล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 2ในข้อนี้จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส: ที่ดินรับยกจากบิดาในระหว่างสมรส หากมิได้ระบุเป็นสินสมรส ถือเป็นสินส่วนตัว
จำเลยได้ที่ดินมาโดยบิดาจำเลยยกให้ แม้จะเป็นการยกให้ในระหว่างสมรสแต่เมื่อการยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือระบุว่าให้เป็นสินสมรส ที่ดินจึงตกเป็นสินส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471(3) ส่วนที่มาตรา 1474 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสนั้น จะต้องเป็นกรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าที่ดินเป็นสินส่วนตัวโดยแจ้งชัดปราศจากข้อสงสัยแล้ว จึงไม่อาจนำอ้างมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับขี่เลี้ยวขวาฝ่าไฟแดงถือเป็นความผิดเอง ไม่ถือว่าจำเลยขับประมาท
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาจอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดงที่สี่แยก ซึ่งการจะเลี้ยวขวาตรงบริเวณสี่แยกได้ต้องรอสัญญาณไฟจราจรลูกศรสีเขียวก่อน การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวาในทันทีโดยไม่รอสัญญานไฟจราจรให้เลี้ยวขวาได้ในขณะที่ทางด้านรถยนต์โดยสารแล่นมามีสัญญาณไฟจราจรสีเขียว จึงเป็นความผิดของผู้ตายเอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การเลี้ยวขวาฝ่าไฟแดงและการประมาทของผู้ขับขี่
ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์มาจอดติดสัญญาณไฟจราจรสีแดงที่สี่แยกซึ่งการจะเลี้ยวขวาตรงบริเวณสี่แยกได้ต้องรอสัญญาณไฟจราจรลูกศรสีเขียวก่อน การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวาในทันทีโดยไม่รอสัญญาณไฟจราจรให้เลี้ยวขวาได้ในขณะที่ทางด้านรถยนต์โดยสารแล่นมามีสัญญาณไฟจราจรสีเขียว จึงเป็นความผิดของผู้ตายเองถือไม่ได้ว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตเลื่อนคดีสืบพยานสำคัญ และการชี้ขาดประเด็นแห่งคดีโดยพยานผู้จัดทำเอกสารสัญญาจ้าง
ทนายจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าพยานลำดับที่ 3 ป่วย และพยานลำดับที่ 6 ติดธุระไม่สามารถมาศาลได้และพยานทั้งสองปากเป็นพยานสำคัญเกี่ยวกับการทำสัญญาจ้าง ทนายโจทก์มิได้คัดค้านว่าพยานมิได้ป่วยและไม่ติดธุระทั้งมิได้คัดค้านว่าคำแถลงขอเลื่อนคดีไม่เป็นความจริง หากศาลไม่เชื่อควรจะไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนทั้งพยานของจำเลยที่ 1 เป็นพยานสำคัญที่จะชี้ขาดประเด็นแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมสมควรให้จำเลยที่ 1 นำพยานเข้าสืบการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยที่ 1 หมดพยานจึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาด: ภรรยาจำเลยไม่มีส่วนได้เสียหากไม่ได้แสดงสิทธิในทรัพย์
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และมีการขายทอดตลาด ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าเป็นภรรยาของจำเลยที่ 3 แต่มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับทรัพย์ดังกล่าวอย่างใด ผู้ร้องย่อมมิได้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้.
of 29