พบผลลัพธ์ทั้งหมด 706 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีและการพิจารณาคดีโดยมิชอบ ศาลต้องแจ้งนัดพิจารณาให้จำเลยทราบ การพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่6ทราบวันนัดด้วยการที่ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์ไปและมีคำสั่งว่าจำเลยที่6ขาดนัดพิจารณาให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินค้าคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่6ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่มิชอบด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(2)ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยที่6ทราบแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและพิพากษาใหม่เฉพาะจำเลยที่6ตามรูปคดีนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งมีความหมายว่าให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยที่6ขาดนัดพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่6ให้ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยที่6ทราบแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและพิพากษาใหม่เฉพาะจำเลยที่6ตามรูปคดีโดยพิพากษายืนในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2ที่3ที่5และที่7แต่ปรากฏว่าหลังจากโจทก์ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่6ซึ่งศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่6ได้ตามคำร้องและให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่6เสียจากสารบบความของศาลฎีกาจึงไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่6ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต่อไปอีก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยที่6ทราบแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปและพิพากษาใหม่เฉพาะจำเลยที่6ตามรูปคดีนอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2ที่3ที่5และที่7ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำสั่งและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งมีความหมายว่าพิพากษายืนในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2ที่3ที่5และที่7นั้นจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา141(4)และมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246อันเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหนี้ตามบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ย และการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัด เมื่อบรรยายฟ้องก็กล่าวถึงเวลาขอเปิดบัญชีในวงเงินที่กำหนด และมีการเบิกจ่ายเงินและชำระหนี้กันเป็นระยะเวลาหลายปี จนถึงผลสุดท้ายก็มียอดหนี้ของจำเลยทั้งสองรวมทั้งดอกเบี้ย แม้เอกสารการ์ดบัญชีที่แสดงว่าเป็นหนี้กันอยู่จะแนบมาพร้อมฟ้องเพียงบางส่วน ก็นับว่าชัดแจ้งพอที่จะเข้าใจข้อหาและจำนวนหนี้ได้ดี ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองมิได้ต่อสู้คดีไว้ว่าจะต้องรับผิดไม่เกิน 200,000 บาทตามสัญญาเท่านั้น เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องประการใดบ้าง กลับโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
เมื่อหนี้ยังไม่ระงับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่ดอกเบี้ยที่คิดมาในฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบ สมควรให้คิดใหม่โดยพิพากษาให้ยกฟ้องและไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ซึ่งเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาได้
จำเลยทั้งสองมิได้ต่อสู้คดีไว้ว่าจะต้องรับผิดไม่เกิน 200,000 บาทตามสัญญาเท่านั้น เพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องประการใดบ้าง กลับโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเกิน 200,000 บาท จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
เมื่อหนี้ยังไม่ระงับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญา แต่ดอกเบี้ยที่คิดมาในฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบ สมควรให้คิดใหม่โดยพิพากษาให้ยกฟ้องและไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ซึ่งเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5704/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม, หนี้ยังไม่ระงับ, ดอกเบี้ยไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ตามบัญชีเดินสะพัดเมื่อบรรยายฟ้องก็กล่าวถึงเวลาขอเปิดบัญชีในวงเงินที่กำหนดและมีการเบิกจ่ายเงินและชำระหนี้กันเป็นระยะเวลาหลายปีจนถึงผลสุดท้ายก็มียอดหนี้ของจำเลยทั้งสองรวมทั้งดอกเบี้ยแม้เอกสารการ์ดบัญชีที่แสดงว่าเป็นหนี้กันอยู่จะแนบมาพร้อมฟ้องเพียงบางส่วนก็นับว่าชัดแจ้งพอที่จะเข้าใจข้อหาและจำนวนหนี้ได้ดีฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยทั้งสองมิได้ต่อสู้คดีไว้ว่าจะต้องรับผิดไม่เกิน200,000บาทตามสัญญาเท่านั้นเพิ่งยกขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ไม่ถูกต้องประการใดบ้างกลับโต้แย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดเกิน200,000บาทจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เมื่อหนี้ยังไม่ระงับจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามสัญญาแต่ดอกเบี้ยที่คิดมาในฟ้องศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบสมควรให้คิดใหม่โดยพิพากษาให้ยกฟ้องและไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ซึ่งเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์ที่จะพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้คำพิพากษา แม้ส่งหมายนัดผิดพลาด การลงลายมือชื่อรับรู้มีผลเท่ากับการฟังคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 4 โดยมิชอบ แต่เมื่อทนายจำเลยที่ 2และที่ 4 มาศาลและลงลายมือชื่อรับรู้การอ่านคำพิพากษาดังกล่าวแล้วก็มีผลเช่นเดียวกับการอ่านให้ตัวความฟังทุกประการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกปัญหาฟ้องเคลือบคลุมเกินกว่ากรอบการต่อสู้ในชั้นศาล และการห้ามอุทธรณ์ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและยกขึ้นอุทธรณ์แล้วแต่เมื่อผู้ร้องสอดมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นผู้ร้องสอดก็ไม่มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้เพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นผู้ร้องสอดจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และเมื่อผู้ร้องสอดฎีกาปัญหานี้อีกจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินแล้วเช่าทำไร่ การผิดสัญญาเช่าและสิทธิบอกเลิกสัญญา
หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่ 1 ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่ 1 เบิกความมา อาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่ 3 ได้ แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่ 1 เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใด ๆที่จำเลยที่ 1 จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ที่ 3 หลอกนั้น ก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่ 1 ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่ 3 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 มาก่อนก็ตาม ก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่ 3 ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่ แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้าง พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 แต่ พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้น ส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าว กับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยก พระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนขายที่ดินแล้วเช่าทำไร่ การผิดสัญญาเช่า และสิทธิบอกเลิกสัญญา
หนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทไม่มีข้อความตอนใดเขียนไว้เลยว่าให้สิทธิแก่จำเลยที่1ในอันที่จะเรียกร้องเอาที่ดินคืนจากโจทก์คนใดได้ทั้งพฤติการณ์ตามที่จำเลยที่1เบิกความมาอาจปรับได้กับลักษณะขายฝากหรือคำมั่นว่าจะขายคืนให้ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจำเลยที่1ก็ชอบที่จะบังคับเอาแก่โจทก์ที่3ได้แต่ทางนำสืบที่จำเลยที่1เบิกความมาไม่มีสัญญาขายฝากหรือหลักฐานใดๆที่จำเลยที่1จะเรียกร้องเอาที่ดินพิพาทคืนจากฝ่ายโจทก์ได้เลยที่จำเลยที่1อ้างว่าโจทก์ที่3หลอกนั้นก็มีแต่คำเบิกความของจำเลยที่1ส่วนคำเบิกความของพยานจำเลยนั้นแม้จะได้ความว่าพยานดังกล่าวจะตกอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ที่3เช่นเดียวกับจำเลยที่1มาก่อนก็ตามก็ไม่อาจรับฟังได้ว่าพยานจำเลยอยู่ในฐานะถูกหลอกเช่นเดียวกับจำเลยที่1พฤติการณ์คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่1และพยานจำเลยทุกปากอยู่ในฐานะถูกเอาเปรียบจากโจทก์ที่3ที่มีกฎหมายเป็นฐานรองรับเท่านั้น โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทแล้วผิดนัดชำระค่าเช่าจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทใช้ทำไร่ไม่เคยเช่าจากโจทก์ในชั้นสืบพยานคู่ความนำสืบรับกันว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ใช้ทำไร่แม้ในคำฟ้องและคำให้การจะกล่าวอ้างพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524แต่พระราชบัญญัติดังกล่าวคงใช้บังคับสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อการทำนาเท่านั้นส่วนการเช่าที่ดินเพื่อการทำไร่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าวกับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค2หยิบยกพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5274/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้มีส่วนได้เสียในมรดก แม้หย่าแล้ว แต่มีทรัพย์สินร่วมกัน ย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
แม้การจดทะเบียนหย่าจะทำให้ผู้คัดค้านที่3มิใช่ทายาทของผู้ตายแต่เมื่อผู้คัดค้านที่3ยังมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายผู้คัดค้านที่3จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713 กฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บังคับว่าผู้ยื่นคำร้องจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอและจะขอให้ศาลตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกก็ต้องให้ผู้นั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่านายหน้า, สัญญาค่านายหน้า, การชี้ช่องทำสัญญา, ผลแห่งการเป็นนายหน้า, ข้อตกลงพิเศษ
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าบำเหน็จนายหน้าโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับนายหน้าไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใดจึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด10ปี สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์มีสองจำนวนจำนวนแรกคือร้อยละ5ของราคาไร่ละ160,000บาทกับอีกจำนวนหนึ่งถ้าโจทก์ขายได้เกินกว่านี้ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์เมื่อโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้จะซื้อแล้วถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้วแม้ว่าผู้จะซื้อผิดนัดไม่มารับโอนที่ดินจนเป็นเหตุให้จำเลยริบมัดจำก็ไม่เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดส่วนข้อความที่ว่าส่วนที่เกินกว่านี้จะเป็นของนายหน้าผู้เดียวนั้นเป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งแยกจากกันได้กับข้อตกลงที่ให้บำเหน็จร้อยละ5ค่าบำเหน็จส่วนนี้ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการเมื่อจำเลยกับผู้จะซื้อไม่มีการซื้อขายกันจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายส่วนที่เกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าบำเหน็จนายหน้า และขอบเขตความรับผิดเมื่อสัญญาซื้อขายไม่สำเร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าบำเหน็จนายหน้าโดยที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความเกี่ยวกับนายหน้าไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด จึงต้องใช้อายุความทั่วไปซึ่งมีกำหนด 10 ปี
สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์มีสองจำนวน จำนวนแรกคือร้อยละ 5 ของราคาไร่ละ 160,000 บาท กับอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าโจทก์ขายได้เกินกว่านี้ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์ เมื่อโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้จะซื้อแล้ว ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้ว่าผู้จะซื้อผิดนัดไม่มารับโอนที่ดินจนเป็นเหตุให้จำเลยริบมัดจำ ก็ไม่เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด ส่วนข้อความที่ว่าส่วนที่เกินกว่านี้จะเป็นของนายหน้าผู้เดียวนั้น เป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งแยกจากกันได้กับข้อตกลงที่ให้บำเหน็จร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการเมื่อจำเลยกับผู้จะซื้อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายส่วนที่เกินแก่โจทก์
สัญญาจะให้ค่านายหน้าแก่โจทก์มีสองจำนวน จำนวนแรกคือร้อยละ 5 ของราคาไร่ละ 160,000 บาท กับอีกจำนวนหนึ่ง ถ้าโจทก์ขายได้เกินกว่านี้ส่วนที่เกินนั้นเป็นของโจทก์ เมื่อโจทก์ชี้ช่องให้จำเลยผู้จะขายได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับผู้จะซื้อแล้ว ถือได้ว่าได้มีการทำสัญญากันเป็นผลสำเร็จเนื่องแต่ผลแห่งการที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการแล้ว แม้ว่าผู้จะซื้อผิดนัดไม่มารับโอนที่ดินจนเป็นเหตุให้จำเลยริบมัดจำ ก็ไม่เป็นผลให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด ส่วนข้อความที่ว่าส่วนที่เกินกว่านี้จะเป็นของนายหน้าผู้เดียวนั้น เป็นข้อตกลงพิเศษอีกส่วนหนึ่งแยกจากกันได้กับข้อตกลงที่ให้บำเหน็จร้อยละ 5 ค่าบำเหน็จส่วนนี้ย่อมมีความหมายว่าหากมีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอันเป็นผลจากที่โจทก์เป็นนายหน้าชี้ช่องหรือจัดการเมื่อจำเลยกับผู้จะซื้อไม่มีการซื้อขายกัน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายส่วนที่เกินแก่โจทก์