คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัครวิทย์ สุมาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 706 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินความจำเป็น: ยึดทรัพย์เกินราคานี้มีหน้าที่รับผิดชอบ
เมื่อมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยที่2มีทรัพย์สินอื่นซึ่งโจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้อยู่ภายในบ้านของจำเลยที่2ผู้แทนโจทก์ก็ควรขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา279วรรคสองโดยดำเนินการตามความจำเป็นเพื่อค้นบ้านของจำเลยที่2และกระทำการใดๆตามสมควรเพื่อเปิดบ้านดังกล่าวซึ่งถ้ามีผู้ขัดขวางเจ้าพนักงานบังคับคดีก็สามารถจะร้องขอความช่วยเหลือจากพนักงานตำรวจเพื่อดำเนินการบังคับคดีจนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา279วรรคสามแต่ผู้แทนโจทก์ก็ไม่ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการเช่นนั้นกลับแถลงขอยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพร้อมบ้านดังกล่าวของจำเลยที่2โดยแถลงว่าจำเลยที่2ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดนอกจากที่ดินและบ้านดังกล่าวการที่โจทก์โดยผู้แทนโจทก์นำยึดที่ดินและบ้านของจำเลยที่2เช่นนั้นจึงถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่2เกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีโจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่2ผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา284วรรคสองและต้องรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่2ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเกินจำนวนหนี้ โจทก์ต้องรับผิด
จำเลยเป็นหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่ถึง60,000 บาท แต่โจทก์นำยึดที่ดินและบ้านของจำเลยราคากว่า 1,750,000 บาทโดยภายในบ้านของจำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ถือได้ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีโจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 2 ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 284วรรคสอง และต้องรับผิดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์เกินจำเป็น: โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยในค่าใช้จ่ายถอนการยึด
จำเลยเป็นหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่ถึง60,000บาทแต่โจทก์นำยึดที่ดินและบ้านของจำเลยราคากว่า1,750,000บาทโดยภายในบ้านของจำเลยมีทรัพย์สินอื่นที่โจทก์สามารถนำยึดมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ถือได้ว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่2เกินกว่าที่จำเป็นแก่การบังคับคดีโจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลยที่2ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา284วรรคสองและต้องรับผิดใช้ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในการยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายในส่วนที่เกินกว่าจำนวนหนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที2ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทคล้ายกันจนน่าจะลวงประชาชน ละเมิดสิทธิในนาม, ผู้เริ่มก่อการรับผิดค่าเสียหายเฉพาะช่วงก่อนจดทะเบียนนิติบุคคล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้วแม้โจทก์ที่2จะมิได้ฟ้องจำเลยที่1และที่2ทันทีหลังจากที่จำเลยที่1จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตามก็หาทำให้โจทก์ที่2เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่1และที่2ไปไม่การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยที่1และที่2จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ที่2จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียลเต็ลแล็ปปิดารี่จำกัดและมีชื่อภาษาอังกฤษว่าORIENTALCAPIDARYCOMPANYLIMITEDส่วนจำเลยที่1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2530โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่จำกัดมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่าORIENTALGEMESLAPIDARYCOMPANYLIMITEDแม้ชื่อของโจทก์ที่2มีสองคำส่วนชื่อของจำเลยที่1มีสามคำก็ตามแต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่2และจำเลยที่1เป็นคำเดียวกันคือคำว่า"โอเรียนเต็ล"และ"ORIENTAL"ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่2กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่1นั้นแม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่2สะกดว่า"แล็ปปิดารี่"ส่วนของจำเลยที่1สะกดคำว่า"แล็ปปิดารี่"ก็ตามแต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ"LAPIDARY"ชื่อของโจทก์ที่2และจำเลยที่1คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่1มีคำว่า"เจมส์"อยู่ตรงกลางโดยชื่อของโจทก์ที่2ไม่มีคำกล่าวเท่านั้นบุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่2และชื่อของจำเลยที่1ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกันโจทก์ที่2และจำเลยที่1ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกันทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกันโดยจำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่2เป็นเวลาถึง10ปีการกระทำของจำเลยที่1โดยจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่2ซึ่งจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420และจำเลยที่2ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่2ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่ง แม้โจทก์ที่2นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่2จากการที่จำเลยที่1ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่2เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่2ได้ตามที่เห็นสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1115วรรคหนึ่งค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มก่อกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียหมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วหรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วอันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้นเมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้วบริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ประกอบด้วยมาตรา420ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนบริษัทที่มีชื่อคล้ายคลึงกัน การละเมิดสิทธิในนาม และความรับผิดของผู้ก่อการ
ป.พ.พ. มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติบังคับให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนหรือร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อในทันทีที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของชื่อบริษัทที่พ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วหรือตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนไว้แล้ว แม้โจทก์ที่ 2 จะมิได้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทันทีหลังจากที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เสียสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปไม่ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อพ.ศ.2520 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ล แล็ปปิดารี่ จำกัด และมีชื่อภาษีอังกฤษว่า ORIENTAL CAPIDARY COMPANY LIMITED ส่วนจำเลยที่ 1จดทะเบียนนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด เมื่อ พ.ศ.2530 โดยใช้ชื่อว่าบริษัทโอเรียนเต็ลเจมส์แลปิดารี่ จำกัด มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า ORIENTAL GEMESLAPIDARY COMPANY LIMITED แม้ชื่อของโจทก์ที่ 2 มีสองคำ ส่วนชื่อของจำเลยที่ 1 มีสามคำก็ตาม แต่ชื่อคำแรกของโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 เป็นคำคำเดียวกันคือ คำว่า "โอเรียนเต็ล" และ "ORIENTAL" ส่วนคำท้ายของชื่อโจทก์ที่ 2 กับคำท้ายของชื่อจำเลยที่ 1 นั้น แม้ในภาษาไทยจะสะกดต่างกันของโจทก์ที่ 2 สะกดว่า " แล็ปปิดารี่" ส่วนของจำเลยที่ 1 สะกดคำว่า"แลปิดารี่" ก็ตาม แต่คำทั้งสองก็เขียนและอ่านออกเสียงคล้ายคลึงกันมากทั้งในภาษาอังกฤษก็สะกดด้วยคำเดียวกันคือ "LAPIDARY" ชื่อของโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 คงมีชื่อแตกต่างกันเพียงว่าชื่อของจำเลยที่ 1 มีคำว่า "เจมส์"อยู่ตรงกลาง โดยชื่อของโจทก์ที่ 2 ไม่มีคำดังกล่าวเท่านั้น บุคคลทั่วไปเมื่อเห็นชื่อของโจทก์ที่ 2 และชื่อของจำเลยที่ 1 ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศย่อมเห็นได้ว่าชื่อดังกล่าวคล้ายกัน โจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นนิติบุคคลประเภทเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้าเช่นเดียวกัน ทั้งต่างก็มีสถานประกอบการในกรุงเทพมหานครด้วยกัน โดยจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประกอบการค้าหลังจากโจทก์ที่ 2 เป็นเวลาถึง 10 ปี การกระทำของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการจึงเป็นการเลียนแบบชื่อของโจทก์ที่ 2ให้คล้ายคลึงกันจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ เป็นการละเมิดต่อสิทธิในนามของโจทก์ที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 และจำเลยที่ 2 ผู้เริ่มก่อการของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 2 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์ที่ 2 นำสืบไม่ได้แน่ชัดว่าความเสียหายของโจทก์ที่ 2จากการที่จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อคล้ายกับชื่อของโจทก์ที่ 2 เป็นจำนวนแน่นอนเพียงใดศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 ได้ตามที่เห็นสมควร
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1115 วรรคหนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เริ่มกิจการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หมายความเฉพาะค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บริษัทแรกที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว หรือได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้ว อันเนื่องมาจากการที่มีการตั้งชื่อบริษัทแล้วในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับหลังพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ในช่วงระยะเวลาระหว่างที่มีการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทแล้วดังกล่าวจนถึงเวลาที่ได้จดทะเบียนให้บริษัทหลังนั้นเป็นนิติบุคคลเท่านั้นส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อไปจากการใช้ชื่อพ้องหรือคล้ายคลึงกับชื่อของบริษัทแรกภายหลังจากที่บริษัทหลังได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนั้น เมื่อบริษัทหลังมีฐานะเป็นนิติบุคคลแล้ว บริษัทนั้นก็ย่อมเป็นผู้ที่จะต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในการละเมิดต่อสิทธิในนามของบริษัทแรกตามป.พ.พ.มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 420 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่การขายฝาก, การครอบครองที่ดินร่วม, และขอบเขตการละเมิดสิทธิของเจ้าของร่วม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่1กับส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยที่1ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนดและมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของส. แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่1ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากจำเลยที่1เป็นเจ้าของร่วมกันส. ส่วนของส. ตกเป็นของโจทก์ที่2จำเลยที่1กับโจทก์ที่2เป็นเจ้าของร่วมกันถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดจำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่2หรือจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมที่ดินหลังไถ่การขายฝาก - การฟ้องขับไล่ทำได้เมื่อมีการแบ่งแยกส่วนสัด
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองรับซื้อฝากมาจากจำเลยที่ 1 กับ ส. เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากในกำหนด และมีสิทธิที่จะจดทะเบียนให้เป็นที่ดินของตนตามเดิมส่วนที่ดินที่เป็นของ ส.แม้ศาลจะยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ใช้สิทธิขอไถ่การขายฝากแต่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกับ ส. ส่วนของ ส.ตกเป็นของโจทก์ที่ 2 จำเลยที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 เป็นเจ้าของร่วมกัน ถือว่ามีสิทธิอยู่ทุกส่วนของที่ดินจนกว่าจะแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด จำเลยทั้งสองอาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าว ย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จนกว่าจะแบ่งแยกว่าส่วนใดเป็นของโจทก์ที่ 2 หรือจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันที แม้จะชำระภายหลัง
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่15ของเดือนช่วง3เดือนแรกคือเดือนธันวาคม2536เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์2537เดือนละ10,000บาทตั้งแต่เดือนมีนาคม2537เป็นต้นไปเดือนละ15,000บาทจนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่15ธันวาคม2536ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่20มกราคม2537เป็นเงิน5,000บาทและในวันที่24มกราคม2537อีก5,000บาทเป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อธ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรสในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วยและถ้าเป็นของธ.จริงก็เป็นเรื่องของธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์ ที่จำเลยยื่นคำร้องว่าระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้นปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกาทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา302วรรคแรกจำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมความ ศาลมีอำนาจบังคับคดีได้ แม้ชำระหนี้ภายหลัง
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้กำหนดวันและจำนวนหนี้ที่ต้องชำระไว้แน่นอนเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดถือว่าจำเลยผิดนัดไม่ปฎิบัติให้ถูกต้องตามคำพิพากษาโจทก์มีอำนาจที่จะบังคับคดีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยได้ทันทีแม้ว่าหลังผิดนัดไม่กี่วันจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์และงวดต่อไปก็ชำระให้โจทก์ตรงตามคำพิพากษาก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดียึดทรัพย์ขายทอดตลาดได้ถ้าทรัพย์ที่ยึดเป็นของธ. ก็เป็นเรื่องของธ. ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่มิใช่เป็นเรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม ศาลมีสิทธิบังคับคดี และประเด็นการยึดทรัพย์สินสมรส
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งจำเลยตกลงจะผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนทุกวันที่ 15 ของเดือน ช่วง 3 เดือนแรก คือเดือนธันวาคม 2536 เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2537 เดือนละ 10,000บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2537 เป็นต้นไปเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าจะครบจำเลยชำระหนี้เดือนแรกในวันที่ 15 ธันวาคม 2536 ในเดือนต่อไปจำเลยชำระในวันที่ 20 มกราคม 2537 เป็นเงิน 5,000 บาท และในวันที่ 24 มกราคม2537 อีก 5,000 บาท เป็นการไม่ชำระหนี้ภายในกำหนด ถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีในยอดเงินที่จำเลยค้างชำระพร้อมดอกเบี้ย
แม้ที่ดินที่ถูกยึดจะมีชื่อ ธ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ในรายงานการยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นสินสมรส ในชั้นนี้จึงไม่แน่นอนว่าจำเลยจะไม่มีส่วนร่วมอยู่ด้วย และถ้าเป็นของ ธ.จริง ก็เป็นเรื่องของ ธ.ผู้ได้รับความเสียหายที่จะดำเนินการตามสิทธิของตนที่มีอยู่ มิใช่เรื่องของจำเลยที่จะมาร้องขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์
ที่จำเลยยื่นคำร้องว่า ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหน้าที่ต้องถอนการยึดทรัพย์นั้น ปัญหานี้เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจำเลยยื่นฎีกา ทั้งเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302วรรคแรก จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรงมิได้
of 71