คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมาน เวทวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และสิทธิในการโต้แย้งคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านขอนำพยานหลักฐานมาให้ผู้คัดค้านสอบสวนประกอบคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ได้ยื่นไว้เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นการตรวจคำขอรับชำระหนี้ ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจสอบสวนคดีเรื่องหนี้สิน แล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้งดการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องและมีคำสั่งยกคำร้องที่ผู้ร้องขออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาให้ผู้คัดค้านสอบสวนใหม่ จึงเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น และยังไม่เป็นการแน่นอนว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ซึ่งแม้หากต่อมาปรากฏว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรอนุญาตหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเสียด้วยเหตุใดก็ตาม ลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่เพราะศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้ คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านในชั้นนี้เป็นคดีนี้ได้ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสั่งงดสอบพยานหลักฐานในชั้นตรวจคำขอรับชำระหนี้ ยังไม่ทำให้เกิดความเสียหาย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านขอนำพยานหลักฐานมาให้ผู้คัดค้านสอบสวนประกอบคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ได้ยื่นไว้เป็นเรื่องที่อยู่ในชั้นการตรวจคำขอรับชำระหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจสอบสวนคดีเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา105การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้งดการสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องและมีคำสั่งยกคำร้องที่ผู้ร้องขออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาให้ผู้คัดค้านสอบสวนใหม่จึงเป็นการกระทำในขั้นตอนของการสอบสวนตรวจคำขอรับชำระหนี้เท่านั้นและยังไม่เป็นการแน่นอนว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องซึ่งแม้หากต่อมาปรากฎว่าผู้คัดค้านจะทำความเห็นควรอนุญาตหรือให้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเสียด้วยเหตุใดก็ตามลำพังความเห็นของผู้คัดค้านก็หามีผลบังคับแต่อย่างใดไม่เพราะศาลอาจวินิจฉัยยกหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นได้คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการกระทำหรือคำวินิจฉัยที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งกลับคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านในชั้นนี้เป็นคดีได้ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลหลังเลิกห้าง: ภูมิลำเนาผู้ชำระบัญชีและสำนักงานเดิม
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่422 ซอยสันติสุข ถนนสุขุมวิท 71 แขวงคลองตัน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้ แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเลิกห้างเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2535 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 26พฤษภาคม 2535 การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2537 ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยขณะยื่นฟ้องผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ และจำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครพนม ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างและชำระบัญชีเสร็จแล้วถือว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประกอบกิจการต่อไป จึงถือเอาสำนักงานใหญ่เดิมเป็นภูมิลำเนาหรือที่ประกอบธุรกิจในขณะยื่นฟ้องมิได้ กรณีนี้จำเลยที่ 1 คงมีได้แต่เพียงภูมิลำเนาเฉพาะการ คือภูมิลำเนาของผู้ชำระบัญชีซึ่งปรากฏว่าอยู่นอกเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเลิกห้างและเสร็จการชำระบัญชีเกินกว่า 1 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายหลังเลิกห้าง – เขตอำนาจศาล – ภูมิลำเนาผู้ชำระบัญชี
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่422ซอยสันติสุขถนนสุขุมวิท71แขวงคลองตันเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้แต่ต่อมาจำเลยที่1ได้จดทะเบียนเลิกห้างเมื่อวันที่9มกราคม2535และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่26พฤษภาคม2535การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25พฤษภาคม2537ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยขณะยื่นฟ้องผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการและจำเลยที่2มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดนครพนมดังนี้เมื่อจำเลยที่1จดทะเบียนเลิกห้างและชำระบัญชีเสร็จแล้วถือว่าจำเลยที่1มิได้ประกอบกิจการต่อไปจึงถือเอาสำนักงานใหญ่เดิมเป็นภูมิลำเนาหรือที่ประกอบธุรกิจในขณะยื่นฟ้องมิได้กรณีนี้จำเลยที่1คงมีได้แต่เพียงภูมิลำเนาเฉพาะการคือภูมิลำเนาของผู้ชำระบัญชีซึ่งปรากฏว่าอยู่นอกเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ภายหลังจำเลยที่1จดทะเบียนเลิกห้างและเสร็จการชำระบัญชีเกินกว่า1ปีแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้รายหนึ่งไม่กระทบสิทธิลูกหนี้รายอื่น
