พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด: ศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตได้ตามมาตรา 88 วรรคสี่ หากมีเหตุสมควร
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระบุว่ากรรมการของโจทก์มี 7 คน ว. เป็นกรรมการคนที่ 4 และพ. เป็นกรรมการคนที่ 5 ซึ่งจำเลยไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น และใน ข้อ 3 ระบุว่า กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ คือบ. ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์หรือกรรมการอื่น 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าหนังสือมอบอำนาจเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งมอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทน มีพ.และว. กรรมการของโจทก์ 2 คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์เช่นนี้ ย่อมฟังได้ว่าพ.และว.มอบอำนาจให้แก่อ.ในนามของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ คดีนี้จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แต่เพียงว่าพ.และว.ไม่ได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะฟ้องคดีนี้ และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ ให้อ. ฟ้องคดีนี้เท่านั้น ฎีกาของจำเลยที่ว่า ตามหนังสือมอบอำนาจระบุว่าผู้รับมอบอำนาจคือ พ.และว. ไม่ใช่โจทก์และตราที่ประทับไว้ที่ด้านล่างของหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีผู้ใดยืนยันว่าเป็นตราสำคัญของโจทก์ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับ วินิจฉัย โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเพราะยื่นเกินกำหนดเวลาและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 1 กันยายน 2537 ซึ่งศาลอนุญาตให้เลื่อนมา โจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมศาลชั้นต้นยกคำร้องและมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า ศาลชั้นต้นไม่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ถือว่าโจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบให้เลื่อนไปนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 21 ตุลาคม 2537ในวันที่ 14 กันยายน 2537 โจทก์ยื่นคำร้องว่า มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนาย ไม่นำบัญชีระบุพยานไปยื่นภายในกำหนดตามที่มอบหมาย และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2537เพราะศาลไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องเช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของโจทก์ทั้ง 3ครั้งดังกล่าว ก็เป็นการสั่งตามที่บทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งให้อำนาจไว้เป็นขั้นตอนให้ศาลใช้ดุลพินิจสั่งตามที่เห็นสมควร ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตตามมาตรา 88 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ตามบทบัญญัติในมาตรา 88 วรรคสี่ซึ่งใช้โอกาสคู่ความขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานก่อน ศาลมีคำพิพากษา โดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นบัญชี ระบุพยานภายในกำหนดเวลาดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่นั่นเอง เมื่อได้พิเคราะห์ถึงคำร้องขอระบุบัญชีพยานครั้งก่อนลงวันที่ 14 กันยายน 2537 ที่อ้างว่า ทนายความโจทก์มิได้มีเจตนายื่นบัญชีระบุพยานเกินกำหนด แต่เนื่องจากเสมียนทนายไม่นำบัญชีพยานไปยื่นภายในกำหนด และทนายความโจทก์เพิ่งทราบเรื่องในวันที่ 1 กันยายน 2537ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์เพราะศาลมีคำสั่งไม่ให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ ประกอบกับคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์ครั้งหลังสุดคือฉบับลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 ซึ่งอ้างเหตุว่าโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกล่วงเลยเวลาที่กฎหมายกำหนดเพียง 3 วัน และในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ส่งต้นฉบับเอกสารที่จะอ้างเป็นพยานตามที่ระบุในบัญชีระบุพยานซึ่งศาลได้รับต้นฉบับเอกสารของโจทก์ไว้แล้ว ประกอบคดีนี้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้ปฏิเสธหนี้ตามฟ้องโจทก์ทั้งการที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ขอศาลอนุญาตนั้น ถือได้ว่าโจทก์มีเหตุอันสมควรที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในกำหนดประกอบกับคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้า จากโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าแก่โจทก์ตามกำหนดและพยานหลักฐานตามบัญชีระบุพยานที่โจทก์อ้าง และขออนุญาต ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลเป็นพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าและการผิดนัดไม่ชำระค่าสินค้าของจำเลยให้แก่โจทก์อันเป็นข้อสำคัญแห่งประเด็นในคดี ดังนั้น เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญ แห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องสืบพยาน หลักฐานเช่นว่านั้น ทั้งพยานฝ่ายจำเลยก็ยังมิได้มีการนำสืบการที่ศาลชั้นต้นสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์จึงไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบแต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน และสั่งรับบัญชีระบุพยานโจทก์ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2537 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่แล้ว โจทก์มีสิทธินำพยานหลักฐานดังกล่าวเข้าสืบและศาลชั้นต้นมีอำนาจนำมารับฟังในการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและเจตนาประวิงคดี
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถ ยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองเท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยอีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้คำให้การในคดีอาญา: เหตุอันควรและอำนาจดุลพินิจศาล
แม้คดีอาญาจำเลยจะให้การหรือไม่เป็นสิทธิของจำเลยก็ตามแต่คดีนี้จำเลยได้ให้การไว้แล้วโดยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ซึ่งแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตนกระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้อง และการขอแก้คำให้การของจำเลย จำเลยสามารถยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้ เป็นที่เห็นได้ชัดว่า จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดี จึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6210/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตแก้คำให้การเพื่อประวิงคดี ศาลใช้ดุลพินิจได้ตามกฎหมาย
คดีอาญานั้นแม้จำเลยจะให้การหรือไม่ให้การซึ่งถือเป็น สิทธิของจำเลยก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยได้ให้การรับสารภาพ ตามฟ้องโจทก์ทุกประการแล้ว แสดงว่าจำเลยยอมรับว่าตน กระทำความผิดตามที่โจทก์กล่าวหามาในคำฟ้องนั้น ส่วนการขอแก้คำให้การของจำเลยนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคสองจำเลยสามารถยื่นคำร้องขอแก้คำให้การได้ต่อเมื่อมีเหตุอันควรมิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลย อีกทั้งเป็นดุลพินิจของศาลเห็นสมควรจึงอนุญาตให้แก้ได้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้คำให้การในคดีนี้จำเลยกระทำเพื่อประวิงคดีเท่านั้นจึงเป็นกรณีที่ไม่มีเหตุอันควร ศาลไม่อนุญาตให้จำเลยแก้คำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความในการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ: กฎหมายพิเศษเฉพาะคุ้มครอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 17 และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 30 (จ) ย่อมเห็นได้ว่า การคำนวณเงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีสิทธินับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์และวิธีการจ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 30 (จ) แต่ผู้มีสิทธินับเอาประโยชน์จากเวลาทำงานช่วงหลังที่กลับเข้าทำงานใหม่ไปรวมกับเวลาทำงานช่วงแรกตามมาตรา 30 (จ) ได้จะต้องเป็นผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติอยู่แล้วเมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนโดยอาศัยสิทธิตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ 2494 มาตรา 30 (จ) เงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวจึงมีสภาพเช่นเดียวกับเงินบำนาญปกตินั่นเอง แม้ ป.พ.พ.มาตรา 193/33(4) บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญ มีกำหนดอายุความ 5 ปี แต่ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 10 บัญญัติให้สิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตาม พ.ร.บ.นี้ มีกำหนดอายุความ 3 ปี และ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494 เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงให้นำอายุความตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 10 มาใช้บังคับ
โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ ต้องใช้ตามกฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ) คือ 3 ปี
แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(4)กำหนดให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญมีอายุความ 5 ปีแต่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ มีบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะว่าสิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้มีกำหนดอายุความ 3 ปี เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน โดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 30(จ)กรณีจึงต้องนำอายุความตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 10มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 แต่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด3 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือน/บำนาญข้าราชการ: กฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494) ใช้บังคับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ รายเดือนตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 4.9 ว่าด้วยกองทุนผู้ปฏิบัติงานการรถไฟแห่งประเทศไทยข้อ 17 และ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) ย่อมเห็นได้ว่า การคำนวณเงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวโจทก์อ้างว่ามีสิทธินับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์และวิธีการจ่ายเงินตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) แต่ผู้มีสิทธินับเอาประโยชน์จากเวลาทำงานช่วงหลังที่กลับเข้าทำงานใหม่ไปรวมกับเวลาทำงานช่วงแรกตามมาตรา 30(จ) ได้จะต้องเป็นผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญปกติอยู่แล้วเมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับ เงินสงเคราะห์รายเดือนโดยอาศัยสิทธิตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30(จ) เงินสงเคราะห์รายเดือนดังกล่าวจึงมีสภาพ เช่นเดียวกับเงินบำนาญปกตินั่นเอง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(4)บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องเงินบำนาญ มีกำหนดอายุความ 5 ปีแต่พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 10 บัญญัติให้สิทธิในการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติตามพระราชบัญญัตินี้ มีกำหนดอายุความ 3 ปี และพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494เป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงให้นำอายุความตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494 มาตรา 10 มาใช้บังคับ โจทก์ออกจากงานเนื่องจากเกษียณอายุตั้งแต่วันที่30 กันยายน 2536 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องให้จำเลยจ่ายเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2536 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2541 จึงมิได้ฟ้องเรียกเงินสงเคราะห์รายเดือนหรือเงินบำนาญปกติเฉพาะส่วนที่อ้างว่าขาดภายในกำหนด 3 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอาคารชุด: จำเลยผิดสัญญาเนื่องจากไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณา ทำให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไปตรวจสอบสภาพการก่อสร้างตามโครงการแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาไว้กล่าวคือ ยังไม่ได้ติดตั้งโทรศัพท์สายตรงที่ห้องชุด ระบบโทรทัศน์วงจรปิดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และสระว่ายน้ำ โจทก์ให้จำเลยดำเนินการจัดสร้างให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่จำเลยเพิกเฉยถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้โฆษณาไว้ตามฟ้องโจทก์ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาแต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369,387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่าจำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่ เป็นการฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5093/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากจำเลยไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามสัญญา และสิทธิในการเรียกเงินคืน
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์ไปตรวจสอบสภาพการก่อสร้างตามโครงการแล้ว ปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาไว้กล่าวคือ ยังไม่ได้ติดตั้งโทรศัพท์สายตรงที่ห้องชุด ระบบโทรทัศน์วงจรปิด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง และสระว่ายน้ำ โจทก์ให้จำเลยดำเนินการจัดสร้างให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่จำเลยเพิกเฉย ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญา จำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ได้โฆษณาไว้ตามฟ้องโจทก์ ซึ่งเป็นไปตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญา แต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 369, 387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้อน
การที่จำเลยมีหนังสือให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมทั้งชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญาในขณะที่จำเลยยังไม่อยู่ในฐานะที่จะเรียกโจทก์มารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุดตามที่จำเลยเสนอและไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือได้ โจทก์จึงไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่โฆษณาให้แล้วเสร็จก่อน แล้วโจทก์พร้อมที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพร้อมชำระราคาส่วนที่เหลือตามสัญญา แต่ระยะเวลาผ่านไปนานถึง 2 ปี จำเลยก็มิได้ดำเนินการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบถ้วนตามที่โฆษณาไว้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้ และคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำและเงินที่โจทก์ผ่อนชำระแก่จำเลยไว้พร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้เป็นไปตามป.พ.พ.มาตรา 369, 387 และ 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเงินมัดจำและเงินที่ผ่อนชำระคืนเกิดขึ้นเมื่อได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยคือวันอันเป็นวันที่จำเลยรับหนังสือบอกเลิกสัญญาจากโจทก์ อายุความจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าวซึ่งเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยโอนอาคารชุดของจำเลยให้แก่บริษัท ส. ทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นใดเหลืออยู่พอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในอันที่จะบังคับให้จำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินมัดจำและเงินผ่อนชำระคืนแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีคนละเรื่องกัน แม้โจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนโดยอาศัยมูลคดีที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายอาคารชุดและโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วอย่างเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยโอนอาคารชุดให้แก่ผู้อื่นทำให้จำเลยไม่มีทรัพย์อื่นเหลือพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่อาจบังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ได้ อันเป็นข้อสำคัญในคดีที่แตกต่างไปจากคดีนี้ คดีทั้งสองสำนวนของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีการบอกกล่าวล่วงหน้า หากไม่มีเหตุผลอันสมควร และการใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานที่เปลี่ยนแปลง
กรณีจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่เมื่อโจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดทั้งเหตุแห่งการเลิกจ้างก็เป็นเพียงการกล่าวอ้างว่าเป็นนโยบายของจำเลยที่จะลดค่าใช้จ่ายเท่านั้นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดโดยอ้างเหตุดังกล่าวแม้จำเลยจะได้บอกกล่าวล่วงหน้าแล้ว ก็เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2536 ขณะที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับโจทก์ยังเป็นลูกจ้างจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่การเลิกจ้างมีผลในวันที่ 31 มีนาคม 2540 และเกิดกรณีพิพาทขึ้นจนเป็นมูลเหตุให้โจทก์มีสิทธิได้ค่าชดเชยนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2532 ที่ใช้บังคับอยู่ขณะทำสัญญาจ้างได้ถูกยกเลิกและใช้ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) บังคับแทนแล้ว จึงต้องนำประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) ที่ใช้บังคับ อยู่ขณะเลิกจ้างมาบังคับใช้แก่คดีนี้เพื่อวินิจฉัยว่าโจทก์ มีสิทธิได้ค่าชดเชยหรือไม่