พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของวัด: คุ้มครองโดยเฉพาะ, ห้ามยกอายุความ, แม้ครอบครองนานก็ไม่เกิดสิทธิ
ที่ดินมี ส.ค.1 ของโจทก์ซึ่งเป็นวัดในพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 จะโอนกรรมสิทธิ์ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติและห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัด ดังนั้น แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับวัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินวัด: สิทธิความเป็นเจ้าของยั่งยืน แม้มีการครอบครองนานปี
โจทก์เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมิได้มีพระราชบัญญัติให้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ของโจทก์ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ทั้งไม่อาจยกระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 ขึ้นเป็นข้อโต้แย้งกับโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าเกิน 500 บาท หนังสือรับสภาพหนี้ และการเชิดตัวแทนทางกฎหมายทำให้เกิดผลผูกพันและอายุความสะดุดหยุด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อเครื่องกำจัดน้ำเสียกับพลาสติกมีเดีย จากโจทก์ โจทก์ส่งมอบสินค้าครบถ้วนแต่จำเลยที่ 1ชำระค่าสินค้าไม่ครบ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าสินค้าที่ยังค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย โจทก์แนบสำเนาใบส่งของและสำเนาหนังสือแจ้งยอดเงินค้างชำระไว้ท้ายคำฟ้องปรากฏรายการสินค้าที่โจทก์ส่งให้จำเลยที่ 1 และราคาสินค้าทั้งหมด รวมทั้งรายการชำระเงินค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วเหลือยอดเงินค้างชำระตามที่โจทก์ฟ้อง เช่นนี้ คำฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 ส่วนมีการซื้อขายกี่ครั้งครั้งละเท่าใด เป็นเงินเท่าใด ชำระแล้วเมื่อใด ค้างชำระการซื้อขายครั้งใด เท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การซื้อขายมีราคาเกินกว่า 500 บาท โดยมิได้ทำสัญญาหรือทำหลักฐานเป็นหนังสือหรือวางประจำไว้ แต่มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้ โจทก์ส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ชำระราคาบ้างแล้วถือว่าการซื้อขายรายนี้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีผู้เป็นหุ้นส่วน3 คน การที่จำเลยที่ 1 มอบให้ ส. หุ้นส่วนคนหนึ่งเสนอประมูลราคาก่อสร้างงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่นลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างตามสัญญา พนักงานของโจทก์ติดต่อกับ ส. ขายสินค้าให้จำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยที่ 1 ก็ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821เมื่อ ส. ลงลายมือชื่อรับรองรายการส่งสินค้าพร้อมราคาและรายการชำระเงินค่าสินค้าบางส่วนซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้โจทก์ดังนี้เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการเชิดตัวแทนทางกฎหมาย ทำให้หนี้ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โดย ส. ได้ซื้อเครื่องกำจัดน้ำเสียกับพลาสติกมีเดียจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบสินค้าตามที่สั่งซื้อครบถ้วน แต่จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าสินค้าไม่ครบ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าสินค้าที่ยังค้างชำระพร้อมด้วยดอกเบี้ย โจทก์ได้แนบสำเนาใบส่งของและสำเนาหนังสือแจ้งยอดเงินค้างชำระไว้ท้ายฟ้องด้วย ซึ่งตามสำเนาเอกสารดังกล่าวปรากฏรายการสินค้าที่โจทก์ส่งให้แก่จำเลยที่ 1 และราคาสินค้าทั้งหมดรวมทั้งรายการชำระเงินค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเมื่อหักกลบลบกันแล้วคงเหลือยอดเงินที่ค้างชำระตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นคำฟ้องที่ได้แสดงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172แล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่า มีการซื้อขายกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใด เป็นเงินเท่าใด ชำระแล้วเมื่อใด ค้างชำระการซื้อขายครั้งใดเท่าใด เพราะรายละเอียดดังกล่าวเป็นเรื่องที่อาจนำสืบพยานกันได้ในชั้นพิจารณา การซื้อขายทรัพย์ที่มีราคาเกินกว่าห้าร้อยบาทแม้จะมิได้มีการทำสัญญาหรือทำหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าการซื้อขายดังกล่าวได้มีการทำหนังสือรับสภาพหนี้กันไว้และโจทก์ได้ส่งมอบสินค้าให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระราคาบ้างแล้ว จึงถือว่าการซื้อขายรายนี้ได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องขอให้บังคับคดีได้ตามความในมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 การที่ ส.ลงลายมือชื่อในเอกสารซึ่งมีลักษณะเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และเป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรอนสิทธิซื้อขาย: การประนีประนอมยอมความและข้อยกเว้นตามมาตรา 481
แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความตามข้อต่อสู้ไว้แต่ ป.พ.พ. บัญญัติเรื่องอายุความรับผิดในการรอนสิทธิไว้ในลักษณะซื้อขายมาตรา 481 เพียงมาตราเดียว โดยกำหนดอายุความไว้สามเดือน ตามคำให้การของจำเลยจึงพอถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความในเรื่องความรับผิดในการรอนสิทธิตามนัยกฎหมายดังกล่าวแล้ว การที่จะนำอายุความสามเดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 481 มาใช้บังคับนั้นข้อเท็จจริงต้องได้ความว่าโจทก์ได้ประนีประนอมยอมความคืนทรัพย์ให้แก่บุคคลภายนอกหรือยอมคืนทรัพย์ให้ตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง การที่รถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเนื่องจากเป็นรถยนต์ของผู้อื่นที่ถูกลักมาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ความรับผิดของจำเลยผู้ขายจึงไม่ตกอยู่ในบังคับอายุความมาตรา 481 แต่ต้องตกอยู่ในอายุความทั่วไปตามมาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความรับผิดจากการซื้อขายรถยนต์คันที่ถูกลักมา: มาตรา 481 vs. มาตรา 164
