พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ต้องพิสูจน์ความเสียหาย
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นเหตุให้ผู้ร้องตกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องกำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยลดอัตรากำลังคน เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ไม่ระบุว่าเศรษฐกิจปัจจุบันถดถอยในลักษณะอย่างไร มีผลกระทบต่อผู้ร้องอย่างไร ผู้ร้องมีกำไรหรือขาดทุนซึ่งมีความจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน คำร้องของผู้ร้องจึงเคลือบคลุมนั้น แม้ปัญหานี้ผู้คัดค้านจะต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน แต่ศาลแรงงานมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองกรรมการลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง โดยให้อำนาจศาลแรงงานพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้กระทำผิดใด ๆ ถึงขั้นเลิกจ้างคงมีเหตุแต่เพียงว่าสภาพการผลิตสินค้าของผู้ร้องลดลงเพราะเศรษฐกิจถดถอยผู้ร้องต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏว่า กิจการของผู้ร้องขาดทุนหรือต้องยุบหน่วยงาน การที่ผู้ร้องแก้ไขปัญหาด้วยการเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เพราะเหตุที่วันลาย้อนหลังไปในปี 2538 ถึง 2540 รวมกันเกิน 45 วันโดยไม่ปรากฏว่าการลาในรอบปีดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบต่อระเบียบข้อบังคับ เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 ได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองกรรมการลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง โดยให้อำนาจศาลแรงงานพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้กระทำผิดใด ๆ ถึงขั้นเลิกจ้างคงมีเหตุแต่เพียงว่าสภาพการผลิตสินค้าของผู้ร้องลดลงเพราะเศรษฐกิจถดถอยผู้ร้องต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏว่า กิจการของผู้ร้องขาดทุนหรือต้องยุบหน่วยงาน การที่ผู้ร้องแก้ไขปัญหาด้วยการเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เพราะเหตุที่วันลาย้อนหลังไปในปี 2538 ถึง 2540 รวมกันเกิน 45 วันโดยไม่ปรากฏว่าการลาในรอบปีดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบต่อระเบียบข้อบังคับ เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 52 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรและเพียงพอตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็ไม่อาจใช้เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอื่นประกอบ
คดีแดงที่ 4511-4512/2541
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นเหตุให้ผู้ร้องตกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องกำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยลดอัตรากำลังคน เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ไม่ระบุว่าเศรษฐกิจปัจจุบันถดถอยในลักษณะอย่างไร มีผลกระทบต่อผู้ร้องอย่างไร ผู้ร้องมีกำไรหรือขาดทุนซึ่งมีความจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน คำร้องของผู้ร้องจึงเคลือบคลุมนั้น แม้ปัญหานี้ผู้คัดค้านจะต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน แต่ศาลแรงงานมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองกรรมการลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง โดยให้อำนาจศาลแรงงานพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้กระทำผิดใด ๆ ถึงขั้นเลิกจ้าง คงมีเหตุแต่เพียงว่าสภาพการผลิตสินค้าของผู้ร้องลดลงเพราะเศรษฐกิจถดถอย ผู้ร้องต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏว่ากิจการของผู้ร้องขาดทุนหรือต้องยุบหน่วยงาน การที่ผู้ร้องแก้ไขปัญหาด้วยการเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เพราะเหตุที่วันลาย้อนหลังไปในปี 2538 ถึง 2540รวมกันเกิน 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าการลาในรอบปีดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบต่อระเบียบข้อบังคับ เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ได้
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นเหตุให้ผู้ร้องตกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องกำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่ายโดยลดอัตรากำลังคน เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ไม่ระบุว่าเศรษฐกิจปัจจุบันถดถอยในลักษณะอย่างไร มีผลกระทบต่อผู้ร้องอย่างไร ผู้ร้องมีกำไรหรือขาดทุนซึ่งมีความจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน คำร้องของผู้ร้องจึงเคลือบคลุมนั้น แม้ปัญหานี้ผู้คัดค้านจะต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน แต่ศาลแรงงานมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองกรรมการลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้างกลั่นแกล้งอันเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง โดยให้อำนาจศาลแรงงานพิจารณากลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งว่ามีเหตุผลสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่
เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้กระทำผิดใด ๆ ถึงขั้นเลิกจ้าง คงมีเหตุแต่เพียงว่าสภาพการผลิตสินค้าของผู้ร้องลดลงเพราะเศรษฐกิจถดถอย ผู้ร้องต้องลดอัตรากำลังลูกจ้างเพื่อลดค่าใช้จ่าย โดยไม่ปรากฏว่ากิจการของผู้ร้องขาดทุนหรือต้องยุบหน่วยงาน การที่ผู้ร้องแก้ไขปัญหาด้วยการเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เพราะเหตุที่วันลาย้อนหลังไปในปี 2538 ถึง 2540รวมกันเกิน 45 วัน โดยไม่ปรากฏว่าการลาในรอบปีดังกล่าวของผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ไม่ชอบต่อระเบียบข้อบังคับ เช่นนี้ถือได้ว่าผู้ร้องยังไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518มาตรา 52 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีไว้เพื่อขายเมทแอมเฟตามีน ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ แม้ยังไม่ได้ส่งมอบ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขายให้แก่สายลับ โดยขณะจำเลยถูกจับ จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ก็เพื่อขายให้แก่สายลับตามที่จำเลยได้รับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนจากสายลับไปแล้วนั่นเอง แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับก็มีผลไม่แตกต่างกัน เนื่องจากคำว่า ขาย รวมความหมายถึงจำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายด้วย ตามคำจำกัดความของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สายลับขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำเลยรับเงินแล้วแต่ยังไม่ได้มอบเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับเนื่องจากขณะนั้นจำเลยไม่มีเมทแอมเฟตามีนขายให้การขายจึงยังไม่เกิดขึ้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4490/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขาย แม้ยังไม่ได้ส่งมอบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้เพื่อขายให้แก่สายลับ โดยขณะจำเลยถูกจับจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ก็เพื่อขายให้แก่สายลับตามที่จำเลยได้รับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนจากสายลับไปแล้วนั่นเอง แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับก็มีผลไม่แตกต่างกัน เนื่องจากคำว่า ขาย รวมความหมายถึง จำหน่ายจ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายด้วย ตามคำจำกัดความของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สายลับขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย จำเลยรับเงินแล้วแต่ยังไม่ได้มอบเมทแอมเฟตามีนแก่สายลับเนื่องจากขณะนั้นจำเลยไม่มีเมทแอมเฟตามีนขายให้การขายจึงยังไม่เกิดขึ้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยขายเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องนั้นย่อมเป็นการไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทมาตราผิดพลาดในฟ้องอาญา ศาลปรับบทลงโทษตามความผิดที่สืบได้ตามฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไป ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐาน ความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4450/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างบทกฎหมายผิดพลาด ศาลใช้บทที่ถูกต้องลงโทษจำเลยได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์โดยใช้รถยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด และการพาทรัพย์นั้นไปซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิดตามป.อ.มาตรา 336 ทวิ แต่โจทก์กลับอ้างบทมาตรา 336 ซึ่งเป็นบทมาตราที่เกี่ยวกับความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ไม่เกี่ยวกับฐานความผิดที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ถือได้ว่าโจทก์อ้างบทมาตรา 336 ทวิ ผิดพลาดไป เมื่อในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมตามฟ้อง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าตามผลงานเป็นค่าจ้าง: ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย
แม้ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนจะมีจำนวนไม่แน่นอนและไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็นการจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงานโดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่านายหน้าเป็นค่าจ้าง: คำนวณค่าชดเชยได้ แม้จำนวนไม่แน่นอน ศาลแก้ไขจำนวนเงินฟ้องเกินสิทธิ
ค่านายหน้าที่โจทก์ได้รับในแต่ละเดือนแม้จะมีจำนวนไม่แน่นอน และไม่เท่ากัน แต่จำเลยจ่ายค่านายหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์ ทุกวันสิ้นเดือน โดยคำนวณตามยอดขายสินค้าที่โจทก์ขายได้และยอดเงินที่จำเลยเก็บค่าสินค้าซึ่งโจทก์ขายได้จึงเป็น การจ่ายเป็นประจำทุกเดือน กรณีถือได้ว่าค่านายหน้าดังกล่าว เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนการทำงาน โดยคำนวณตามผลงานที่โจทก์ทำได้ จึงเป็นค่าจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 2 จำเลยต้องนำค่านายหน้าดังกล่าวมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยด้วย โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายค่านายหน้าซึ่งต้องนำมารวม เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยเกินไปจากจำนวนเงินซึ่งโจทก์ มีสิทธิเรียกร้อง แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงิน ดังกล่าวไม่ถูกต้องเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ปัญหานี้เป็น ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจหยิบยกขึ้นพิจารณาและแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสภาพการจ้างชั่วคราวต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ โดยต้องแจ้งข้อเรียกร้องและเจรจา
แม้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันเวลาทำงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพการจ้างเพียงชั่วคราวก็ตาม กรณีก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 มาตรา 16 และมาตรา 18กล่าวคือ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง หากเป็นที่ตกลงกันก็ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย ทั้งต้องปิดประกาศข้อตกลงดังกล่าวและนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวด้วย จึงจะถือว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริง และส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริง และส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสภาพการจ้างต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ แม้เป็นการแก้ไขชั่วคราว และศาลฎีกาไม่อุทธรณ์ประเด็นการรับฟังพยาน
แม้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันเวลาทำงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพการจ้างเพียงชั่วคราวก็ตามแต่กรณีก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 มาตรา 16 และมาตรา 18 กล่าวคือจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบและทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากันภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง หากเป็นที่ตกลงกันก็ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย ทั้งต้องปิดประกาศข้อตกลงดังกล่าวและนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวด้วย จึงจะถือว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้นเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง