คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประพัฒน์ อุชุภาพ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 289 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมไม่จำกัดการติดกันของที่ดิน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมนั้นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ดังนี้ แม้จะมีคลองสาธารณะคั่นอยู่ก็อาจเป็นทางภารจำยอมได้ โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรื้อถอนอาคาร และการใช้ประกาศกรุงเทพมหานครควบคุมการก่อสร้าง
คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครคือจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคาร คำสั่งดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 ซึ่งออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ประกาศใช้บังคับก่อน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และยังไม่ได้ถูกยกเลิก อีกทั้งมิได้ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่อย่างใด ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ข้อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 นั้นเป็นเรื่องป้องกันมิให้ปลูกสร้างอาคารใกล้ชิดกันมากเกินไป อันเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม และความปลอดภัยของประชาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกับกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ที่เป็นการกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคาร จึงนำกฎกระทรวงดังกล่าวมาใช้บังคับเกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารไม่ได้พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร เป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่ โจทก์จดทะเบียนอาคารชุด ภายหลังจากที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว จึงอ้างกฎหมายอาคารชุดมาคุ้มครองความรับผิดชอบของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การควบคุมอาคาร, ระยะร่น, และการบังคับใช้กฎหมายอาคารชุด กรณีการก่อสร้างผิดแบบ
พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติให้กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมอาคารแต่อย่างใดแต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งรื้ออาคารของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2521 ออกโดยอาศัยประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย และใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 โดยมิได้ถูกยกเลิกและขัดแย้งกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ด้วย ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 79พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแบบแปลนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่ โจทก์ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลน เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างอาคาร วันที่ 25 มิถุนายน 2518 และสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2529 แต่โจทก์ได้จดทะเบียนอาคารเป็นอาคารชุดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2529 และจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2529 การจดทะเบียนเกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว เป็นการหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบตามคำสั่งดังกล่าว โจทก์มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอ้างกฎหมายอาคารชุดคุ้มครองความรับผิดของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การร่วมของผู้ต้องหา, คำรับสารภาพ, และพยานหลักฐานประกอบการลงโทษ
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่ 2เป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตายก็ตาม แต่โจทก์ก็มีคำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนที่ให้การซัดทอดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงและใช้ไม้ตีผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับ เป็นการยากที่จำเลยที่ 1จะปรุงแต่งขึ้นไว้เพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยที่ 2 ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างไร ดังนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนศาลย่อมนำมาฟังประกอบการพิจารณาได้ คดีนี้ปรากฏว่าในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ทั้งยังได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและมีการถ่ายรูปไว้ด้วย โดยคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 มีรายละเอียดมากมาย ซึ่งยากที่พนักงานสอบสวนจะปรุงแต่งขึ้นเอง นอกจากนี้ในการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ก็ได้กระทำในที่สาธารณะมีประชาชนหลายคนมามุงดูด้วย พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำให้การซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด และคำรับสารภาพประกอบการพิจารณาคดีอาญา
ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การซัดทอดจำเลยที่ 2 ซึ่งคำให้การซัดทอดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับเป็นการยากที่จำเลยที่ 1 จะปรุงแต่งขึ้นไว้เพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยที่ 2 ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างไร ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนศาลย่อมนำมาฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องคดีระหว่างแม่ลูก: คดีอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับโจทก์ว่ายื่นคำร้องขอออก น.ส.3ทับที่ดินโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว หาใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกไม่จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นกรรมการสหภาพแรงงานอันเนื่องจากใส่ความทำลายชื่อเสียงนายจ้าง
