พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาด: ภรรยาเจ้าของทรัพย์ต้องแสดงส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์
ผู้ร้องบรรยายในคำร้องแต่เพียงว่า ผู้ร้องเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดออกขายทอดตลาดเท่านั้น มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับทรัพย์ดังกล่าวอย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในวิธีบังคับคดีอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดตามมาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกับการจ่ายเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับ
จำเลยมีคำสั่ง เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชยกำหนดว่า "พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน" และจำเลยมีข้อบังคับ ฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จกำหนดว่า "พนักงานที่ต้องออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้"และ "พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มแต่จำนวนที่ต่ำกว่า คำสั่งดังกล่าวเห็นได้ว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
ข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ ข้อ 6 กำหนดว่า พนักงานที่ออกจากงานกรณีใดบ้างที่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 8 เป็นการกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกเงื่อนไขข้อ 8 จึงเป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 มิได้หมายความว่า ถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้ว จะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้
คำสั่งของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชย การอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามคำสั่งดังกล่าว ซึ่งจ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันจึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคสองแล้ว
ข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ ข้อ 6 กำหนดว่า พนักงานที่ออกจากงานกรณีใดบ้างที่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จ ส่วนข้อ 8 เป็นการกำหนดเงื่อนไขว่า ถ้าพนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ก็ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จอีกเงื่อนไขข้อ 8 จึงเป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 มิได้หมายความว่า ถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้ว จะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้
คำสั่งของจำเลยเรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชย การอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามคำสั่งดังกล่าว ซึ่งจ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วันจึงต้องถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยและเงินบำเหน็จกรณีเกษียณอายุ: การตีความระเบียบและข้อบังคับของรัฐวิสาหกิจ
จำเลยมีคำสั่งที่ 240/2528 เรื่อง หลักเกณฑ์การคำนวณค่าชดเชยการอนุมัติและการจ่ายค่าชดเชย ซึ่งในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดไว้ในข้อ 1.3 ว่า พนักงานประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีขึ้นไป ให้ได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกจากนี้จำเลยยังได้มีข้อบังคับฉบับที่ 47 ว่าด้วยเงินบำเหน็จพ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 6(1) ว่าพนักงานที่ออกจากงานในวันสิ้นปีงบประมาณที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ และกำหนดไว้ในข้อ 8 ว่าพนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น จากคำสั่งที่ 240/2528ประกอบกับข้อบังคับฉบับที่ 47 เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกมีเงินค่าชดเชยรวมอยู่ด้วยแล้ว ข้อบังคับฉบับที่ 47 ข้อ 8 เป็นข้อยกเว้นของข้อ 6 เมื่อเข้าตามเงื่อนไขในข้อ 8 แล้วก็จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตาม ข้อ 6 อีก ดังนั้น จึงหาได้หมายความว่าถ้ามีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อ 6 แล้วจะนำข้อ 8 มาใช้บังคับอีกไม่ได้ คำสั่งของจำเลยที่ 240/2528 เป็นระเบียบที่ใช้รวมถึงการจ่ายค่าชดเชย กรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุด้วย ค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสี่สิบหกตามคำสั่งดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาเงินบำเหน็จและค่าชดเชยตามระเบียบและข้อบังคับ
ค่าชดเชยที่รัฐวิสาหกิจจำเลยจ่ายให้แก่พนักงานกรณีพนักงานพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุตามระเบียบของจำเลย มีจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ถือเป็นเงินทั้งหมดที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคสอง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานตามข้อ 47 วรรคหนึ่งให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มิได้กระทำโดยตรงไปตรงมาเนื่องจาก collusion และความเกี่ยวข้องกับศาล
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการขายทอดตลาดว่า ผู้เข้าสู้ราคาสมคบกันกดราคาให้ต่ำจากราคาปกติไปมาก และผู้เข้าสู้ราคาทั้งหมดทำงานเกี่ยวข้องกับศาล ทำให้มีเหตุน่าเชื่อว่าการประมูลซื้อทรัพย์ของผู้ประกันในการขายทอดตลาดจะไม่ได้กระทำอย่างตรงไปตรงมา เป็นการฝ่าฝืนบทบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เมื่อความปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่กระทำโดยไม่ชอบนั้นเสียเองได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มิชอบ เนื่องจากการสมคบกันกดราคาของผู้เสนอซื้อที่เกี่ยวข้องกับศาล
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อศาลว่า ในการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ประกัน ผู้เข้าสู้ราคาสมคบกันกดราคาให้ต่ำจากราคาปกติไปมากและผู้เข้าสู้ราคาทั้งหมดทำงานเกี่ยวข้องกับศาล ทำให้มีเหตุน่าเชื่อว่า การประมูลซื้อทรัพย์จะไม่ได้กระทำอย่างตรงไปตรงมาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นเสียเองได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1749/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มิชอบเนื่องจากสมคบกันกดราคาและเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติมิชอบ
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการขายทอดตลาดว่า ผู้เข้าสู้ราคาสมคบกันกดราคาให้ต่ำจากราคาปกติไปมาก และผู้เข้าสู้ราคาทั้งหมดทำงานเกี่ยวข้องกับศาล ทำให้มีเหตุน่าเชื่อว่าการประมูลซื้อทรัพย์ของผู้ประกันในการขายทอดตลาดจะไม่ได้กระทำอย่างตรงไปตรงมาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 เมื่อความปรากฏต่อศาลโดยชัดแจ้ง ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่กระทำโดยไม่ชอบนั้นเสียเองได้ เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 และ 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเช็ค: หนี้นอกเหนือหลักฐานหนังสือ ไม่อาจฟ้องร้องตามกฎหมายเช็คฉบับใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกากฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้วมีกฎหมายฉบับใหม่คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลัง การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คดีนี้โจทก์นำสืบว่า จำเลยออกเช็คตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปโดยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้ เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาทและไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเกิน 50 บาท ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
การออกเช็คชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปมีจำนวนเกินกว่า 50 บาท โดยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้ เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 653จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เพราะการออกเช็คที่จะเป็นความผิดตามพ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4จะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา กฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้ว โดย พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ดังนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง การกระทำของจำเลยแม้จะเป็นความผิดดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยก็พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่อาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็คได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา กฎหมายฉบับที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยได้ถูกยกเลิกไปแล้วมีกฎหมายฉบับใหม่คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ออกมาใช้บังคับแทนปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลัง การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย คดีนี้โจทก์นำสืบว่า จำเลยออกเช็คตามฟ้องให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้เงินที่กู้ยืมไปโดยมิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันไว้ เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยมีจำนวนเกินกว่าห้าสิบบาทและไม่มีการทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินไว้เป็นหนังสือ จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามตามกฎหมายมิให้ฟ้องร้องขอให้บังคับคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลัง