พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2385/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการต่อหนี้ที่เกิดจากการปฏิบัติงานของส่วนราชการในสังกัด
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและกำหนดหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารงานส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลให้การดำเนินการต่าง ๆ ตามโครงการของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามที่จำเลยอนุมัติเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติราชการเท่านั้น การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามอนุมัติและมอบอำนาจให้หัวหน้าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามทำสัญญาซื้อน้ำมันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เป็นการทำหน้าที่แทนจำเลยตามกฎหมาย จำเลยซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องรับผิดชอบในการกระทำของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจังหวัดมหาสารคามเป็นหนี้โจทก์จำเลยจึงต้องมีหน้าที่ชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างวานเบิกความเท็จทำให้เสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็น ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่ ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริงจึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวและการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2374/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องดำเนินคดีอาญาจากความเสียหายจากการเบิกความเท็จในคดีแพ่ง โดยไม่จำต้องเป็นคู่ความ
จำเลยที่ 5 ได้จ้างวานให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ และจำเลยดังกล่าวได้เบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปโดยตรง โจทก์จึงเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 5 และคำเบิกความเท็จของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)และมีอำนาจฟ้องจำเลยดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 (2) โดยไม่จำต้องคำนึงว่าโจทก์ต้องเป็นคู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความเท็จนั้นหรือไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ฟ้องโจทก์บรรยายถึงคดีที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เบิกความอันเป็นเท็จ ทำให้ศาลเชื่อว่าจำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์จริง จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 เกิดจากจำเลยที่ 5 เป็นผู้จ้างวานหรือใช้ให้ยื่นคำร้องและเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาล ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าค้างชำระ ไม่ใช่ฟ้องละเมิด อายุความเป็นไปตามสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ตรวจพบว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถูกทำการแก้ไขให้แสดงค่าหน่วยน้อยกว่าที่มีการใช้ไฟฟ้าจริงเป็นเหตุให้จำเลยในฐานะผู้ใช้ไฟฟ้าชำระเงินค่าไฟฟ้าแก่โจทก์น้อยไปกว่าที่เป็นจริงทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2525ถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2528 จำเลยชำระเงิน ค่าไฟฟ้าให้โจทก์ไม่ถูกต้องโดยชำระเพียง 74,104.64 บาท หากเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงค่าหน่วยไฟฟ้าถูกต้อง จำเลยจะต้องชำระค่าไฟฟ้าให้โจทก์ในช่วงดังกล่าวเป็นเงิน 203,178.10 บาท จำเลยได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้า ที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถูกทำการแก้ไขให้แสดงหน่วยไฟฟ้า น้อยกว่าที่เป็นจริง จึงต้องรับผิดชำระเงินค่าไฟฟ้าเพิ่ม ย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2525 ถึงวันที่ 6 สิงหาคม2528 แก่โจทก์คิดเป็นเงิน 129,073.46 บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหารวมทั้งรายละเอียดและคำขอบังคับโดยชัดแจ้งพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วโจทก์หาจำต้องบรรยายว่าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าถูกแก้ไขอย่างไรใครเป็นผู้แก้และแก้เมื่อใด รวมทั้งการอ้างสิทธิ ที่ จะ เรียกเก็บค่าไฟฟ้าเพิ่มย้อนหลัง และการคิดค่าไฟฟ้า โดยอาศัยหลักเกณฑ์ใด เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องเรียกค่าไฟฟ้าที่จำเลยใช้ตามที่ได้ใช้ไปจริงและจำเลยชำระขาดไป จึงเป็นการฟ้องจำเลยให้ชำระค่าไฟฟ้าที่ยังขาดอยู่ตามสัญญามิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จาก การ ทำละเมิดอันมีอายุความ 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาใหม่หลังขาดนัด - เหตุป่วยไข้และข้อโต้แย้งนอกเหนือจากชั้นอุทธรณ์
จำเลยร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยระบุในคำขอว่า ในวันนัดจำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอาการปวดศีรษะมากจนไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้สะดวก คำพิพากษาคลาดเคลื่อน เพราะโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่เคยร่วมกันเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดินตามฟ้องหากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีแล้วย่อมมีโอกาสชนะคดีอันจะทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ พอถือได้ว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้ง ซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสองแล้ว ปัญหาว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยป่วยจริง โจทก์ทั้งสองมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นโต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วมาพิจารณาหาได้ไม่ฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าหลังจากหายป่วยแล้วจำเลยได้พยายามแจ้งเหตุให้ศาลทราบนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้ว จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินฝากกระแสรายวันไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด คิดดอกเบี้ยไม่ได้ตามอัตราธนาคารพาณิชย์ แต่คิดได้ตามอัตรากฎหมาย
สัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างธนาคารโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำหนดเงื่อนไขไว้หลายข้อที่แสดงว่าโจทก์จะจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเงินจากบัญชีไม่เกินจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ฝากเข้าบัญชี จำเลยที่ 1 จึงไม่มีเจตนาตกลงกันโดยตรงว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วระยะเวลากำหนดอันใดอันหนึ่งให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหักกลบลบกันคงชำระแต่ส่วนที่เหลือโดยดุลยภาค อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 และถือไม่ได้โดยปริยายว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เดินสะพัดบัญชีกัน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น โจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้คิดดอกเบี้ยไว้ในสัญญาและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ถือว่าโจทก์และจำเลยไม่ได้ตกลงกันเรื่องดอกเบี้ย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีโดยวิธีธรรมดานับแต่วันผิดนัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2093/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในคำพิพากษาศาลชั้นต้น