คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการขายทอดตลาดโดยผู้เยาว์ทำให้การแจ้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขายทอดตลาดเป็นโมฆะ
การส่งประกาศขายทอดตลาดโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหากผู้รับประกาศขายทอดตลาดมีอายุ 17-18 ปี การส่งเอกสาร ดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 73 ทวิ,76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งประกาศขายทอดตลาดทางไปรษณีย์ถึงผู้เยาว์ (อายุ 17-18 ปี) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การส่งประกาศขายทอดตลาดโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หากผู้รับประกาศขายทอดตลาดมีอายุ 17 - 18 ปี การส่งเอกสารดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ, 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากถูกกล่าวหาลักทรัพย์ แม้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องและศาลยกฟ้อง การเลิกจ้างไม่ถือว่าไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้นย่อมหมายความถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามก็เนื่องจากบริษัท ฮ. ซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามกับพวกในข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ของบริษัทไป อีกทั้งในชั้นจับกุม โจทก์ทั้งสามก็ให้การรับสารภาพ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยมีความระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสาม จำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้ และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็หามีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อจำเลยให้การต่อสู้เพียงประเด็นเดียวว่า โจทก์ทั้งสามได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยในข้อที่ว่า "ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่บริษัท""จงใจทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย"และ "ลูกจ้างต้องไม่ลักทรัพย์หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นลักทรัพย์ของบริษัท หรือของผู้อื่นภายในบริเวณบริษัท" เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่า โจทก์ทั้งสามร่วมกันลักทรัพย์นั้น พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามได้ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าว กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสามทันทีเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อไม่จ่ายก็ต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ7.5 ต่อปีของเงินดังกล่าว จำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากเหตุถูกแจ้งความลักทรัพย์ ศาลตัดสินให้จ่ายค่าชดเชยและเงินสมทบ
การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหมายถึงการที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุหรือแม้จะมีสาเหตุบ้างแต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจะต้องถึงกับเลิกจ้างลูกจ้าง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามเนื่องจากบริษัทลูกค้าจำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสามข้อหาร่วมกันลักทรัพย์ชั้นจับกุมโจทก์ทั้งสามให้การรับสารภาพย่อมทำให้จำเลยระแวงสงสัยและไม่ไว้วางใจโจทก์ทั้งสามจำเลยย่อมมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควรและเป็นธรรม แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของจำเลยกลับเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมไม่ เมื่อในคดีที่โจทก์ทั้งสามถูกกล่าวหาว่าร่วมกันลักทรัพย์พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องโจทก์ที่ 1 และศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสามฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยกรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 47 ที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยรวมทั้งเงินสมทบเงินสะสม เมื่อไม่จ่ายต้องถือว่าผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีของเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันเลิกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3628/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบความสัมพันธ์ตัวการ-ตัวแทน การรับฟังพยานนอกคำให้การ และการรับฟังเอกสารที่ไม่ติดอากรแสตมป์
การนำสืบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวการกับตัวแทน เพื่อให้ทราบถึงความจริงเกี่ยวกับการทำสัญญาเป็นมาอย่างไร ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ภาพถ่ายหนังสือมอบอำนาจเป็นสำเนาเอกสารไม่ใช่คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร และไม่ต้องห้ามในการที่ศาลจะรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยาน คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยผิดนัดชำระค่าเช่าเกิน 6 เดือนและไม่ชำระภาษีโรงเรือนตามเงื่อนไขในสัญญาเช่า จำเลยให้การว่าที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและค่าเช่าจำเลยขอปฏิเสธว่าไม่เคยผิดเงื่อนไขในสัญญาเช่า รายละเอียดจะได้เสนอศาลในชั้นพิจารณาต่อไป คำให้การของจำเลยจึงเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดปฏิเสธว่าจำเลยไม่ผิดสัญญาตามฟ้อง คดีมีประเด็นว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าหรือไม่ จำเลยมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามประเด็นดังกล่าวได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวของคู่สมรสต่างสัญชาติ และการครอบครองปรปักษ์
ว.ได้มาซึ่งที่ดินและตึกแถวพิพาทหลังจากที่ว. และจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่ดินและตึกแถวพิพาทย่อมตกเป็นสินสมรสของ ว.และจำเลยเมื่อว. เป็นคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 ที่ดินและตึกแถวพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยซึ่งมีสัญชาติไทยแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธินายจ้างวางเงื่อนไขป้องกันทรัพย์สินและรักษาวินัยลูกจ้าง แม้หลังมีข้อตกลงสภาพการจ้าง
การที่ผู้ร้องวางเงื่อนไขให้ลูกจ้างทุกคนต้องลงชื่อในใบรายงานตัวก่อนเข้าทำงานเป็นการกระทำภายหลังที่ลูกจ้างของผู้ร้องกลุ่มหนึ่งร่วมกันทำลายทรัพย์สินของผู้ร้องเสียหายเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่ข้อเรียกร้องก็ได้เจรจาตกลงยุติไปแล้ว แม้ลูกจ้างส่วนใหญ่รวมทั้งผู้ร้องคัดค้านจะไม่อยู่ในข่ายต้องสงสัย แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างก็มีสิทธิที่จะหามาตรการป้องกันทรัพย์ของตนเองได้ และย่อมมีสิทธิที่จะหาวิธีการหรือวางมาตรการให้ลูกจ้างทำงานด้วยความขยันขันแข็งและอยู่ในระเบียบวินัยโดยเคร่งครัดในขอบข่ายของกฎหมายอันเป็นอำนาจบริหารทั่วไปของนายจ้าง เมื่อใบรายงานตัวไม่มีข้อความตอนใดเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เป็นการเพิ่มภาระแก่ลูกจ้างหรือเป็นการลงโทษลูกจ้างเป็นเพียงวิธีการที่ผู้ร้องนำมาใช้เพื่อเตือนสติลูกจ้างและเน้นให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกฎระเบียบวินัยอันเป็นหน้าที่ของลูกจ้างอยู่แล้ว ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายหรือขัดขวางลูกจ้างรวมทั้งผู้คัดค้านทั้งสองที่จะเข้าทำงานได้ตามปกติไม่ผู้ร้องจึงมีอำนาจทำได้ เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรผู้ร้องจึงเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่นัดหยุดงานแล้วละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุกทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้ เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ละทิ้งหน้าที่หลังเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินนายจ้าง การวางเงื่อนไขในใบรายงานตัวไม่ถือเป็นการขัดขวางการทำงาน
สหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้างเพื่อขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และต่อมามีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยกำหนดให้ลูกจ้างที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงานภายในเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นลูกจ้างบางส่วนได้ร่วมกันทุบทำลายทรัพย์สินของนายจ้างได้รับความเสียหาย นายจ้างจึงมีอำนาจออกใบรายงานตัวให้ลูกจ้างลงชื่อก่อนเข้าทำงานได้เมื่อลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อในใบรายงานตัวและไม่ยอมเข้าทำงานในช่วงเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมายย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายจ้างเลิกจ้างได้หากลูกจ้างนั้นละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันขึ้นไป
of 29