พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกกรณีทรัพย์สินระคนกันระหว่างคู่สมรสและบุคคลอื่น ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นบุตรของ ล. กับ ช. หลังจากช. ตายแล้ว ล. ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายเมื่อปี 2495และผู้ตายถูกฆ่าตายเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2530 โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดตายก่อนหลัง เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ใช่ทายาทของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในฐานะที่จะได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตาย ดังนี้ เมื่อทรัพย์มรดกของ ล. และผู้ตายระคนปนกันอยู่ ทรัพย์สินของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของผู้ตาย ส่วนทรัพย์สินของ ล.ย่อมเป็นมรดกได้แก่ทายาทของ ล. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 การแบ่งแยกทรัพย์สินของผู้ตายและ ล. ที่ระคนปนกันอยู่ออกเป็นทรัพย์มรดกของแต่ละคนย่อมเป็นประโยชน์และส่วนได้เสียแก่ทายาทของผู้ตายและทายาทของ ล. แต่ละฝ่ายต่างหากจากกันการแบ่งแยกทรัพย์สินเช่านี้เป็นผลได้เสียแก่ทายาทแต่ละฝ่ายขัดแย้งกัน ทายาทแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน ทายาทของ ล. มีสิทธิขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ ล. เพื่อดูแลผลประโยชน์ได้อยู่แล้วหากให้ทายาทของ ล. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยย่อมมีเหตุให้น่าระแวงว่าจะเกิดความเสียหายแก่กองมรดกและทายาทของผู้ตายได้ จึงไม่สมควรให้ผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของนายเล็กเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสิทธิในมรดกที่ยังไม่เกิดขึ้น และการครอบครองที่พิพาทของทายาท การกระทำไม่ถือเป็นบุกรุก
การที่โจทก์ร่วมแบ่งที่พิพาทให้แก่จำเลย แล้วจำเลยนำที่พิพาทมาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 หนังสือสัญญาการซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้โดยแน่ชัดว่าโจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียว ที่พิพาทยังคงเป็นมรดกของ พ.การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของพ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. ผู้เป็นมารดา เข้ายึดถือครอบครองในที่พิพาทจึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิโจทก์ร่วมในทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในมรดกก่อนได้รับมรดกเป็นโมฆะ การครอบครองที่พิพาทของทายาทเป็นการโต้แย้งสิทธิในทางแพ่ง ไม่ถือเป็นบุกรุก
โจทก์ร่วมและ ป. เป็นบุตร พ. จำเลยเป็นบุตร ป. ป.ตายก่อน พ. หลังจาก ป. ตายโจทก์ร่วมแบ่งที่ดินซึ่งเป็นของ พ. และ ป. ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยนำที่พิพาทซึ่งโจทก์ร่วมแบ่งให้มาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วมก่อนที่ พ. จะตาย เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่โดยการรับมรดกแทนที่ ป. ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 สัญญาซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ ที่พิพาทเป็นมรดกของ พ. ที่ยังไม่ได้แบ่ง การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป. เข้ายึดถือครอบครองที่พิพาท จึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันในทางแพ่ง จำเลยไม่มีความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสิทธิในมรดกที่ยังไม่เกิดขึ้น และการครอบครองที่พิพาทของทายาท
การที่โจทก์ร่วมแบ่งที่พิพาทให้แก่จำเลย แล้วจำเลยนำที่พิพาทมาขายคืนให้แก่โจทก์ร่วม ก็เป็นเรื่องที่จำเลยจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีภายหน้าในการสืบมรดกผู้ที่มีชีวิตอยู่ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1619 หนังสือสัญญาการซื้อขายจึงตกเป็นโมฆะ
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้โดยแน่ชัดว่า โจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียว ที่พิพาทยังคงเป็นมรดกของ พ. การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ผู้เป็นมารดา เข้ายึดถือครอบครองในที่พิพาท จึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิโจทก์ร่วมในทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุก
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้โดยแน่ชัดว่า โจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่พิพาทแต่ผู้เดียว ที่พิพาทยังคงเป็นมรดกของ พ. การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของ พ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ ป.ผู้เป็นมารดา เข้ายึดถือครอบครองในที่พิพาท จึงเป็นเพียงโต้แย้งสิทธิโจทก์ร่วมในทางแพ่ง ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบุกรุกเคหสถาน: ข้อเท็จจริงตามฟ้องต้องสอดคล้องกับการพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เป็นให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ส่วนโทษจำคุกให้รอไว้นั้น ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
ป.อ.มาตรา 1 (4) ให้คำนิยามของคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ จำเลยก็ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
ป.อ.มาตรา 1 (4) ให้คำนิยามของคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นปรับ และประเด็นความแตกต่างของข้อเท็จจริงระหว่างฟ้องกับพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เป็นให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่งส่วนโทษจำคุกให้รอไว้นั้น ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 การที่ข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(4) ให้คำนิยามคำว่า "เคหสถาน"ว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่นเรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยด้วยจะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในบริเวณบ้านผู้เสียหาย แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยบุกขึ้นไปบนบ้านผู้เสียหายนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจึงไม่แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: การปฏิเสธการเป็นผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับผลประโยชน์
ข้อกำหนดพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้คัดค้านเป็นส่วนใหญ่และตั้งพันโทหญิงม. และนางม. บุตรผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกผู้คัดค้านให้ทนายความแจ้งไปยังพันโทหญิงม.และนางม.ว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ คนทั้งสองได้รับหนังสือแล้วไม่ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายใน 1 เดือน นับแต่วันรับแจ้งความ ถือได้ว่าคนทั้งสองปฏิเสธที่จะรับเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1717 ไม่สมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการ....มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแก้ไขวันเดือนปีเช็คไม่ทำให้เกิดความผิดฐานเช็คใหม่
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คครั้งแรกเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2529 การที่จำเลยแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทเป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2531 แล้วมอบให้โจทก์ไปเรียกเก็บเงินอีกครั้ง และธนาคารตามเช็คคงปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดิมนั้น จะถือว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้ การฟ้องคดีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนั้นต้องฟ้องภายใน 3 เดือน นับแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแก้ไขวันที่เช็คไม่ทำให้เกิดความผิดใหม่ ฟ้องพ้นอายุความหากเกิน 3 เดือนนับจากปฏิเสธการจ่ายครั้งแรก
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2529 โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายในสามเดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก การที่จำเลยแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทเป็นวันที่31 ธันวาคม 2531 แล้วมอบให้โจทก์ไปเรียกเก็บเงินอีกครั้งหนึ่งแต่ธนาคารตามเช็คคงปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดิม จะถือว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23มกราคม 2532 เกิน 3 เดือน นับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คครั้งแรก จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายเล็กน้อยไม่ถึงอันตรายแก่กาย จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
โจทก์ร่วมมีบาดแผลที่ถูกจำเลยทำร้ายที่ใต้ศอกขวาแผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ลึกใต้ผิวหนังและบวม หางตาขวาบวมแดงพื้นที่ประมาณ 1x1 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่า แผลถูกของแข็งรักษาประมาณ 7 วัน ถือเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ถึงเป็นอันตรายแก่กายจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391