พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: ไม่จำเป็นต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ก่อนฟ้องศาล
ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534มาตรา 18 วรรคแรกที่บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (2) พิจารณาคำร้องทุกข์ของพนักงานหรือของสมาคมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับของ รัฐวิสาหกิจนั้น ฯลฯ" ส่วนในวรรคสี่และวรรคหก บัญญัติไว้เป็นใจความว่า ผู้ร้องหรือสมาคมซึ่งไม่พอใจผลการพิจารณาคำร้องทุกข์ดังกล่าวของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบผลการพิจารณา คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด เห็นได้ว่าคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์จะมีอำนาจหน้าที่พิจารณาในการนี้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์เท่านั้นไม่ได้หมายความว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้ว โจทก์จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลไม่ได้เพราะบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บังคับให้จำต้องร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ไม่ จึงมิใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่มีบทบัญญัติให้ร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดี มาสู่ศาล ตามนัยมาตรา 8 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522เมื่อคดีนี้สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบสิทธิประโยชน์ และสิทธิการได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2434มาตรา 18(2) มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่อง เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจพิจารณา คำร้องทุกข์นั้นได้ แต่หาได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่ได้ ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้วโจทก์ทั้งหกจะนำคดีมาฟ้อง ศาลไม่ได้ ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า "การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้ กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ" ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณี ที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯหรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงาน เมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือ ว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนด ล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดใน ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิ ประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิ โดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุด พักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 21 เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องโดยมิได้ อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 52ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจ: การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ และสิทธิลาพักผ่อน
พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 18(2) มีความหมายเพียงว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ก็ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุกข์นั้นได้ แต่หาได้มีความหมายว่า ถ้าโจทก์ทั้งหกไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์แล้ว โจทก์ทั้งหกจะนำคดีมาฟ้องศาลไม่ได้
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตราของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า"การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ"ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพาะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ หรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงานเมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาดหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 21
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องโดยมิได้อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตราของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 วรรคสอง บัญญัติว่า"การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่รัฐวิสาหกิจให้ออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่พนักงานไม่ได้กระทำความผิดตามข้อ 46 ฯลฯ"ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นไว้เป็นพิเศษแก่กรณีที่พนักงานรัฐวิสาหกิจต้องออกจากงานเพาะเหตุขาดคุณสมบัติตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ หรือเพราะเกษียณอายุแต่อย่างใด การที่จำเลยให้โจทก์ทั้งหกออกจากงานเมื่อโจทก์ทั้งหกมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์หรือเกษียณอายุ จึงต้องถือว่าเป็นการเลิกจ้างตาม ข้อ 45 วรรคสอง ดังกล่าว ส่วนการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนั้น เมื่อจำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 8 จึงถือไม่ได้ว่า การที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาดหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 21
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องโดยมิได้อ้างเหตุผลความเห็นธรรมแก่คู่ความแต่ประการใด ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบฯ ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มิได้มีบทบัญญัติในมาตราใดที่บังคับว่าโจทก์จะต้องร้องทุกข์ในเรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อคณะกรรมการการสัมพันธ์พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเสียก่อนแล้วจึงจะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้ร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการดังกล่าว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้ การที่จำเลยให้โจทก์ออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 วรรคสอง จำเลยไม่ได้กำหนดล่วงหน้าให้โจทก์ทั้งหกหยุดพักผ่อนประจำปีในวันเวลาใดตามที่กำหนดในระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จึงถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์ทั้งหกไม่ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์ทั้งหกจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้ลาหยุดตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน - พยานเบิกความไม่ครบถ้วน - ความผิดสนับสนุนเจ้าพนักงาน
นางสาว ข.พยานโจทก์มาเบิกความตอบคำซักถามของโจทก์แล้วไม่มาให้จำเลยถามค้านแต่โจทก์ส่งคำให้การของนางสาว ข.ต่อศาล โดยมีพนักงานสอบสวนเบิกความรับรองว่านางสาว ข.ให้การไว้เช่นนั้นจริง ทั้งตามคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ข.ดังกล่าวสอดคล้องกับที่เบิกความตอบคำซักถามของโจทก์ จึงนำคำเบิกความของนางสาว ข.ที่ตอบคำซักถามของโจทก์มารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้
จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงาน การที่จำเลยร่วมกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำความผิด จำเลยย่อมมีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำผิดนั้น
จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงาน การที่จำเลยร่วมกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำความผิด จำเลยย่อมมีความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานในการกระทำผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนเจ้าพนักงานกระทำความผิด และการรับฟังพยานที่ไม่สามารถมาให้การได้
นางสาว ข. พยานโจทก์มาเบิกความตอบคำซักถามของโจทก์แล้วไม่มาให้จำเลยถามค้านแต่โจทก์ส่งคำให้การ ของนางสาว ข. ต่อศาล โดยมีพนักงานสอบสวนเบิกความรับรองว่านางสาว ข. ให้การไว้เช่นนั้นจริง ทั้งตามคำให้การชั้นสอบสวนของนางสาว ข. ดังกล่าวสอดคล้องกับที่เบิกความตอบคำซักถามของโจทก์ จึงนำคำเบิกความของนางสาว ข. ที่ตอบคำซักถามของโจทก์มารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้ จำเลยไม่ใช่เจ้าพนักงาน การที่จำเลยร่วมกับพวกซึ่งเป็น เจ้าพนักงานกระทำความผิด จำเลยย่อมมีความผิดฐานสนับสนุน เจ้าพนักงานในการกระทำผิดนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่หลังการยึดทรัพย์: กำหนดเวลา 6 เดือน และการส่งหมายเรียกโดยชอบ
จำเลยอ้างแต่เพียงว่าระหว่างถูกฟ้องคดีนี้จำเลยมิได้อยู่ที่บ้านเพราะจำเลยเดินทางไปประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งแสดงว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง การที่เจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนคำบังคับให้จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว จึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2527และทำการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2528จำเลยมายื่นคำขอพิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2532จึงพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์ แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยก็ไม่อาจยื่นคำขอล่าช้าเกิน 6 เดือนนับแต่วันยึดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำขอพิจารณาใหม่เกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยหลังการยึดทรัพย์
คำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างว่า จำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านในระหว่างถูกฟ้องเพราะเดินทางไปประเทศซาอุดีอาระเบีย แสดงว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่ระบุในฟ้อง เจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนคำบังคับให้จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว จึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยจะต้องยื่นภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ทั้งนี้ แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่เมื่อมีการยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว ก็ไม่อาจยื่นคำขอล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อถึงกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527 ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝาก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้นยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้วสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้น พร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป