พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1552/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: เจ้าของที่ดินต้องมีสิทธิครอบครองก่อนการกระทำความผิด
กรณีจะเป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362ตามที่โจทก์ฟ้องจะต้องได้ความว่า โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ในขณะที่กล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทเพื่อถือการครอบครองหรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข แต่คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยได้เข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ก่อนแล้ว โจทก์ร่วมเพิ่งจะอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยการซื้อขายในภายหลัง ดังนี้ แม้จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง การกระทำของจำเลยที่เข้าไปครอบครองยึดถือที่ดินพิพาทอยู่ก่อนและคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมา ย่อมไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกที่ดินของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์: พฤติการณ์พิรุธ, พยานเบิกความน่าเชื่อถือ, การคืนกระเป๋าเงินที่มีผู้รู้เห็น
การที่จำเลยเก็บกระเป๋าเงินของโจทก์ร่วมได้แล้วแอบเปิดดูในลักษณะปกปิดซ่อนเร้น เมื่อถูกถามก็ปฏิเสธว่าเป็นกระเป๋าเปล่าทั้ง ๆ ที่ในกระเป๋าเงินดังกล่าวมีเงินอยู่ รวมตลอดถึงการที่จำเลยแอบเปิดซิป กระเป๋าแล้วมีอาการหน้าตื่นและเดินหลบเลี้ยวอ้อมไปข้างรถโดยไม่ไปขนปูนตามที่มีผู้ว่าจ้างนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้อพิรุธที่ส่อแสดงความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบคำเบิกความของโจทก์ร่วมที่ว่า กระเป๋าเงินที่จำเลยคืนให้นั้นซิป ถูกเปิดแย้มไว้ขณะตรวจพบว่าสร้อยคอทองคำหายไปจำเลยก็ออกจากที่เกิดเหตุไปแล้ว จึงเชื่อว่า จำเลยได้เอาสร้อยคอทองคำของโจทก์ร่วมไปจริง และเหตุที่จำเลยต้องคืนกระเป๋าเงินและเงินในกระเป๋าให้แก่โจทก์ร่วมก็เพราะว่า ขณะจำเลยเก็บกระเป๋าเงินของโจทก์ร่วมได้นั้น มี ส. ร่วมรู้เห็นอยู่ด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ศาลพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยทำผิดในเวลากลางวัน มีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ถึงสองคนหลังเกิดเหตุราว 1 ชั่วโมง เจ้าพนักงานตำรวจก็จับกุมจำเลยได้ ในลักษณะที่เสื้อผ้าของจำเลยยังเปรอะเปื้อนโลหิตของผู้ตายนอกจากนี้ยังมีวัตถุพยานคือ ขวานเปื้อน โลหิตที่มีเส้นผมติดอยู่ทั้ง2 เล่ม ในที่เกิดเหตุ ซึ่งสามารถตรวจพิสูจน์ได้ว่าคราบโลหิตทั้งหมดเป็นโลหิตมนุษย์หมู่เดียวกัน เส้นผมของกลางก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับเส้นผมของผู้ตาย พยานหลักฐานดังกล่าวพอรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จำเลยจะให้การรับว่าทำร้ายผู้ตายจริงคำรับของจำเลยก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ศาลในการพิจารณา จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ และการที่จำเลยกระทำผิดเพราะความมึนเมาสุราความมึนเมาก็มิใช่เหตุบรรเทาโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 78 จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุกระทำผิดขึ้นก่อน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นบันดาลโทสะ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดก & สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดก การฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะมอบให้บุคคลอื่นทำการแทนไม่ได้ ปรากฏว่าความข้อนี้จำเลยทั้งเจ็ดมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าวและเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องผู้จัดการมรดกและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยหากไม่เคยยกขึ้นในศาลล่าง
จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกการฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะมอบให้บุคคลอื่นทำการแทนไม่ได้ปรากฏว่าความข้อนี้จำเลยทั้งเจ็ดมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าวและเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการใช้สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งการครอบครอง
จำเลยทั้งเจ็ดฎีกาว่า โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดก การฟ้องคดีจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวจะมอบให้บุคคลอื่นทำการแทนไม่ได้ปรากฏว่าความข้อนี้จำเลยทั้งเจ็ดมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นในปัญหาดังกล่าวและเป็นข้อที่มิได้ ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ อำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกา ไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(5) ประกอบ มาตรา 246และ 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอ นายจ้างไม่ต้องอนุมัติ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้องและมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ที่บัญญัติไว้ใจความว่า "ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา... และมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน" มีความหมายว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นยกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลา และไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อน เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงานได้รับเชิญในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการ และสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อน ก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอโดยไม่ต้องรออนุมัติ
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้อง และมาตรา 102แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติใจความทำนองเดียวกันว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการสหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาและมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้างดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามี และให้ถือว่าวันลาของลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงานมีความหมายว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลาและไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อน เมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงาน ได้รับเชิญในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการ และสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อน ก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงาน: การแจ้งล่วงหน้าเพียงพอโดยไม่ต้องรออนุมัติจากนายจ้าง
ข้อบังคับเกี่ยวกับการลาของผู้ร้อง และมาตรา 102 แห่ง พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ที่บัญญัติไว้ใจความว่า "ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปเพื่อดำเนินกิจการ สหภาพแรงงานในฐานะผู้แทนลูกจ้างในการเจรจา... และมีสิทธิลา เพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ ทั้งนี้ให้ลูกจ้าง ดังกล่าวแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าถึงเหตุที่ลาโดยชัดแจ้ง พร้อมทั้งแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องถ้ามีและให้ถือว่าวันลาของ ลูกจ้างนั้นเป็นวันทำงาน" มีความหมายว่า ลูกจ้าง ซึ่งเป็นกรรมการ สหภาพแรงงานมีสิทธิลาเพื่อไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้ โดยลูกจ้างเพียงแต่แจ้งพร้อมแสดงหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้นายจ้าง ทราบล่วงหน้าถึงเหตุการลา และไม่จำต้องให้นายจ้างอนุมัติก่อนเมื่อผู้คัดค้านเป็นกรรมการลูกจ้างและเป็นเหรัญญิกของสหภาพแรงงาน ได้รับเชิญ ในตำแหน่งเหรัญญิกของสหภาพแรงงานให้ไปประชุมของส่วนราชการและสหภาพแรงงานได้แจ้งการลาให้ผู้ร้องทราบแล้ว แม้ผู้ร้องมิได้อนุมัติก่อนก็ถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานของผู้ร้องและชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังกล่าวแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ผู้ร้องเลิกจ้างผู้คัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องลูกจ้างในมูลละเมิดควบคู่กับการฟ้องผู้ใช้ไฟฟ้าในมูลหนี้สัญญาซื้อขาย ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อน
ลูกจ้างกระทำโดยประมาทเลินเล่อและจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และคำสั่งเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายไม่สามารถเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าได้ การที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างดังกล่าวในมูลละเมิดว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อหรือจงใจเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายและเป็นการผิดสัญญาจ้างนั้น แม้นายจ้างจะได้ฟ้องผู้ใช้ไฟฟ้าให้ชำระหนี้ค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาซื้อขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย แต่นายจ้างยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว การฟ้องลูกจ้างเช่นว่านั้นมิใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่ซ้ำซ้อน จึงฟ้องลูกจ้างได้อีก