คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สะสม สิริเจริญสุข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 744 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองต้องเกิดจากไม่มีบิดามารดา หรือถูกถอนอำนาจปกครองเท่านั้น
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ ป.พ.พ.มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง กรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้
การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้
กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองต้องมีเหตุที่บิดามารดาไม่มีความสามารถในการดูแล หรือถูกถอนอำนาจปกครอง
การที่จะตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 วรรคหนึ่ง ให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดา ถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อผู้เยาว์มีมารดา ซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครองอยู่ จึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ หากเป็นการขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองอีกคนหนึ่งนั้น ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดา ถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคน คดีนี้แม้บิดาผู้เยาว์ ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจะไม่ปรากฏชัดว่าจดทะเบียนสมรส กับมารดาผู้เยาว์หรือไม่ แต่ผู้ร้องก็ยอมรับว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่น ยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้ นอกจากนี้กฎหมายมิได้บังคับว่าผู้เยาว์ที่ไม่มีบิดามารดานั้นจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์ เป็นคนละกรณีกับการ จัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการ ตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้ปกครองต้องเกิดจากกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือถูกถอนอำนาจปกครองเท่านั้น
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง กรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้ กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง และผลของการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทน แต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ ส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจของ ทนายความ หรือจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุที่ผู้ลงชื่อในอุทธรณ์ไม่มี อำนาจเป็นทนายความของโจทก์นั้น จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 พร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความใหม่ที่ให้อำนาจทนายโจทก์ในการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์แก้ไขอำนาจของทนายความโจทก์ ให้มีอำนาจโดยชอบในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้วคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป จึงเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ ไม่ถูกต้องนั้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีปล้นทรัพย์โดยใช้มีดข่มขู่ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลล่างที่ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปีนับแต่วันพิพากษา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 104(2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกาแม้จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 426/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจลงโทษเด็กและเยาวชน และการอนุญาตฎีกาในคดีที่เกี่ยวข้อง
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยจำคุก 6 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 2 ปี ขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 104 (2) คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์เฉพาะในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 121 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า มิได้กระทำความผิดโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา จึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาดังกล่าว เห็นว่า เนื่องจากคดีนี้จำเลยที่ 2 ส่วนปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการลงโทษตามที่จำเลยฎีกา เมื่อเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกับปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยไว้จำเลยได้กระทำความผิดหรือไม่ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่เหมาะสมแก่สภาพแห่งความผิด ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่บิดามารดาอุปการะเลี้ยงดูบุตร แม้มีสินสมรสส่วนตัว ก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูและศึกษา
ส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยเป็นเหตุคนละส่วนกับหน้าที่ของบิดามารดาตามกฎหมายที่จำต้องอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาแก่บุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุที่จำเลยมิได้ขอแบ่งสินสมรสจากโจทก์มาเป็นข้ออ้างว่าไม่ต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ เมื่อโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรผู้เยาว์คนละ 10,000 บาท ในแต่ละภาคเรียน และตามความเป็นจริงนอกจากค่าใช้จ่ายในการศึกษาแล้วยังจะต้องคำนึงถึงค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอื่น ๆ ในการครองชีพและการดำรงอยู่ในสังคมตามวัยและความเจริญเติบโต ของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองต่อไปในอนาคตจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ ประกอบด้วยตามสมควร โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างประจำมีเงินเดือน เดือนละ 6,590 บาท ในขณะที่จำเลยรับราชการมีเงินเดือน เดือนละ 12,000 บาท และจะเพิ่มมากขึ้นต่อไป ในแต่ละปี และยังมีรายได้พิเศษส่วนหนึ่งจากการเล่นดนตรี จึงมีรายได้มากกว่าโจทก์แม้จำเลยจะอ้างว่าตนต้องผ่อนชำระหนี้ ส่วนหนึ่งนั้น ก็เป็นเหตุส่วนตัวของจำเลยและเป็น เหตุเพียงชั่วคราวเท่านั้น จึงไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นมา เป็นข้ออ้างได้ การที่ศาลกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู แก่ผู้เยาว์ทั้งสองในชั้นประถมศึกษาคนละ 2,000 บาทต่อเดือน ชั้นมัธยมศึกษาคนละ 3,000 บาทต่อเดือน และชั้นอุดมศึกษา คนละ 4,000 บาทต่อเดือน จนกว่าผู้เยาว์ทั้งสองจะ บรรลุนิติภาวะจึงเหมาะสมแก่สภาพและพฤติการณ์แห่งคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อมีการสมรสแล้ว และเหตุฟ้องหย่าเรื่องละทิ้งร้าง
การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรส โดยเป็น ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคือจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กิน ด้วยกันแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน เป็นเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั่วไป มิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจ ระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวน ของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ แต่ก็อ้างว่าจะต้องซักผ้าและ ทำธุระส่วนตัว หากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดา เป็นบางครั้ง โจทก์ก็อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลย และเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวาย ที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาควบคุมและฝึกอบรมเยาวชน ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์ ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึก และอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปี บริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนใน คำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา วันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลย ไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง 4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบ ยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้น วินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรม มีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดระยะเวลาควบคุมตัวเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ ต้องไม่เกินอายุ 24 ปีบริบูรณ์
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนดตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) นั้น ต้องไม่เกินกว่าที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีที่ศาลมีคำสั่งตามวรรคสุดท้ายของมาตรา 104 ซึ่งตามบทบัญญัติของกฎหมายจะต้องระบุให้ชัดเจนในคำพิพากษาว่า เมื่อจำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนดด้วย
จำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2543ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาวันที่ 29 ธันวาคม 2540 ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี ขั้นสูง 4 ปี นับแต่วันพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104(2) จึงครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นต่ำกำหนด 2 ปี ในวันที่ 29 ธันวาคม 2542 และครบกำหนดฝึกและอบรมขั้นสูง4 ปี วันที่ 29 ธันวาคม 2544 ซึ่งเกินกว่าที่จำเลยมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงขัดต่อกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมมีกำหนดขั้นสูงจนกว่าจำเลยจะมีอายุครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์ตามมาตรา 104 ประกอบด้วยมาตรา 105
of 75