พบผลลัพธ์ทั้งหมด 706 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก & สิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม: กรณีผู้จัดการมรดกถูกพิพากษาจำคุก & มูลนิธิจัดตั้งตามพินัยกรรม
การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้นนอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกนอกจากนี้ยังปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวแล้วจำเลยมิได้ดำเนินการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2),1729 และ 1732 อีกด้วย และที่จำเลยอ้างว่าระหว่างที่รับโทษจำเลยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้นั้นก็ขัดต่อมาตรา 1723 ที่ต้องการให้ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเอง ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นประจักษ์ว่าจำเลยเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดี การสืบพยาน และการวินิจฉัยข้อพิพาทเรื่องลายมือชื่อปลอม ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในวันชี้สองสถาน คู่ความแถลงสละข้อต่อสู้อื่น ๆ คงเหลือประเด็นว่าสัญญากู้ตามฟ้องปลอมหรือไม่ แม้จะจดรายงานกระบวนพิจารณาไว้ด้วยว่าคู่ความตกลงท้ากันว่าหากศาลวินิจฉัยฟังว่าลายมือชื่อผู้กู้ปลอมโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่ปลอม จำเลยเป็นฝ่ายแพ้ ก็ไม่ใช่การท้ากันให้ศาลตัดสินคดีไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยคดีไปตามพยานหลักฐาน ฉะนั้น แม้ก่อนสืบพยานทั้งโจทก์และจำเลยต่างขอให้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารที่มีลายมือชื่อของผู้กู้ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของผู้กู้ในสัญญากู้นั้นปลอมหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้ตกลงท้ากันโดยหากผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้นดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์เสร็จแล้วส่งรายงานการ ตรวจพิสูจน์กลับคืนมาศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปให้เสร็จสิ้นกระบวนความ แล้วจึงพิพากษาคดีนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีพอวินิจฉัยได้แล้วและให้นัดฟังคำพิพากษาหลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ตรวจพิสูจน์เอกสารและส่งรายงานการตรวจพิสูจน์โดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้สืบพยานโจทก์จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นเช่นนั้นแล้ว แม้โจทก์มิได้คัดค้านคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานโจทก์และจำเลยต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) และ(2) ศาลอุทธรณ์ไม่อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปลอมแปลงเงินตราต่างประเทศ: ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษตามกระทงความผิดได้
ป.อ.มาตรา 248 ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานปลอมเงินตราตามมาตรา 240 หรือผู้กระทำความผิดฐานแปลงเงินตราตามมาตรา 241 หรือผู้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 ซึ่งได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 ลักษณะ 7 อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 แต่กระทงเดียวดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 244,246 และมาตรา 247 นั้น เป็นการพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมกระทงหนึ่ง และฐานมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการปลอมเงินตราดังกล่าวอีกกระทงหนึ่ง โดยศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่าง-ประเทศตามมาตรา 247 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 248 ที่จะต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 247 แต่กระทงเดียว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปลอมเงินตราต่างประเทศ: การพิจารณาความผิดกระทงเดียวตามมาตรา 248
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 248 ให้ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานปลอมเงินตราตามมาตรา 240 หรือผู้กระทำความผิดฐานแปลงเงินตราตามมาตรา 241 หรือผู้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 ซึ่งได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวด 1 ลักษณะ 7 อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 แต่กระทงเดียว ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244,246 และมาตรา 247 นั้น เป็นการพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอมของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมกระทงหนึ่ง และฐานมีเครื่องมือหรือวัตถุสำหรับปลอมเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในการปลอมเงินตราดังกล่าวอีกกระทงหนึ่ง โดยศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดฐานปลอมหรือแปลงเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 247 กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 248 ที่จะต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 247 แต่กระทงเดียว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และผลกระทบต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินเพียงพอ
วันออกเช็คตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯคือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้ หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้กู้ยืมที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย และผลต่อความผิดฐานออกเช็คโดยไม่มีเงินในบัญชี
วันออกเช็คตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ คือวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่ หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 อันเป็นตราสารที่โจทก์อ้างเป็นพยานได้ปิดอากรแสตมป์แล้วแต่ไม่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ จึงต้องถือว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 เมื่อหนี้เงินกู้ยืมระหว่างจำเลยและโจทก์มีจำนวนมากกว่าห้าสิบบาทและฟังไม่ได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้กู้เช่นนี้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คฉบับพิพาทมอบให้ผู้เสียหาย แม้จำเลยเป็นหนี้เงินกู้ตามจำนวนเงินตามเช็คดังกล่าวแก่ผู้เสียหายอยู่และออกเช็คนั้นชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่เมื่อหนี้นั้นไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยย่อมขาดองค์ประกอบความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองและการฟ้องคดีเรียกคืนที่ดิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสองมีความหมายว่า คดีจะขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาทต่อเมื่อมีการแย่งการครอบครองเสียก่อน การที่จำเลยขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทแต่ไม่เคยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาท แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลย ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เกินหนึ่งปีคดีก็ไม่ขาดสิทธิฟ้องเรียกคืนที่ดินพิพาท คดีก่อนศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญในคดีที่ว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คดีนี้โจทก์ฟ้องเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยชอบ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการและการปฏิเสธการบังคับตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่งซึ่งศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เหตุใดเหตุหนึ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นเลยว่า มีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ – สัญญาซื้อขายฝ้าย – วันผิดสัญญา – ความสงบเรียบร้อย/ศีลธรรมอันดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501(ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นว่ามีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าว ตามมาตรา 34แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ่ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ่ายดังกล่าวในวันที่ 28ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141 ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎข้อ 141ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2535โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรก แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่ คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ่ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ่ายดังกล่าวในวันที่ 28ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141 ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎข้อ 141ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใด เพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2535โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรก แล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่ คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จก่อนถูกกล่าวหา: การแจ้งข้อความเท็จต่อพนักงานสอบสวนก่อนการถูกสอบสวนในความผิดอื่น ไม่ถือเป็นการให้การเท็จ
จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า"ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตามแต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่า พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),78,157,160 วรรคหนึ่ง และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137