พบผลลัพธ์ทั้งหมด 706 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2008/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินที่มีสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น ผู้ซื้อทราบสิทธิของผู้อื่นก่อนทำสัญญา ผู้ขายไม่ต้องรับผิด
หนังสือที่จำเลยที่ 1 มีไปถึงโจทก์แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ตกลงขายที่ดินและอาคารให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์เสนอขอซื้อ มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่า การตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้รวมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสำนักงานของจำเลยที่ 2 พร้อมกับเครื่องจักรและเครื่องชั่งซึ่งปรากฏในแผนที่สังเขปตามที่จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์ก็ยังตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ทราบถึงการรบกวนขัดสิทธิของจำเลยที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อแล้ว แม้ว่าผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อขายให้อยู่ในเงื้อมือของผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 461 และ 462 และผู้ขายต้องรับผิดในกรณีที่มีผู้มาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์สินโดยปกติสุขตามมาตรา 475 แต่ในกรณีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อทราบอยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดในการรื้อถอนและขนย้ายเครื่องจักร เครื่องชั่ง และค่าเสียหายแก่โจทก์ตามมาตรา 476 จำเลยที่ 2 รบกวนสิทธิของโจทก์ในการเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ซื้อมาโดยปกติสุข ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแม้จำเลยที่ 1 ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตามแต่เมื่ออาคาร เครื่องจักร และเครื่องชั่งของจำเลยที่ 2ซึ่งได้จำนองไว้แก่จำเลยที่ 1 ตั้งอยู่ในที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนสิทธิเหนือพื้นดิน จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะคงอยู่บนที่ดินของโจทก์ เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 รื้อถอนไปภายใน 15 วัน และจำเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้วในวันที่ 26 พฤษภาคม 2533 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นไปพร้อมดอกเบี้ยของค่าเสียหายในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224นับแต่ผิดนัดแต่ละเดือนไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องใช้ดุลพินิจให้เหมาะสมและเป็นธรรม หากราคาต่ำกว่าราคาประเมินมากอาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสนอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้ การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1 หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซึ่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา 1,900,000 บาท นั้นต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้ง>แรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาทเจ้าพนักงานบังคับยังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ต้องเป็นธรรมและคำนึงถึงราคาประเมินทรัพย์
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียว แต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วย เนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมาก ถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้น ต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่ มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสมอไป หากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้
การขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ.ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 ลักษณะ 1หมวด 4 ส่วนที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุด จึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่ 132 ตารางวา มีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน 6,600,000 บาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซี่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000 บาทนั้น ต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมาก นอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้งแรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง 2,800,000 บาท เจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไป เห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดต้องใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงราคาประเมินและราคาตลาด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันความเสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
ตามคำร้องของจำเลยไม่เพียงแต่อ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้ราคาต่ำอย่างเดียวแต่ยังได้บรรยายถึงการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้องด้วยเนื่องจากได้ราคาต่ำกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานฝ่ายประเมินราคาทรัพย์สำนักงานวางทรัพย์กลางกรมบังคับคดีและราคาประเมินในช่วงเวลาที่มีการขายทรัพย์นั้นมากถือได้ว่าคำร้องของจำเลยได้คัดค้านว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีได้รับความเสียหายแล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงการใช้ดุลพินิจในการดำเนินการขายทอดตลาดว่าเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่มิใช่ว่าถ้าไม่มีกฎหมายห้ามแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจที่จะตกลงขายเสนอไปหากได้กระทำไปเป็นที่เสียหายแก่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีอย่างเห็นได้ชัดก็อาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบได้ การขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ในบรรพ3ลักษณะ1หมวด4ส่วนที่3มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเพื่อให้ได้ราคาสูงที่สุดแก่เจ้าของทรัพย์ที่ขายทอดตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานของศาลจะต้องมีหน้าที่ระวังผลประโยชน์แก่คู่ความหรือผู้มีส่วนได้เสียในคดีให้มากที่สุดจึงจะถือได้ว่าปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลได้ความว่าที่ดินพิพาทซึ่งมีเนื้อที่132ตารางวามีราคาประเมินที่กรมที่ดินกำหนดไว้เป็นเงิน6,600,000บาทและเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้รับทราบราคาประเมินของกรมที่ดินดังกล่าวก่อนที่จะขายทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ดังนี้การใช้ดุลพินิจในการตกลงขายทรัพย์พิพาทซึ่งมีทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในราคา1,900,000บาทนั้นต่ำกว่าราคาประเมินเป็นอันมากนอกจากนี้ในการดำเนินการขายทอดตลาดครั้ง>แรกซึ่งมีผู้เสนอราคาสูงสุดถึง2,800,000บาทเจ้าพนักงานบังคับยังไม่ขายอ้างว่าราคาต่ำไปเห็นได้ชัดว่าจำเลยย่อมได้รับความเสียหายเป็นการดำเนินการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาลงทุนร่วมผลิตน้ำผลไม้ การคืนทรัพย์สิน และการคุ้มครองชื่อทางการค้า
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุนเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่1ตามที่ตกลงกันจำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทนและเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืนจำเลยปฏิเสธโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่างๆเมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับว. โจทก์อนุญาตให้ว. จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้วส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศโดยโจทก์ยอมให้ว. ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า"โตราย่า"ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า" ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลงทุน, การผิดสัญญา, ค่าเสียหายจากการใช้ชื่อทางการค้า, สิทธิในชื่อทางการค้า, การคืนทรัพย์สิน
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุนเมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามที่ตกลงกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน และเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืนจำเลยปฏิเสธ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้ จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2496 ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่าง ๆ เมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับ ว.โจทก์อนุญาตให้ว. จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศ โดยโจทก์ยอมให้ ว.ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า"โตราย่า" ของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1ระงับการใช้ชื่อ "โตราย่า" ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของนามทางการค้า: การคุ้มครองชื่อ 'โตราย่า' จากการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและการแสวงหาผลประโยชน์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามอันชอบที่จะใช้ได้ที่ต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่บุคคลอื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในอันที่จะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความเสียหายได้ถ้าและพึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปจะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้โจทก์ใช้ชื่อ"โตราย่า"มาตั้งแต่ปี2496แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่โจทก์ก็ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ใช้ชื่อ"โตราย่า"ของโจทก์โดยโจทก์ไม่อนุญาตจึงเป็นเจตนาแสวงหาผลประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่1เป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า"ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสิทธิในเครื่องจักรและชื่อทางการค้า: สัญญาลงทุน, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, การคุ้มครองชื่อทางการค้า
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุน เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามที่ตกลงกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทนและเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืน จำเลยปฏิเสธ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้ จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่าง ๆ เมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับ ว. โจทก์อนุญาตให้ ว.จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศ โดยโจทก์ยอมให้ ว.ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า "โตราย่า" ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน 4 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ระงับการใช้ชื่อ "โตราย่า" ของโจทก์ได้
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่าง ๆ เมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับ ว. โจทก์อนุญาตให้ ว.จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศ โดยโจทก์ยอมให้ ว.ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า "โตราย่า" ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน 4 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ระงับการใช้ชื่อ "โตราย่า" ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, หลักฐานการกู้ยืม, การชำระหนี้, ความถูกต้องของเอกสาร
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1144, 1158และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการมอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใดโดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย
เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็นพยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่าจำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นการนำสืบหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การมอบอำนาจ, และการพิสูจน์หนี้เงินกู้: การรับฟังพยานหลักฐานและการค้ำประกัน
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1144,1158 และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจ ให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นมาฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้ แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการ มอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใด โดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็น พยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาต คัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้ คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังพยานหลักฐานได้ ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์