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายรถยนต์ให้โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าเป็นรถยนต์ของผู้อื่นที่ถูกคนร้ายลักไป เจ้าพนักงานตำรวจจึงได้ยึดรถยนต์ไปจากโจทก์ ขอให้จำเลยใช้ราคารถยนต์พร้อมด้วยค่าเสียหายจำเลยให้การว่า โจทก์ถูกรอนสิทธิเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2526แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว แม้คำให้การของจำเลยจะไม่ระบุระยะเวลาที่เป็นอายุความไว้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเรื่องอายุความรับผิดในการรอนสิทธิไว้ในลักษณะซื้อขาย มาตรา 481เพียงมาตราเดียว โดยกำหนดอายุความไว้สามเดือน จึงพอถือได้ว่าจำเลยต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความในเรื่องความรับผิดในการรอนสิทธิแล้ว การที่จะนำอายุความสามเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 481 มาใช้บังคับนั้น ข้อเท็จจริงต้องได้ความว่า โจทก์ได้ประนีประนอมยอมความคืนรถยนต์ให้แก่บุคคลภายนอก หรือยอมคืนรถยนต์ให้ตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง การที่รถยนต์ถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเนื่องจากเป็นรถยนต์ของผู้อื่นที่ถูกลักมาจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยอมตามที่บุคคลภายนอกเรียกร้อง ความรับผิดของจำเลยผู้ขายจึงไม่ตกอยู่ในบังคับอายุความตามมาตรา 481แต่ต้องตกอยู่ในอายุความทั่วไปตามมาตรา 164 ซึ่งมีอายุความสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับ ไม่ใช่ราคาทรัพย์ที่ยังขาดชำระ
ข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อว่าในกรณีที่เอาทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ขายได้ราคาไม่พอชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงิน จำนวนที่ยังขาดอยู่จนครบนั้นเป็นเพียงวิธีการคำนวณหาจำนวนค่าเสียหาย ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อซึ่งมีลักษณะเป็น เบี้ยปรับตามกฎหมาย หาใช่เป็นการเรียกร้องเอาราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อ ที่ยังขาดอยู่ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ มิใช่การเรียกราคาทรัพย์ที่ยังขาด
ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่ว่า เมื่อเจ้าของยึดทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนมาแล้วนำออกขาย หากได้เงินไม่พอชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และค่าเช่าซื้อคงเหลือ ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่จนครบ เป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญา มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ โดยเฉพาะข้อความที่ว่า หากเอาทรัพย์ที่เช่าซื้อออกขายได้เงินไม่พอชำระค่าเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่จนครบก็เป็นเพียงวิธีการคำนวณหาจำนวนเบี้ยปรับเท่านั้น มิใช่เป็นการเรียกร้องเอาราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตหน้าที่ลูกจ้าง: การใช้วิธีการใดในการทำงานเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งนายจ้าง
การที่ ส. ลูกจ้างโจทก์ไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำ เพื่อสูบน้ำขึ้นมาทำความสะอาดที่พัก และขณะเดียวกันพระภิกษุได้ขอให้ ส. สูบน้ำไปไว้บนกุฎิพระด้วย ส. ได้ถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ สูบน้ำขึ้นจากสระน้ำ นั้น พึงเห็นได้ว่า ส.จะต้องทำความสะอาดที่พักตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของโจทก์ ส.จำเป็นต้องใช้น้ำเอามาทำความสะอาดที่พักดังกล่าว การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของ ส.ฉะนั้นส. จะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของ ส. เพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อส. เลือกวิธีไปยืมมอเตอร์ สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบ น้ำ เพื่อทำความสะอาดที่พัก ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของ ผู้ควบคุมงานของโจทก์และถือว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้กับโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 511/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการเสียชีวิตของลูกจ้างจากการใช้วิธีการที่อยู่ในดุลพินิจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง
ผู้ควบคุมงานของนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทำความสะอาดที่พักแรมชั่วคราวที่ศาลาการเปรียญวัดซึ่งใช้ในระหว่างออกปฏิบัติงานก่อสร้างขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้า การทำความสะอาดที่พักจำเป็นต้องใช้น้ำด้วย การที่จะนำเอาน้ำในสระขึ้นมาใช้เป็นหน้าที่ของลูกจ้าง ฉะนั้นลูกจ้างจะใช้วิธีการอย่างใดเป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของลูกจ้างเพื่อให้ได้น้ำขึ้นมาใช้ เมื่อลูกจ้างเลือกวิธีโดยไปยืมมอเตอร์สูบน้ำจากพระภิกษุมาใช้สูบน้ำเพื่อทำความสะอาดที่พักถือได้ว่าเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมงานของนายจ้างและถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นายจ้าง เมื่อลูกจ้างถูกไฟฟ้าดูดถึงแก่ความตายขณะที่อยู่ระหว่างกำลังใช้มอเตอร์ที่ยืมมาดังกล่าวสูบน้ำขึ้นจากสระเพื่อจะทำความสะอาดที่พักแรม นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับ