พบผลลัพธ์ทั้งหมด 706 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์: การยกข้อใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น และประเด็นอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้เงินต้นค่าสินค้าที่สั่งซื้อจากโจทก์พร้อมดอกเบี้ยและค่าบริการสินเชื่อ ค่าทวงถามหนี้ และค่าดำเนินการอื่น ๆ คิดถึงวันฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าไม่เคยติดต่อค้าขาย มิได้เป็นหนี้ตามฟ้อง ไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์โดยจำเลยทั้งสามมิได้ให้การต่อสู้เลยว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องให้แก่โจทก์แล้ว การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้ค่าท่อระบายน้ำของโจทก์พร้อมดอกเบี้ยนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นได้ฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยทั้งสามได้ซื้อสินค้าตามฟ้องไปจากโจทก์และค้างชำระค่าสินค้าให้แก่โจทก์ ดังนี้ ที่จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสามได้ชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสามไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหาดังกล่าวก็ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อดังกล่าวของจำเลยทั้งสามนั้นจึงชอบแล้ว
จำเลยทั้งสามได้ให้การไว้เพียงว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม ส.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสามกลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีมูลหนี้ค่าซื้อขายท่อระบายน้ำต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 อีกเช่นกัน
จำเลยทั้งสามได้ให้การไว้เพียงว่า โจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ส.ฟ้องคดีแทน หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม ส.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ แต่จำเลยทั้งสามกลับอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีมูลหนี้ค่าซื้อขายท่อระบายน้ำต่อกันระหว่างโจทก์และจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 225 อีกเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาผิดนัดชำระค่าปรับ: การกำหนดวันเริ่มต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา 15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1 ธันวาคม 2535 และครบกำหนด 15 วัน ในวันที่ 15 ธันวาคม 2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน 15 ธันวาคม 2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระค่าปรับตามหนังสือแจ้งหนี้ การเริ่มนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน15วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้นโดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่30พฤศจิกายน2535ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/1การนับระยะเวลา15วันในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา193/3วรรคสองซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใดจึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่30พฤศจิกายน2535นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยการนับระยะเวลา15วันตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่1ธันวาคม2535และครบกำหนด15วันในวันที่15ธันวาคม2535จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายใน15ธันวาคม2535เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีตามมาตรา224แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตั้งแต่วันที่16ธันวาคม2535เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาชำระหนี้ตามหนังสือแจ้งหนี้ และผลของการผิดนัดชำระ
จำเลยต้องรับผิดชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยนำเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวมาชำระให้แก่โจทก์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือนั้น โดยจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน2535 ถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์แจ้งจำเลยเช่นนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 193/1การนับระยะเวลา 15 วัน ในกรณีนี้จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน เว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันที่ 30พฤศจิกายน 2535 นั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย การนับระยะเวลา15 วัน ตามหนังสือดังกล่าวจึงต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม2535 และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จำเลยจึงต้องชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าปรับให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามมาตรา 224 แห่งป.พ.พ.ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาผิดนัดชำระค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย การกำหนดวันเริ่มต้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยต้องชำระค่าปรับตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยนำมาชำระภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยจำเลยได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันเป็นการกระทำฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นนิติกรรมกำหนดการนับระยะเวลาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/1 จึงต้องนับตามมาตรา 193/3 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือตั้งแต่เวลาใด จึงถือไม่ได้ว่าได้เริ่มการอะไรในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณีต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วย ต้องเริ่มนับ 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 ธันวาคม 2535 ตามมาตรา 193/3 วรรคสาม และครบกำหนด 15 วันในวันที่ 15 ธันวาคม 2535 เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2535 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา การบอกล้างสัญญา และเบี้ยปรับ
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: การข่มขู่, มัดจำ, และการบอกล้างสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกัน แล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์ เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขาย ยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัด แต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการ เช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ ไม่เป็นโมฆียะ
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาท ข้อ 2 ระบุว่า "ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน 389,000 บาท ผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว" จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อไม่ได้วางมัดจำเงินจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้น เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน 389,000 บาท และจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว
แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์ อันเป็นวันหยุดราชการ ไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วย ดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้ทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ต่อไป เมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการบังคับตามสัญญา
ก่อนโจทก์จำเลยทำสัญญากันได้มีการโต้เถียงกันแล้วโจทก์เดินขึ้นไปบนบ้านของโจทก์เมื่อโจทก์กลับลงมากระเป๋ากางเกงของโจทก์มีสิ่งของซึ่งไม่ทราบว่าเป็นอะไรตุงอยู่เท่านั้นโดยโจทก์ไม่ได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการข่มขู่ให้จำเลยทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายยิ่งกว่านั้นในวันที่กำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์จำเลยไปรอโจทก์ที่สำนักงานที่ดินตามนัดแต่ไม่พบโจทก์เพราะเป็นวันหยุดราชการเช่นนี้ฟังได้ว่าจำเลยมิได้ถูกโจทก์ข่มขู่ให้ทำหนังสือสัญญาซื้อขายสัญญาดังกล่าวจึงสมบูรณ์ไม่เป็นโมฆียะ สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทข้อ2ระบุว่า"ในการจะซื้อขายนี้ผู้จะซื้อได้วางมัดจำให้ผู้จะขายไว้แล้วเป็นเงิน389,000บาทผู้จะขายได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว"จำเลยจึงไม่อาจนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนดังกล่าวและจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายไม่ได้รับเงินมัดจำนั้นเพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคหนึ่ง(ข)ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าโจทก์ผู้จะซื้อได้วางมัดจำเงินจำนวน389,000บาทและจำเลยผู้จะขายได้รับเงินมัดจำนั้นไว้แล้ว แม้วันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นวันเสาร์อันเป็นวันหยุดราชการไม่อาจจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันได้ก็ตามแต่กรณีดังกล่าวก็ไม่ใช่กรณีที่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/8ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาในกรณีที่วันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการอีกด้วยดังนั้นการที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ต่อไปเมื่อต่อมาจำเลยมีหนังสือบอกล้างสัญญาดังกล่าวไปยังโจทก์ซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แล้วจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบข้อเท็จจริงก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่1มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่1ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อมีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าการตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่2พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่1ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้วเพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่1แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่1ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่2ในที่ดินที่ซื้อแล้วแม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา461และ462และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา475แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่2อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักรเครื่องชั่งและค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา476 จำเลยที่2รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุขย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่1ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคารเครื่องจักรและเครื่องชั่งของจำเลยที่2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่1ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่1โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดินจำเลยที่2จึงไม่อาจอ้างสิทธิใดๆที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่2รื้อถอนไปภายใน15วันและจำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่26พฤษภาคม2533จำเลยที่2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่27พฤษภาคม2533เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น การรับผิดของผู้ขายและสิทธิของผู้ซื้อ
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อตาม ป.พ.พ.มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476
จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไป พร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2 ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไป พร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