ที่ดินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 9 ได้ขายทอดตลาดไปเป็นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องผูกพันที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนั้น ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดโดยสิ้นเชิงได้ การบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยคนใดคนหนึ่งจึงไม่เกี่ยวข้องแก่ลูกหนี้คนอื่นที่มิได้ถูกบังคับคดีด้วย การที่ผู้คัดค้านที่ 9ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ไปในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2เพื่อแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีนี้ จึงไม่ทำให้ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ต้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ 9ที่ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 8 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วม: การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้รายหนึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้ร่วมรายอื่นได้รับความเสียหาย
ที่ดินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่9ได้ขายทอดตลาดไปเป็นของจำเลยที่2แต่เพียงผู้เดียวถึงแม้ผู้ร้องและจำเลยที่2เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาซึ่งต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันก็ตามก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องและจำเลยที่2ต่างต้องผูกพันที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนั้นซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดโดยสิ้นเชิงได้การบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยคนใดคนหนึ่งจึงไม่เกี่ยวข้องแก่ลูกหนี้คนอื่นที่มิได้ถูกบังคับคดีด้วยการที่ผู้คัดค้านที่9ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่2ไปในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่2เพื่อแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีนี้จึงไม่ทำให้ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่2ต้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่9ที่ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่2ให้แก่ผู้คัดค้านที่1ถึงที่7และที่8ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมถูกบังคับคดี การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้รายหนึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้อีกรายเสียหาย จึงไม่มีสิทธิเพิกถอน
ที่ดินที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 9ได้ขายทอดตลาดไปเป็นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวถึงแม้ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาในคดีอื่น ก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องผูกพันที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนั้น ดังนั้นการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยคนใดคนหนึ่งจึงไม่เกี่ยวข้องแก่ลูกหนี้คนอื่นที่มิได้ถูกบังคับคดีด้วย ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม: การบังคับคดีต่อทรัพย์สินของลูกหนี้รายหนึ่ง ไม่กระทบสิทธิลูกหนี้รายอื่น
ที่ดินทั้งสามรายการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดไปนั้นเป็นของจำเลยที่สองแต่ผู้เดียวแม้ผู้ร้องและจำเลยที่สองเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันก็เป็นเรื่องที่ผู้ร้องและจำเลยที่สองต่างต้องผูกพันที่ต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในคดีนั้นซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งทั้งหมดโดยสิ้นเชิงได้การบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยคนใดคนหนึ่งจึงไม่เกี่ยวข้องแก่ลูกหนี้คนอื่นที่มิได้ถูกบังคับคดีด้วยการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่2ไปในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่2เพื่อแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีนี้จึงไม่ทำให้ผู้ร้องซึ่งอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่2ได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่2ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและผลกระทบต่ออายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี2519ถึง2523ต่อโจทก์แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี2520ถึงปี2523รวม4ปีเพิ่มอีกเป็นเงิน237,842.08บาทการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่20ธันวาคม2525และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด.11)ไปให้จำเลยณถิ่นที่อยู่ของจำเลยโดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา8,18และ20ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วหากไม่มีการอุทธรณ์การประเมินเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ตรีต่อไปคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา27และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้างซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา12 การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่20ธันวาคม2525ว่าจำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2525แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526ซึ่งเป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด10ปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่20ธันวาคม2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่22พฤษภาคม2526เช่นกันซึ่งครบกำหนด10ปีในวันที่22พฤษภาคม2536ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่24พฤษภาคม2536ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.
of 99