คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัครวิทย์ สุมาวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 706 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิเรียกร้องช่วง เมื่อทายาทชำระหนี้จำนองเพื่อรักษาสิทธิในทรัพย์มรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ม.ระหว่างโจทก์เป็นทายาทของ ม. โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจำต้องไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแทนจำเลยทั้งสอง จึงขอให้จำเลยทั้งสองชำระเงินคืนโจทก์ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของการรับช่วงสิทธิ คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว โดยโจทก์ไม่ต้องบรรยายว่าเงินที่นำไปไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทเป็นเงินของใคร เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับธนาคาร ก.ไม่มีการเพิกถอน คงเพิกถอนเฉพาะการยกให้และการซื้อขายที่ดินพิพาทเท่านั้นและตามสัญญาจำนองมีความว่า ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแปลงดังกล่าวข้างต้นทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้การกู้เบิกเงินเกินบัญชีและหรือหนี้สินอื่น ๆทุกประเภทของจำเลยที่ 2 และหรือของผู้จำนองทั้งที่มีอยู่แล้วในขณะนี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้าอันจะพึงมีต่อธนาคาร ก.เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท จากข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นลักษณะที่จำเลยที่ 1 จำนองทรัพย์สินของตนไว้เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 709
เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพิพาทไม่มีการเพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นสัญญาจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ม.จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ม.เพราะอาจถูกธนาคาร ก.ผู้รับจำนองบังคับยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยทั้งสองจนเป็นที่พอใจของธนาคาร ก.เจ้าหนี้โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าที่โจทก์ชำระหนี้แก่ธนาคารดังกล่าวไปนั้นเป็นการขืนใจลูกหนี้ก็ตาม ในเมื่อโจทก์เป็นบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยทั้งสองไม่ยอมไถ่ถอนจำนอง และหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสอง ซึ่งโจทก์ก็ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเองเมื่อหนี้เดิมธนาคาร ก.ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 189 เดิม(193/27 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องจากสัญญาจำนอง: ทายาทผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยได้
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์มีส่วนได้เสียในที่ดิน กับเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ม. เจ้ามรดกจำต้องชดใช้หนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินแทนจำเลยซึ่งเป็นผู้จำนอง เพื่อปัดป้องมิให้สิทธิของโจทก์ในที่ดินต้องถูกกระทบกระเทือน จะต้องเสี่ยงภัยเสียสิทธิในที่ดินเพราะอาจถูกผู้รับจำนองบังคับยึดออกขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงใช้หนี้ตามสัญญาจำนองแทนจำเลยจนเป็นที่พอใจของผู้รับจำนอง โดยได้มีการไถ่ถอนจำนองแล้วย่อมเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้บังคับเอาแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 230 หาใช่เรื่องจัดการงานนอกสั่งหรือลาภมิควรได้ไม่ แม้เป็นการขืนใจลูกหนี้ แต่เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้นั้นอันเนื่องจากจำเลยไม่ยอมไถ่ถอนจำนองและหากไม่มีการไถ่ถอนจำนองโจทก์ก็ย่อมเสียสิทธิในที่ดินไปโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากผู้รับจำนองมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยผู้จำนอง ชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ได้ในนามของตนเอง เมื่อหนี้เดิมผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองแม้หนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 189 เดิม ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินส.ค.1 ก่อนเสียชีวิต: ที่ดินไม่ใช่ทรัพย์มรดก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า บ.ได้ยกที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินส.ค.1 ให้แก่บุตรทั้งห้าคนของตนโดยได้สละการครอบครองที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทดังกล่าวให้บุตรทั้งห้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันตั้งแต่ปี 2500 จนกระทั่ง บ.ถึงแก่กรรมเมื่อปี 2525 ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของ บ.อีกต่อไปดังนั้นเมื่อ บ.ถึงแก่ความตาย ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ บ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ บ.และให้จำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ บ.เพื่อโจทก์จะได้นำที่ดินพิพาทไปแบ่งปันให้แก่ทายาทของ บ.ต่อไป และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องในกรณีเช่นนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทนไม่ใช่ผู้ขนส่ง
