พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อต่างจากคดีอาญาฐานยักยอก สิทธิเรียกร้องแยกขาด
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อกับคดีอาญา ยักยอกทรัพย์ สิทธิเรียกร้องแยกจากกัน
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6578/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเนื่องจากไม่ชำระค่างวด แม้จะอ้างว่าผู้ขายไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ถูกต้อง
++ เรื่อง เช่าซื้อ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนส่ง: สินค้าไม่สูญหาย/เสียหายจากการขนส่ง ไม่ใช่อายุความ 1 ปี
ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้านั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ส่งมอบหรือปีหนึ่งนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการทุจริต การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าให้โจทก์เพื่อส่งไปยังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2538ซึ่งโจทก์หรือผู้รับสินค้าของโจทก์สามารถติดต่อรับได้ที่สาขากรุงเทพมหานครของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4เมษายน 2538 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดต่อกับบริษัทผู้รับสินค้าดังกล่าวได้ จึงได้เก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าดังกล่าวไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตแสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1ขนส่งสินค้า เมื่อบริษัทผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลยทั้งสี่ โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 รับจะตรวจสอบสินค้าให้เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาหาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ 1 ปี สัญญาขนส่ง: ไม่ครอบคลุมกรณีเรียกคืนสินค้าที่ยังไม่สูญหาย/บุบสลาย
อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 ใช้บังคับแก่ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าเนื่องจากการขนส่งอันเป็นความรับผิดตามสัญญาขนส่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าของโจทก์ส่งไปถึงสำนักงานของจำเลยที่กรุงเทพ แต่ติดต่อผู้รับสินค้าไม่ได้จึงเก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง เมื่อผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลย โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังจำเลย จำเลยรับจะตรวจสอบสินค้าให้ เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการต่อสู้คดี: การนำสืบต้องอยู่ภายในประเด็นที่ได้ยกขึ้นต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6136/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบเกินขอบเขตคำให้การ: จำเลยอ้างสัญญากู้ปลอม แต่สืบเรื่องการไม่ได้รับเงิน ซึ่งไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมเนื่องจากจำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ประเด็นตามคำให้การจึงมีเพียงว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินหรือไม่ อันจะนำไปสู่การพิจารณาว่าสัญญากู้เงินปลอมหรือไม่ ส่วนสาเหตุอื่นที่อาจทำให้สัญญากู้เงินปลอมล้วนไม่ใช่ประเด็นตามคำให้การ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินที่ยังไม่ได้กรอกข้อความเป็นเหตุให้สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม และจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงิน จึงเป็นการนำสืบนอกข้อต่อสู้ในคำให้การ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้าม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การขาดการใช้รถยนต์ และการชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยได้หรือไม่เพียงใด และต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่า ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเพิ่มเติมคำให้การได้ทั้งได้ยกขึ้นวินิจฉัยในคำพิพากษาด้วย ฉะนั้น จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกและจำเลยยกข้ออ้างดังกล่าวโต้แย้งเป็นอุทธรณ์ด้วยศาลอุทธรณ์จึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความรวมถึงการที่โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ด้วย ฉะนั้น โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ จากจำเลยผู้รับประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6036/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: ขยายเวลาเมื่อผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตายก่อนอายุความครบกำหนด
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ว.แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมา ว. ถึงแก่ความตายโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของว.ได้ฟ้องให้จำเลยให้รับผิดตามเช็คพิพาท เมื่อปรากฏว่าว. ผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตายภายหลังเช็คพิพาทถึงกำหนด และอายุความสิทธิเรียกร้องตามเช็คจะครบกำหนด ภายในหนึ่งปีนับแต่วันตายอันเป็นโทษแก่ว. ผู้ตาย จึงต้องขยายอายุความออกไปเป็นหนึ่งปีนับแต่ วันที่ว. ถึงแก่ความตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/23