และการอุทธรณ์ที่ครอบคลุมข้อผิดพลาดนั้น ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 2,338,295.06บาท แต่ตอนพิพากษา กลับพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 1,338,295.06บาท แก่โจทก์แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลง แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์โดยตรงว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมีข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเกี่ยวกับจำนวนหนี้ดังกล่าว แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในต้นเงินจำนวน2,478,103.24 บาท ไม่ใช่จำนวนเงิน 1,338,295.06 บาท ถือได้ว่าโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในข้อผิดพลาดและข้อผิดหลงแล้วที่ศาลอุทธรณ์ยังคงพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน1,338,295.06 บาท จึงไม่ถูกต้อง ที่ถูกจะต้องพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 2,338,295.06 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2090/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร, ปลอมแปลงเอกสาร, แจ้งความเท็จ: องค์ประกอบความผิดและอำนาจฟ้อง
ส.พบรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยจึงขอรถยนต์คืน โดยนำหลักฐานสัญญาเช่าซื้อไปแสดงต่อจำเลย จำเลยไม่คืนให้โดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าจำเลยได้รถยนต์มาอย่างไร และจำเลยยังเรียกร้องเอาเงินจาก ส.โดยอ้างว่าจำเลยนำรถยนต์ไปซ่อมอีกทั้งจำเลยกลับนำรถยนต์คันดังกล่าวที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนปลอมและหมายเลขเครื่องยนต์ที่ถูกขูดลบแก้ไขไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยแจ้งว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จพร้อมกับขอโอนรถยนต์จากผู้อื่นมาเป็นของจำเลย ขอเปลี่ยนสีและขอเสียภาษีรถยนต์ย้อนหลัง พฤติการณ์ต่าง ๆ ของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยครอบครองรถยนต์ดังกล่าวไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยย่อมมีความผิดฐานรับของโจร เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ก็ย่อมไม่เป็นความผิดฐานยักยอกอีกแต่ข้อหาฐานรับของโจรนั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อาจลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ จำเลยรู้อยู่แล้วว่าหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์นั้นเป็นเอกสารราชการปลอม เมื่อจำเลยนำรถยนต์ที่มีหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนดังกล่าวไปยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อขอออกใบแทนใบคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยไปแจ้งเจ้าพนักงานว่าหายทั้งที่รู้ว่าเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานใช้หมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ซึ่งเป็นเอกสารราชการปลอม กับมีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(7) ได้ให้คำนิยามของคำว่า "เอกสาร"ไว้ว่าหมายความว่า กระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งได้ทำให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข ผังหรือแบบแผนอย่างอื่น จะเป็นโดยวิธีพิมพ์ ถ่ายภาพหรือวิธีอื่นอันเป็นหลักฐานแห่งความหมายนั้นจากบทนิยามดังกล่าวหมายเลขเครื่องยนต์และแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์จึงเป็นเอกสาร โจทก์ได้บรรยายฟ้องโดยใช้ข้อความว่า "จำเลยบังอาจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ" ซึ่งย่อมมีความหมายแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด คือรู้อยู่แล้วว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นความเท็จแม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องอีกว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ ก็เป็นการเพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยที่ว่าคดีนี้ผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ในข้อหายักยอกภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีจึงขาดอายุความและพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องกับที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 นั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอก แม้จะวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลย ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาในข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงผ่อนผันชำระหนี้เช่าซื้อมีผลต่อการถือเอาเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ และผลของการเลิกสัญญากันโดยปริยาย
หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์ขอผ่อนผันชำระเงินและได้ชำระเงินแก่โจทก์ตามข้อตกลงรวม 4 งวด หลังจากนั้นไม่ชำระ โจทก์จึงยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนพฤติการณ์แสดงว่าทางปฏิบัติโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอากำหนดเวลาในการชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสาระสำคัญต่อไป และการที่จำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกลงกันตามหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินจึงเป็นการตกลงเลิกข้อตกลงเดิม ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดตามสัญญาเช่าซื้อต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาในหนังสือขอผ่อนผันชำระเงินโดยชำระเงินขาดในเดือนที่ 3 พฤิตการณ์ก็แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ถือกำหนดเวลาในการชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเดิมเป็นสาระสำคัญเช่นกัน จะถือว่าจำเลยผิดสัญญาและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่ได้ โจทก์ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อภายในเวลาอันสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แต่การที่พนักงานของโจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อและจำเลยที่ 1 คืนรถยนต์ให้ ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์คืนคู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมจำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าใช้ทรัพย์ให้แก่โจทก์ตามมาตรา391 วรรคสาม ส่วนที่จำเลยต้องใช้ราคารถยนต์ที่ยังขาดเมื่อโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อไปนั้นมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2038/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรังวัดสอบเขตที่ดินเพื่อพิสูจน์การรุกล้ำ กรณีคู่ความตกลงให้รังวัดเพื่อตัดสินคดี
โจทก์และจำเลยท้ากันโดยขอให้หัวหน้าฝ่ายรังวัดสำนักงานที่ดินร่วมกับจ่าศาลไปรังวัดสอบเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 30471 เพื่อให้ทราบว่าการวางท่อประปาตามฟ้องรุกล้ำในที่ดินดังกล่าวหรือไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการวางท่อประปาตามฟ้องรุกล้ำที่ดินของโจทก์ตรงตามคำท้าแล้ว จำเลยจึงต้องแพ้คดีตามคำท้าข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งว่า เส้นดำหมายเขียวเป็นแนวเขตรัศมีทางหลวงอันเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ของกรมทางหลวงนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่นอกเหนือไปจากคำท้า ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย