คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,140 วรรคสอง,309 วรรคสอง กระทงหนึ่ง และมีความผิดตามมาตรา 142 อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 วรรคสอง จำคุกคนละ 3 ปี และลงโทษตามมาตรา 142 จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง,140 วรรคแรก ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 140 วรรคแรก จำคุกคนละ 1 ปี รวมกับโทษฐานอื่นแล้วคงจำคุกคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งหมายความว่าความผิดกระทงแรกศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังคงปรับบทลงโทษตามมาตรา 309 วรรคสอง ด้วย และความผิดกระทงหลังก็ยังคงปรับบทลงโทษและกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ความผิดกระทงแรกศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาระบุวรรคและแก้วรรคมาด้วยนั้น เป็นการระบุเพื่อให้ชัดเจนแก้ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น มิได้แก้บทมาตราที่ลงโทษแต่อย่างไรคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วางมาแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก ที่โจทก์ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกพยานนอกสำนวนมาวินิจฉัยอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นหยิบยกพยานนอกสำนวนมาวินิจฉัยแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องโต้แย้งให้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต่างไปจากศาลชั้นต้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจกรรมการและการประชุมที่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และประกาศคณะปฏิวัติ
การที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 7(2) ระบุ บุคคลที่เป็นคณะกรรมการโดยมิได้มีข้อความให้อำนาจบุคคลอื่นทำการแทน ดังนั้นกรรมการคนใดคนหนึ่งจะมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมาประชุมแทนในฐานะกรรมการตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ดังกล่าวย่อมเป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับ 218 ข้อ 44 วรรคสอง(ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นสามารถมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้โดยให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจกรรมการในคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ชอบด้วยกฎหมายตามประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 218
แม้ พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะบัญญัติให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดประกอบด้วยข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นกรรมการ โดยมิได้ระบุคำว่าหรือ "ผู้แทน" ไว้ก็ตาม แต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวจึงมอบหมายให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งอื่นประชุมแทนได้และถือว่าการประชุมคณะกรรมการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลัง จะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267วรรคสอง ที่บัญญัติว่า คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดไต่สวนพยานและคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษา: การโต้แย้งสิทธิอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคำสั่ง
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาโดยรู้ว่าไม่มีความผิด เพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นความผิดตามมาตรา 173 ประกอบ 174 วรรคสอง
จำเลยเป็นทนายความไม่ได้รับแลกเช็คจากคุณหญิง ศ. จริงเพียงแต่รับสมอ้างดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงเช็คไม่ว่าจะโดยรับมาจากโจทก์หรือจากคุณหญิง ศ.ก็ตาม โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็ค เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนโดยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เพื่อแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ได้รับความเสียหายถูกจับกุมดำเนินคดี เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะไม่ผิดมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเช็คที่ไม่มีมูลความผิด เพื่อให้ดำเนินคดีผู้อื่น เป็นความผิดอาญา
จำเลยมิได้แลกเช็คจาก ศ. เพียงแต่รับสมอ้าง จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดเพราะโจทก์มิได้ลงวันที่สั่งจ่าย เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อันจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์คดีอาวุธปืน แก้ไขโทษจำคุกเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7,55,78 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 38,55,78 จำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่จำเป็นต้องติดกัน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้หากมีการใช้สิทธิเกิน 10 ปี
สามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกันแม้ทางพิพากษาจะมีคลองสาธารณะคันอยู่ก็อาจเป็นภารจำยอมได้
of 29