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล: ตัวแทนของผู้ขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทน vs ผู้รับมอบหมาย
"ผู้ขนส่งอื่น" ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์: กรณีสุดวิสัย
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถ-จักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4187/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของบุตรผู้เยาว์ กรณีสุดวิสัยและไม่ได้รู้เห็น
จำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาจำเลยที่ 1 ไม่เคยทราบมาก่อน ว่าจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ อายุ 17 ปี ขับรถจักรยานยนต์ได้ ทั้ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ต่างอำเภอกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ของเพื่อนจำเลยที่ 1 ชนโจทก์โดยละเมิดทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3มิได้รู้เห็นด้วย และไม่มีโอกาสห้ามปรามจำเลยที่ 1 มิให้ขับรถจักรยานยนต์เช่นนั้น จึงเป็นการสุดวิสัยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3จะใช้ความระมัดระวังมิให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์ในวันเกิดเหตุได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4175/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนและการแจ้งข้อหา, ความผิดฐานล่วงละเมิดความปกครองผู้เยาว์, ความประสงค์ในการอยู่กินฉันสามีภริยา
ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 134 พนักงานสอบสวนอาจทำการสอบสวนได้เมื่อผู้ต้องหามาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนในหลายกรณีด้วยกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีการจับตัวผู้ต้องหามามอบให้และทำบันทึกการจับกุมแต่อย่างใด การที่ร้อยตำรวจเอก ส.เบิกความว่าได้จับจำเลยนั้น แม้จะมิใช่การจับในความหมายตามป.วิ.อ.แต่เป็นเรื่องนำตัวจำเลยและผู้เยาว์ไปพบกับพนักงานสอบสวนในฐานะที่ ส.เป็นผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยไว้พร้อมกับแจ้งข้อหาแก่จำเลยและบันทึกคำให้การของจำเลยไว้ จึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยถูกจับกุมโดยเจ้าพนักงานก็เป็นฟ้องที่อาจรับไว้พิจารณาได้อยู่แล้ว ดังนั้น คำเบิกความของ ส.ที่ว่าไม่มีการจับกุมจำเลยเพราะจำเลยกับผู้เยาว์และผู้ปกครองผู้ดูแลผู้เยาว์มาอยู่ต่อหน้าพยานเอง แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายในฟ้องก็มิใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญ และไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้อันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสอง
จำเลยได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ในวันเกิดเหตุจริง แม้ผู้เยาว์ยินยอมก็มีผลแต่เพียงว่า จำเลยไม่มีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราหรือกระทำอนาจารแก่ผู้เยาว์เท่านั้น แต่การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปที่ห้องพักของพี่ชายจำเลยและได้ร่วมประเวณีกับผู้เยาว์ มิใช่เป็นไปในลักษณะที่มีความประสงค์จะอยู่กินกันฉันสามีภริยา นอกจากนี้ก่อนวันเกิดเหตุจำเลยกับผู้เยาว์ร่วมประเวณีกันที่โรงแรม และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันในที่อื่น ๆ อีกหลายครั้งโดยที่จำเลยยังไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง ครั้นถึงวันนัดจะนำสินสอดมาสู่ขอผู้เยาว์จำเลยก็หลบเลี่ยง แสดงว่าจำเลยมิได้มีความประสงค์จะอยู่กินกับผู้เยาว์ฉันสามีภริยา การที่จำเลยพาผู้เยาว์ไปในที่ต่าง ๆ และร่วมประเวณีกับผู้เยาว์โดยที่ขณะเกิดเหตุผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแล เป็นการล่วงละเมิดความปกครองของผู้ปกครองผู้ดูแลอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี: การต่ออายุโดยปริยาย การสิ้นสุดสัญญา และการคิดดอกเบี้ย
เมื่อครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 1 ขอต่ออายุสัญญาอีก แม้โจทก์ไม่สนองรับแต่ก็ยอมให้มีการเดินสะพัดในบัญชีกระแสรายวันต่อไป การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับยอมให้ต่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี สัญญาดังกล่าวจึงมีผลบังคับ เมื่อครบกำหนดสัญญาก็ยังคงมีการเดินสะพัดในบัญชีต่อไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการต่อสัญญาเป็นหนังสือ ถือได้ว่ามีการตกลงให้มีการเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปคราวละ 6 เดือน ก่อนครบกำหนดอายุสัญญาครั้งสุดท้ายวันที่ 13 กรกฎาคม 2531 ปรากฏว่ามีการถอนเงินและการนำเงินเข้าบัญชีถึงวันที่ 7 เมษายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการถอนเงินจากบัญชีอีก จึงถือว่าคู่สัญญาไม่มีเจตนาที่จะเดินสะพัดในบัญชีต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นกำหนดต่ออายุสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญา ต่อจากนั้นคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
of 71