พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หากไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดทั้งเหตุแห่งการเลิกจ้างก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายของจำเลยที่จะลดค่าใช้จ่ายเท่านั้นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดโดยอ้างเหตุดังกล่าวแม้จำเลยจะได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ก็เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2536 ขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2540 และเกิดกรณีพิพาทขึ้นจนเป็นมูลเหตุให้โจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะทำสัญญาจ้างได้ถูกยกเลิกและใช้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) บังคับแทนแล้ว จึงต้องนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) ที่ใช้บังคับ อยู่ขณะเลิกจ้างมาบังคับใช้แก่คดีนี้เพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือลูกค้าตรวจสอบเอกสารทางการเงิน ทำให้ไม่ทราบความเสียหายจากบัญชีธนาคาร
โจทก์ไปขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสินพบว่าสมุดฝากเงินของโจทก์ซึ่งเก็บไว้ที่ธนาคารมีเงินเหลืออยู่ น้อยกว่าที่ฝากไว้จริง และตรวจสอบสมุดฝากเงินของ ฉ. ภริยาโจทก์ และสมุดฝากเงินของ จ. บุตรโจทก์ก็พบว่าเงินในสมุดฝากเงินเหลือน้อยผิดปกติเช่นกัน โจทก์จึงขอตรวจสอบ ใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากทั้งสามบัญชีดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคารออมสินปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ตรวจสอบใบถอนเงินตามที่โจทก์ขอตามสิทธิและความจำเป็น อันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน ระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123 ว่าด้วยวินัยของของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 13 โดยมิชอบ เพื่อให้โจทก์ภริยาและบุตรเสียหาย เพราะโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ภริยาและบุตรถูกคนร้ายปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีหรือไม่เพียงใด และไม่อาจเอาผิดกับผู้รับผิดชอบของธนาคารออมสินได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่พนักงานธนาคารทำให้ลูกค้าเสียหายจากการถอนเงินผิดปกติ
โจทก์ไปขอถอนเงินจากบัญชีเงินฝากที่ธนาคารออมสิน พบว่าสมุดฝากเงินของโจทก์ซึ่งเก็บไว้ที่ธนาคารมีเงินเหลืออยู่น้อยกว่าที่ฝากไว้จริง และตรวจสอบสมุดฝากเงินของ ฉ.ภริยาโจทก์ และสมุดฝากเงินของ จ.บุตรโจทก์ก็พบว่าเงินในสมุดฝากเงินเหลือน้อยผิดปกติเช่นกัน โจทก์จึงขอตรวจสอบใบถอนเงินจากบัญชีเงินฝากทั้งสามบัญชีดังกล่าว แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคารออมสินปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์ตรวจสอบใบถอนเงินตามที่โจทก์ขอตามสิทธิและความจำเป็นอันเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบการธนาคารออมสิน ฉบับที่ 123ว่าด้วยวินัยของพนักงานธนาคารออมสิน ข้อ 13 โดยมิชอบ เพื่อให้โจทก์ ภริยาและบุตรเสียหาย เพราะโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ ภริยาและบุตรถูกคนร้ายปลอมลายมือชื่อถอนเงินจากบัญชีหรือไม่เพียงใด และไม่อาจเอาผิดกับผู้รับผิดชอบของธนาคารออมสินได้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11ประกอบ ป.อ.มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่เกิดจากการหลอกลวง: จำเลยต้องรับผิดชำระราคาต่อโจทก์ แม้ถูกหลอกโดยตัวการ
ส.หลอกลวงให้โจทก์เข้าใจว่าส. เป็นตัวแทนของฝ่ายจำเลยมาสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่องจากโจทก์ให้นำไปติดตั้งที่บ้านจำเลย ในขณะเดียวกันส.ก็ทำให้จำเลยเข้าใจว่าส. เป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศดังกล่าวและนำพนักงานมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่บ้านจำเลยตามที่ได้เสนอขายให้จำเลยไว้กรณีจึงเป็นเรื่องที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ถูก ส.หลอกลวง การกระทำทั้งหลายของ ส. ที่มีต่อโจทก์ย่อมไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์ แม้การกระทำของ ส.ดังกล่าวที่มีต่อโจทก์จะเข้าลักษณะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งก็ไม่ทำให้ ส.ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในเครื่องปรับอากาศของโจทก์ อันเกิดจากการกระทำเพื่อหลอกลวงใช้โจทก์เป็นเครื่องมือดังกล่าว ส. จึงไม่มีสิทธิขายเครื่องปรับอากาศของโจทก์ให้แก่จำเลยในขณะที่เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานโจทก์ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาการซื้อเครื่องปรับอากาศ ดังกล่าวจาก ส. ขึ้นยันต่อโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์ขอถอดเอาเครื่องปรับอากาศคืนไปแต่จำเลยกลับปฏิเสธและยึดเอาเครื่องปรับอากาศของโจทก์ไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาเครื่องปรับอากาศแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4717/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทรัพย์สินโดยมีการหลอกลวง ทำให้สัญญาไม่ผูกพันและเกิดความรับผิดในฐานะผู้ยึดครอง
ส.หลอกลวงให้โจทก์เข้าใจว่า ส.เป็นตัวแทนของฝ่ายจำเลยมาสั่งซื้อเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง จากโจทก์ให้นำไปติดตั้งที่บ้านจำเลย ในขณะเดียวกัน ส.ก็ทำให้จำเลยเข้าใจว่า ส.เป็นเจ้าของเครื่องปรับอากาศดังกล่าวและนำพนักงานมาติดตั้งเครื่องปรับอากาศที่บ้านจำเลยตามที่ได้เสนอขายให้จำเลยไว้กรณีจึงเป็นเรื่องที่ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็ถูก ส.หลอกลวง การกระทำทั้งหลายของส.ที่มีต่อโจทก์ย่อมไม่เกิดเป็นสัญญาผูกพันโจทก์ แม้การกระทำของ ส.ดังกล่าวที่มีต่อโจทก์จะเข้าลักษณะซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่ง ก็ไม่ทำให้ ส.ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในเครื่องปรับอากาศของโจทก์ อันเกิดจากการกระทำเพื่อหลอกลวงใช้โจทก์เป็นเครื่องมือดังกล่าว ส.จึงไม่มีสิทธิขายเครื่องปรับอากาศของโจทก์ให้แก่จำเลยในขณะที่เครื่องปรับอากาศทั้งสองเครื่องดังกล่าวยังอยู่ในความครอบครองของพนักงานโจทก์ ซึ่งถือได้ว่ายังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยจะอ้างเอาการซื้อเครื่องปรับอากาศ ดังกล่าวจาก ส.ขึ้นยันต่อโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์ขอถอดเอาเครื่องปรับอากาศคืนไป แต่จำเลยกลับปฏิเสธและยึดเอาเครื่องปรับอากาศของโจทก์ไว้เป็นของตน ดังนี้ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคาเครื่องปรับอากาศแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังรับเงินชดเชยทำให้ขาดสิทธิฟ้อง
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่าหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆจากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงิน หรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้นโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลยเมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้อง ค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อศาลแรงงานได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลย รับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็น ซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัย แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่ การวินิจฉัย ปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาเป็นยุติว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 7 เดือนเป็นเงิน 560,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาทและเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชย ค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิ์ในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4635/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังได้รับค่าชดเชย
