พบผลลัพธ์ทั้งหมด 870 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำร้องอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา – ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายก่อน
โจทก์ยื่นคำร้องขออุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่อีกฝ่ายว่าจะคัดค้านหรือไม่ และยังมิได้พิจารณาว่าจะอนุญาตตามคำร้องหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาให้ศาลฎีกาพิจารณาสั่งคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลรับฟังเอกสารท้ายคำให้การเป็นพยานหลักฐานเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมในคดีแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงิน ให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาทปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัยโดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบ ก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความ ยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5495/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารประกอบคำให้การ แม้เป็นสำเนาและมิได้สืบประกอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้ว จึงมีปัญหาที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยไปแล้วเพียงใดหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การต่อสู้ไว้แล้วว่า จำเลยได้จ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 10,000 บาท ปรากฏตามเอกสารท้ายคำให้การ และได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้โจทก์ไปแล้ว 10,000 บาท ตามสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นผู้ไปรับเอง ตามเอกสารท้ายฟ้องเอกสารท้ายคำให้การดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่เข้าสู่สำนวนโดยชอบแล้ว แม้จะเป็นสำเนาเอกสารและจำเลยมิได้สืบประกอบก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมก็ย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 87
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผล เท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5458/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อโมฆะ: ลายมือชื่อกรรมการไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองบริษัท
การที่กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อเพียงคนเดียว ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของโจทก์ที่กำหนดให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เมื่อศาลเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินเช่าไปขายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ผู้เช่าครอบครองที่ดินในฐานะอสังหาริมทรัพย์ ดินที่ขุดได้ถือเป็นสังหาริมทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียง แต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพ อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อม เปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการ ครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครองดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่ จำเลยเอา ดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินจากที่เช่าเปลี่ยนสภาพเป็นทรัพย์สินอื่น การขายดินถือเป็นการลักทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียงแต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง ดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่จำเลยเอาดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้แก่ผู้อื่นโดยการส่งมอบการครอบครองสมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ไม่มีเอกสารจดทะเบียน
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่ง ต. ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มี ข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต. ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรอง การทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบ การครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต. ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด การที่ต. รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาท ให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดู นางแตงมาเป็นเวลาถึง7ปีแสดงว่าต. มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของต. จะมีสิทธิจัดการได้ ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิ ในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินโดยการส่งมอบการครอบครอง และผลกระทบต่อสิทธิในที่ดินเมื่อผู้ให้เสียชีวิต
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายชัดเจนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของตลอดมาจนกระทั่งต.ถึงแก่กรรมโดยมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดในคำฟ้องที่แสดงว่า ต.ประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยทางนิติกรรม เมื่อที่ดินพิพาทมีเอกสารสิทธิเป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ผู้มีชื่อในเอกสารสิทธิจึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น การโอนสิทธิครอบครองในกรณีนี้สามารถกระทำได้ทั้งการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 525 และ ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ และการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 สุดแล้วแต่ว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดการวินิจฉัยคดีโดยข้อเท็จจริงยังไม่ได้ความชัดว่าผู้ให้มีเจตนาให้โดยทางใดจึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้โจทก์จำเลยสืบพยานจนเสร็จสิ้นแล้ว และคดีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรวินิจฉัยประเด็นพิพาทไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยก่อนว่า ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่และด้วยเจตนาใด
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
การที่ ต.รับโจทก์มาเลี้ยงเช่นบุตร แล้วมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โดยส่งมอบเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และให้โจทก์เข้าทำนาในที่ดินพิพาทเลี้ยงดูนางแตงมาเป็นเวลาถึง 7 ปี แสดงว่า ต.มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 การให้จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว เมื่อ ต.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ต. ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.จะมีสิทธิจัดการได้
ที่ดินพิพาทยังเป็นสิทธิของโจทก์ตลอดมา การที่จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล vs. ประกันชีวิต: สิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายและการเข้ารับช่วงสิทธิ
สัญญาประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยถึงชีวิตของ ส. เป็นสัญญาประกันชีวิตอย่างหนึ่งเพราะอาศัยความมรณะของบุคคลเป็นเงื่อนไขแห่ง การใช้เงินตามความหมายในมาตรา 889 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งไม่ได้ให้สิทธิผู้รับประกันภัยที่จะเข้ารับช่วงสิทธิแทนกันได้เหมือนอย่างการประกันวินาศภัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายในส่วนนี้ที่โจทก์จ่ายไปจำนวน 100,000 บาท ส่วน ค่าเสียหายเกี่ยวกับการเสี่ยงภัยกรณีบาดเจ็บของ ก. และค่ารักษาพยาบาลก่อนตายของ ส. ที่โจทก์จ่ายไปรายละ50,000 บาท เป็นการจ่ายตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ตกลง คุ้มครองหาใช่เป็นการประกันชีวิตไม่ถือเป็นค่าเสียหายที่ ก. และ ส. ได้รับจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์จ่ายให้แก่ ก. และ ส.แล้วจึงเข้ารับช่วงสิทธิจากก.และส. มาฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยทั้งสามได้ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ คำพิพากษานี้จึงมีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน180,300 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินจำนวน 380,300 บาท แก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยขอให้ชำระเงินตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 200,000 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเพียง5,000 บาท การที่จำเลยที่ 3 เสียค่าขึ้นศาลจากทุนทรัพย์429,617.51 บาท เป็นเงิน 10,640 บาท จึงไม่ถูกต้องต้องคืนค่าขึ้นศาล ส่วนที่เสียเกินมาแก่จำเลยที่ 3