คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญธรรม อยู่พุก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6036/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็คหลังผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตาย: ขยายเวลาตามกฎหมาย
จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ว. แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมา ว.ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ว.ได้ฟ้องให้จำเลยให้รับผิดตามเช็คพิพาท เมื่อปรากฏว่า ว.ผู้ทรงเช็คถึงแก่ความตายภายหลังเช็คพิพาทถึงกำหนด และอายุความสิทธิเรียกร้องตามเช็คจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตายอันเป็นโทษแก่ ว.ผู้ตาย จึงต้องขยายอายุความออกไปเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ ว.ถึงแก่ความตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5894/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาทหรือไม่ มีผลต่อการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224กำหนดว่าในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 105,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเพียงห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ถือว่าโจทก์พอใจตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยอุทธรณ์แต่ฝ่ายเดียวว่าไม่ต้องรับผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเท่ากับที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระคือห้าหมื่นบาทพร้อมดอกเบี้ยเท่านั้นและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จก็จะนำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5876/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องมีสิทธิเลิกสัญญาตามกฎหมายหรือข้อตกลง ไม่สามารถบอกเลิกได้ตามอำเภอใจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้นจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลิกสัญญาหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมายมิใช่ว่าจะใช้สิทธิเลิกสัญญาได้ตามอำเภอใจ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มีสิทธิเลิกสัญญาโดยเหตุใดการที่โจทก์ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2และมิได้โต้แย้งคัดค้านหามีผลเป็นการเลิกสัญญาดังกล่าวไม่เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องโต้แย้งหรือคัดค้านการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบัตรเครดิตและการคิดอายุความหนี้สินจากสัญญาที่ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 856สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น
โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าว โดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/34 (7) เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิต โจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้ และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่า โจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระเป็นการผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทอายุความสัญญาบัตรเครดิต สัญญาไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด อายุความ 2 ปี
โจทก์ให้จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันโดยไม่ให้มีการใช้เช็คเบิกถอนเงินตามปกติ หากแต่เป็นบัญชีกระแสรายวันที่ใช้เพื่อให้จำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ มิใช่กรณีที่โจทก์จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวขึ้นโดยมีเจตนาตกลงกันโดยตรงให้ตัดทอนบัญชีหนี้อันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างโจทก์และจำเลยหักกลบลบกัน แล้วคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ อันเป็นลักษณะสำคัญของสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวย่อมมิใช่สัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาการใช้บัตรเครดิตเท่านั้น โจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจออกบัตรเครดิตให้จำเลยเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยใช้บัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้แทนการชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเงินสด ตลอดจนใช้บัตรเครดิตนั้นเบิกถอนเงินสดอันเป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการอำนวยความสะดวกดังกล่าวโดยโจทก์จะออกเงินทดรองจ่ายให้จำเลยก่อน และโจทก์คิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการบัตรเครดิตดังกล่าวด้วยโจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลยเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไป ซึ่งมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)เมื่อปรากฏว่าวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตโจทก์จะใช้วิธีโอนจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันมาชำระหนี้และโจทก์ได้แจ้งการหักโอนบัญชีแก่จำเลยครั้งสุดท้ายว่าโจทก์จะหักบัญชีในวันที่ 6 มกราคม 2535 เท่ากับกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ชำระ เป็นการ ผิดนัดชำระหนี้ ดังนี้ อย่างช้าที่สุดที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้จึงเริ่มนับแต่วันถัดไป คือวันที่ 7 มกราคม 2535 เป็นต้นไป นับถึงวันฟ้องวันที่ 3 พฤษภาคม 2539 เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะบังคับคดีไม่ได้ ศาลไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัทได้
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5561/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเลิกบริษัทถูกต้องตามกฎหมาย แม้เจ้าหนี้จะถูกจำกัดสิทธิในการบังคับคดี
บริษัท พ. ได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเองซึ่งทำถูกต้องตามขั้นตอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 แล้วกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1246(6)ที่บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อบริษัทกลับคืนเข้าในทะเบียนตามเดิมได้ เพราะกรณีตามมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องการถอนทะเบียนบริษัทร้างดังนั้น จึงไม่อาจสั่งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครเพิกถอนการจดทะเบียนเลิกบริษัท พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซ้ำซ้อนหลังศาลพิพากษายกฟ้อง ไม่มีเหตุผล ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยให้การว่า หนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์หรือตัวแทนโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์คืนเอกสารดังกล่าวแก่จำเลย หากไม่คืนขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งทำลายเอกสารดังกล่าวโดยถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ซึ่งหากพิจารณาได้ความตามคำให้การจำเลยดังกล่าว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง จำเลยย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาอยู่แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยจะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนเอกสารหรือทำลายเอกสารดังกล่าวอีก จึงชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5545/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งขอคืน/ทำลายเอกสารค้ำประกันเมื่อศาลต้องยกฟ้องอยู่แล้ว ศาลไม่รับฟ้องแย้ง
จำเลยให้การว่า หนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่จำเลยลงลายมือชื่อโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความโจทก์หรือตัวแทนโจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลย จึงเป็นเอกสารปลอมขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งบังคับโจทก์คืนเอกสารดังกล่าวแก่จำเลย หากไม่คืนขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งทำลายเอกสารดังกล่าวโดยถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน ซึ่งหากพิจารณา ได้ความตามคำให้การจำเลยดังกล่าว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง จำเลยย่อมได้รับผลตามคำพิพากษาอยู่แล้ว กรณีไม่มีเหตุจำเป็น ที่จำเลยจะฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนเอกสารหรือทำลายเอกสาร ดังกล่าวอีก จึงชอบที่ศาลจะไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำร้องอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา – ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา
of 87