ประเด็นต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า หลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินต่าง ๆ จากจำเลยและโจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากจำเลย เมื่อเป็นข้อที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้ว แม้ศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นโดยตรงว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ หรือการที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามบันทึกดังกล่าวแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีกหรือไม่ก็ตาม แต่ศาลแรงงานกลางได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ หากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สมควรที่จะให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งเดิมหรือให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใด ดังนั้น ประเด็นที่ว่าให้ใช้ค่าเสียหายเพียงใดจึงเป็นประเด็นซึ่งครอบคลุมถึงข้อต่อสู้ดังกล่าวของจำเลยไว้ด้วยแล้ว
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก
จำเลยอุทธรณ์เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลแรงงานมิได้นำมาวินิจฉัยแต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานฟังมาพอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้วศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาใหม่ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลแรงงานกลางฟังเป็นยุติว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์และจำเลยจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง7 เดือน เป็นเงิน เงินช่วยเหลือจำนวน 300,000 บาท และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำนวน 872,374 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว และโจทก์ได้ทำหนังสือรับเงินชดเชยค่าตอบแทนในการเลิกจ้างให้ไว้แก่จำเลยระบุว่า โจทก์ขอสละสิทธิในการที่จะเรียกร้องเงินหรือทรัพย์สินหรือข้อเรียกร้องอื่นใดตามกฎหมายต่อไปทั้งสิ้น เมื่อค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเงินตามกฎหมายอย่างหนึ่ง แต่มิใช่เป็นเงินค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมสละเงินดังกล่าวได้ การที่โจทก์ทำบันทึกสละสิทธิในการเรียกร้องเงินดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลรับฟังได้หากเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทและพยานหลักฐานเชื่อมโยงกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไป แต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงาน จะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม อันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้า ในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการ ดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ได้สอบสวน จำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วการที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการ ขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสาร พิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืน โจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยาน หลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันจะเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงาน: การรับฟังพยานหลักฐานสอดคล้องประเด็นฟ้อง แม้มีรายละเอียดเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไปแต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงานกลาจะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียมอันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า จำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ก็ได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว การที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสารพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืนโจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียมอันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่า จำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ก็ได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้ว การที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสารพิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืนโจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ.มาตรา 87 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532-4617/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานต้องโต้แย้งทันที และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพการจ้างต้องแจ้งแก้ไขอย่างถูกต้อง
วันนัดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์ คู่ความแถลงยอมรับข้อเท็จจริงกันศาลแรงงานเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานจำเลยและพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา คำสั่งศาลแรงงานที่ให้งดสืบพยานดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากจำเลยเห็นว่าการงดสืบพยานดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31,54 ปรากฏว่านับแต่วันที่ศาลแรงงานมีคำสั่งงดสืบพยานดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษา จำเลยมีเวลาพอที่จะโต้แย้งได้ แต่จำเลยก็หาได้โต้แย้งไม่อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามตาม บทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง แม้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับจำเลยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพียงแต่จำเลยประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสเพียงร้อยละ 50 ของอัตราการจ่ายในปีที่ผ่านมาโดยยึดหลักเกณฑ์เดิม ประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวและเป็นการที่จำเลยขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงย่อมไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
เมื่อจำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เรื่องการจ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้าง แม้ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับจำเลยจะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมิได้แจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพียงแต่จำเลยประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่า จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสเพียงร้อยละ 50 ของอัตราการจ่ายในปีที่ผ่านมาโดยยึดหลักเกณฑ์เดิม ประกาศดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยเพียงฝ่ายเดียวและเป็นการที่จำเลยขอความร่วมมือจากลูกจ้างเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงย่อมไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสดังกล่าวโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518