การทำและแจกจ่ายเอกสารที่มีข้อความกล่าวหานายจ้างว่ามีพฤติการณ์ในทางร้าย กลั่นแกล้งและแก้แค้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่เลิกราไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ ไม่มีความสุจริตใจต้องการให้พนักงานแตกความสามัคคีพยายามทำให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์การของลูกจ้างเลิกไป เป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอยอันเป็นข้อความที่ล้วนแต่ทำให้ลูกจ้างและผู้อ่านข้อความนั้นรู้สึกว่านายจ้างประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างทั้งสิ้น เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีแถลงการณ์กล่าวหานายจ้างสร้างความเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง
กรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นผู้คัดค้านทำและแจกจ่ายแถลงการณ์ด่วนพิเศษมีข้อความกล่าวถึงผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างว่า "พอเข้าทำงานแล้วบริษัทฯ ก็ยังพูดว่า บริษัทฯ อยากให้เกิดความสามัคคีเหมือนเดิมแต่พอพนักงานเข้ามาทำงานแล้ว ให้ความร่วมมือกับทางบริษัทในการทำงานแต่ทางบริษัทฯ ยังทำให้พนักงานกับสหภาพฯ แตกสามัคคีมาโดยตลอดจนกระทั่งมาเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2525 ทางบริษัทฯ ได้โยกย้ายคณะกรรมการสหภาพฯ โดยมีเจตนากลั่นแกล้งและแก้แค้นคณะกรรมการสหภาพฯ และ "ทางสหภาพฯ ยังรู้ข้อมูลอีกว่า พวกเรานัดหยุดงานนั้น พวกที่เข้าทำงานก่อนได้เงินปลอบขวัญอีกมากพอสมควรให้กับพวกที่เข้ามาทำงานอีกโดยที่พวกเราไม่ได้อย่างนี้พวกเราก็เห็นแล้วว่าบริษัทฯ ไม่มีความจริงใจต่อพนักงาน และบริษัทฯ ต้องการที่จะให้พนักงานแตกแยกกันด้วย ฉะนั้น ขอให้พนักงานเล็งเห็นว่าบริษัทฯ ยังเล่นพวกเราไม่เลิกโดยพยายามจะล้มองค์กรสหภาพฯ" และ"ในเมื่อบริษัทฯ เคยพูดว่าเราจะล้มเรื่องเก่า ๆ และไม่มีการกลั่นแกล้งต่อพนักงานทุกคน...แล้วคุณโกมลพูดที่โรงอาหารเมื่อเราเข้าทำงานในวันแรกแล้วทำไมผู้ใหญ่ถึงพูดกลับกลอกอย่างนี้ พวกเราจะเชื่อถือได้อย่างไร" ข้อความดังกล่าวแม้จะอ่านรวมกันแล้วก็ยังเป็นการกล่าวหาผู้ร้องว่ามีพฤติการณ์ในทางร้าย กลั่นแกล้งและแก้แค้นผู้คัดค้านทั้งเก้าซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานไม่เลิกรา ไม่เป็นไปตามที่พูดไว้ ผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจ ต้องการให้พนักงานแตกความสามัคคี พยายามทำให้สหภาพแรงงานซึ่งเป็นองค์กรของลูกจ้างเลิกไปและกล่าวหาผู้ร้องว่าเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย ซึ่งข้อความดังกล่าวล้วนแต่ทำให้ลูกจ้างและผู้อ่านข้อความนั้นรู้สึกว่า ผู้ร้องประพฤติปฏิบัติตนไม่ดี ไม่ถูกต้อง และไม่มีคุณธรรมก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างทั้งสิ้น การทำและแจกจ่ายแถลงการณ์ด่วนพิเศษดังกล่าวจึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อันเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับซึ่งร่วมกันกำหนดขึ้นระหว่างผู้ร้องกับสหภาพแรงงานที่ผู้คัดค้านเป็นสมาชิกอยู่ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านที่กระทำความผิดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: พยานหลักฐานน้ำหนักกว่าการโต้แย้งของจำเลย และการรับฟังเอกสารหลังฟ้อง
โจทก์มีตัวโจทก์ และพ.ซึ่งนั่งมาในรถยนต์กระบะของโจทก์ เบิกความยืนยันว่า รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1ขับตามหลังพุ่งเข้าชนท้าย รถยนต์กระบะของโจทก์หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและถูกฟ้องในข้อหาขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถยนต์กระบะของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บยิ่งเมื่อนำภาพถ่ายที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าโจทก์ขับรถยนต์กระบะแซงรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันหนึ่ง ทางเดินรถของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 1เพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย เอกสารใบเสร็จรับเงินค่าลำโพง และเสาอากาศโจทก์อาจจะไปขอมาหลังจากฟ้องก็ได้ กรณีไม่ถึงกับจะทำให้รับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ได้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ที่ว่าเอกสารบางรายการมีการคิด ค่าเสียหายซ้ำซ้อนกัน 2 ครั้ง มิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเอกสารในรายการใดบ้างที่มีการคิดค่าเสียหายซ้ำซ้อน กันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เหตุที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.8, จ.10และ จ.11 ให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยาน เนื่องจากโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารดังกล่าวและได้ยื่นบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติมในวันนั้น และโจทก์ก็ยังสืบพยานไม่เสร็จ จำเลยย่อมมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวและนำพยานหลักฐาน มาสืบหักล้างได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี แต่อย่างใด เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็น เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐาน เช่นว่านั้น ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐาน ดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่เกิดจากหนี้ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินโจทก์โดยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ต่อมาเมื่อถึงกำหนด จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาซื้อขายที่พิพาท โดยตีราคาที่พิพาทเท่ากับยอดรวมของต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ดังนี้สัญญาซื้อขายที่พิพาทจึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้ราคาบางส่วนคือเงินต้นจะเป็นหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาแบ่งแยกซื้อขายที่พิพาทบางส่วนในราคาเท่ากับต้นเงินที่ค้างชำระ สัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับ
of 29