พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินบาดแผลทางกายเพื่อกำหนดความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391
โจทก์ร่วมมีบาดแผล 2 แห่ง คือที่ใต้ศอกขวา แผลยาวประมาณ2 เซนติเมตร ลึกใต้ผิวหนังและบวม กับที่หางตาขวาบวมแดงพื้นที่ประมาณ 1x1 เซนติเมตร แพทย์ลงความเห็นว่าแผลถูกของแข็งรักษาประมาณ 7 วัน ถือเป็นบาดแผลเล็กน้อยไม่ถึงบาดเจ็บจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายตาม ป.อ. มาตรา 391.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของพนักงานรถไฟและผลต่อความรับผิดทางอาญาต่อการชนจนมีผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นนายตรวจกลประจำโรงจักรดีเซลบางซื่อติดเครื่องยนต์รถจักรดีเซล โดยมิได้ตรวจดูให้แน่ก่อนว่าคันเร่งรอบเครื่องยนต์คันเปลี่ยนอาการและคันบังคับการไฟฟ้าอยู่ในตำแหน่งที่ว่าง และลงจากรถจักรไปโดยไม่ได้ดับเครื่องยนต์ เป็นเหตุให้รถจักรดีเซลแล่นออกไปโดยไม่มีคนขับ ไปชนคนตายและบาดเจ็บ ถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาท เครื่องตกรางที่ 1 อยู่ในเขตรางที่ 6 ซึ่งในวันเกิดเหตุมีประกาศปิดรางเพื่อซ่อมจึงเป็นทางปิด เมื่อปิดทางแล้วทางนั้นก็อยู่ในอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางที่จะถอดรางออกถอดประแจ ถอนไม้หมอนออกได้ ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถพ.ศ. 2524 ข้อ 107(1) ที่กำหนดให้ปิดเครื่องตกรางและกลับประแจให้อยู่ในท่าทางประธานนั้นใช้สำหรับทางเปิดเดินรถเป็นปกติไม่ได้ใช้บังคับแก่ทางปิด เพราะทางปิดนั้นตามข้อบังคับและระเบียบการเดินรถห้ามมิให้ขบวนรถผ่านเข้าไปโดยเด็ดขาด จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานควบคุมย่านสถานีรถไฟบางซื่อมีหน้าที่ควบคุมขบวนรถไฟต่าง ๆ ที่ผ่านสถานีรถไฟบางซื่อและควบคุมการเข้าออกของหัวรถจักรดีเซลบริเวณโรงรถจักรดีเซล การที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 โดยไม่ได้ปิด จึงไม่อยู่ในข้อบังคับและระเบียบการเดินรถดังกล่าว อย่างไรก็ตามการที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 ก็เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางขอให้เปิดเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงทางนำรถผลักเบาบรรทุกอุปกรณ์การซ่อมทางเข้าไปจึงนับว่ามีเหตุผลอันสมควรในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เปิดเครื่องตกรางที่ 1 นั้น รถจักรดีเซลคันเกิดเหตุได้แล่นออกไปโดยไม่มีคนขับและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้คนตายและบาดเจ็บ ที่ปลายทางสถานีรถไฟหัวลำโพงซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจคาดคิดได้ว่าจะมีเหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนตามราคาตลาดในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาปัจจุบัน
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายสันทราย-พร้าว พ.ศ. 2513 ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515ข้อ 87 กำหนดให้นำบทบัญญัติในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างและขยายทางหลวงมาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับด้วย การกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 76 ค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์จึงต้องกำหนดเท่ากับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัดสายสันทราย-พร้าว พ.ศ. 2513 ใช้บังคับคือ ในวันที่ 14 ตุลาคม 2513 หาใช่ราคาปัจจุบันของที่ดินในขณะฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดแจ้งถึงเหตุขัดแย้งในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาเฉพาะเรื่องค่าเสียหาย โดยยกเอาคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาเป็นข้อบรรยายแล้วสรุปว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เอง เป็นทำนองว่าคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มีความขัดแย้งกันเอง โดยไม่มีข้อความบรรยายให้ปรากฏชัดว่าขัดแย้งในเรื่องใด เพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 880/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต้องระบุเหตุขัดแย้งที่ชัดเจน
จำเลยที่ 1 ฎีกาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายโดยยกเอาคำวินิจฉัยตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มาเป็นข้อบรรยายแล้วสรุปว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เองเป็นทำนองว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีข้อความขัดแย้งกันเอง แต่ไม่มีข้อความบรรยายให้ปรากฏชัดว่าขัดแย้งในเรื่องใด เพราะเหตุใดจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด และผลของการยกอายุความของผู้ค้ำประกันต่อผู้กู้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ให้การว่าโจทก์จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ จำเลยไม่รับรอง จำเลยที่ 2 ให้การว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายหรือไม่จำเลยไม่ทราบไม่รับรอง คำว่าไม่ทราบหรือไม่รับรองนั้นเป็นคำกลาง ๆ ไม่เป็นทั้งคำรับและคำปฏิเสธ กล่าวคือ โจทก์อาจจะเป็นนิติบุคคลจริงตามฟ้องก็ได้ แต่จำเลยทั้งสองไม่ทราบจึงไม่รับรอง คำให้การของจำเลยทั้งสองจึงมิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ทั้งมิได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธนั้น จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือว่าไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับฐานะการเป็นนิติบุคคลของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าการกระทำของจำเลยร่วมเป็นการทำแทนซึ่งกันและกัน ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2ยกอายุความเรื่องดอกเบี้ยขึ้นต่อสู้จึงมีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การสละการครอบครองเดิมและการครอบครองเพื่อตนเองทำให้เกิดสิทธิในที่ดิน
ข้อที่ว่า ห. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่จำเลยให้การว่าพินัยกรรมที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นจะเป็นเอกสารที่มีอยู่จริงหรือไม่ สมบูรณ์ถูกต้องแท้จริงและมีผลบังคับได้หรือไม่จำเลย ไม่ทราบและไม่รับรอง คำให้การของจำเลยดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าจำเลย ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องว่า ห. ได้ทำพินัยกรรมยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อปี 2513 ห. ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินพิพาทให้โจทก์บุตรผู้เยาว์ของ ส.โดยให้ส.เป็นผู้จัดการมรดกห.ผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตายเมื่อปี 2514 หลังจากนั้นประมาณ 1 ปี ส.ไปขอรับพินัยกรรมจากอำเภอ ปรากฎว่ามีผู้แอบอ้างชื่อ ส. รับพินัยกรรมไปก่อนแล้ว แต่ ส. ก็มิได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อติดตามพินัยกรรมที่หายไป ส.และโจทก์คง ปล่อยให้ ป. และผ.อยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงจนผ. ถึงแก่ความตายเมื่อปี 2525 หลังจากนั้นโจทก์ก็ปล่อยให้ ป. อยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทต่อมาจนกระทั่งเกิดเหตุพิพาทคดีนี้ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์สละการครอบครองบ้านและ ที่ดินพิพาทแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัดและอายุความ: วัดมีสิทธิในที่ดินเสมอ แม้จำเลยครอบครองนานปี
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: ห้ามยกอายุความ – สิทธิครอบครองเป็นโมฆะ แม้ครอบครองนาน
ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติและบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอัน เป็นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34ดังนั้น ตราบใดที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติให้โอน ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ของวัด แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานาน เท่าใด จำเลยก็ไม่ได้ สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับวัดได้.