คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมาน เวทวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกและแจ้งความเท็จ: จำเลยเข้าครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยมิชอบ ยื่นคำขอครอบครองเท็จ ทำให้เจ้าหน้าที่ออกเอกสารสิทธิที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยทราบดีว่าที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นที่เป็นของผู้เสียหายแต่อ้างว่าซื้อมาจากธ. ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของเป็นการกล่าวอ้างลอยๆไม่มีพยานสนับสนุนและมิได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างจริงจังอันเป็นการผิดปกติวิสัยและที่จำเลยอ้างว่าผู้เสียหายทิ้งร้างไว้ไม่ได้ทำประโยชน์จำเลยจึงเข้ายึดถือครอบครองทำนากุ้งนั้นก็ได้ความว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ถึง247ไร่เศษมีราคาประเมินถึง14ล้านบาทถ้าเป็นราคาซื้อขายทั่วๆไปจะตกราคาไร่ละ2ล้านที่ดินพิพาทจึงมีราคาซื้อขายเกือบ500ล้านบาทอันมิใช่เล็กน้อยมีถนนสุขุมวิทเข้าสู่ที่ดินพิพาทมีรั้วลวดหนามล้อม3ด้านด้านติดทะเลมีเขื่อนคอนกรีตภายในมีสำนักงานและอาคารเก็บรักษาทรัพย์เจ้าของทรัพย์เป็นรัฐบาลต่างประเทศให้สถานเอกอัครราชทูตของตนดูแลโดยสถานะของเจ้าของและสภาพของทรัพย์ดังกล่าวเพียงพอที่จะฟังได้ว่าผู้เสียหายยังครอบครองอยู่ไม่ได้ทิ้งร้างดังจำเลยอ้างพ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลที่ดินและทรัพย์สินของผู้เสียหายแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดินแต่จำเลยไม่ยอมกลับพาพวกใช้อาวุธปืนขู่เข็ญให้พ. ออกไปจากที่ดินต่อมาอ. นายอำเภอซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้เสียหายให้จำเลยออกจำเลยไม่ยอมกลับอ้างสิทธิครอบครองเหตุดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาบังอาจของจำเลยได้เมื่อจำเลยกระทำไปโดยเจตนาก็ต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา362และ364 การที่จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทและทรัพย์สินอื่นเป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายยังครอบครองมิได้ทิ้งร้างแต่จำเลยยังขืนไปยื่นคำขอต่อทางราชการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1367ผู้เสียหายคัดค้านไม่ยอมให้เข้าไปในที่ดินจึงไม่สามารถรังวัดตรวจสอบได้จำเลยได้ให้ถ้อยคำยืนยันตามคำขอซึ่งเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ได้บันทึกข้อความไว้ในบันทึกถ้อยคำ(ท.ด.16)อันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีสาระสำคัญว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้เสียหายผู้เสียหายทิ้งร้างไว้ไม่ได้ทำประโยชน์จำเลยเข้ายึดถือครอบครองทำประโยชน์มานานขอให้เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิได้มาโดยการครอบครองอันเป็นเท็จซึ่งจำเลยมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานในการที่จำเลยจะได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทอันน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมโดยอายุความต้องเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์และเพื่อประโยชน์แก่การใช้สิทธิในทรัพย์สิน มิใช่เพื่อประโยชน์ทางการค้า
แม้ตามคำฟ้องจะไม่ได้กล่าวถึงที่ดินโฉนดเลขที่11114ถึง11117รวม4โฉนดแต่โจทก์ก็ได้กล่าวในคำฟ้องว่าเมื่อปี2511จำเลยที่1ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่7496ได้จดทะเบียนเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของป. เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกจากโรงสีสู่ถนนสรรประศาสน์มากว่า10ปีป. ได้ทำทางภารจำยอมเป็นถนนมีความกว้าง5ถึง6เมตรต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่7496ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น4โฉนดโดยมีจำเลยที่2ถึงที่5เป็นผู้รับโอนมาครั้นต่อมาเดือนพฤษภาคม2531จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนเข้าไปในทางทำให้ทางแคบลงเหลือความกว้างเพียง3เมตรโจทก์ไม่สามารถนำรถบรรทุกขนข้าวเปลือกได้จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าถอนเสาปูนออกไปห้ามมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใดๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเดิมที่ดินโฉนดเลขที่7496มีเนื้อที่2ไร่ต่อมาได้ทำการแบ่งเป็นแปลงย่อยอีก4แปลงคือแปลงโฉนดเลขที่11114ถึง11117รวม4โฉนดและตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2ถึงที่5คนละแปลงส่วนโฉนดเดิมคงเหลือเนื้อที่91ตารางวาโดยมีความกว้าง3เมตรยาว125เมตรและได้จดทะเบียนเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของป. ทั้งตามคำขอของโจทก์ขอบังคับมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใดๆอันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกดังนี้ตามคำฟ้องพอเข้าใจได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่11114ถึง11117รวม4โฉนดซึ่งถูกแบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่7496และมีชื่อจำเลยที่2ถึงที่4เป็นเจ้าของตกเป็นทางภารจำยอมโดยมีความกว้าง5ถึง6เมตรยาว125เมตรซึ่งมีความกว้างเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้2ถึง3เมตรตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความด้วย การได้สิทธิในทางภารจำยอมโดยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401ประกอบมาตรา1382นั้นจะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งห้าโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภารจำยอมแต่การที่โจทก์ใช้ทางล้ำออกไปมากกว่าที่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยความยินยอมของเจ้าของที่ดินโดยปริยายมิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทโดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งห้าแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใดโจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าวประกอบกับโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่บรรทุกข้าวจากโรงสีของโจทก์อันเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์มิใช่เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยตรงเมื่อจำเลยที่1จดทะเบียนภารจำยอมมีความกว้างเพียง3เมตรโจทก์จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์มากกว่า3เมตรผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้โดยจำเลยที่1มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้อีกทั้งการที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนลงในทางพิพาทด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ทำให้ทางภารจำยอมเหลือความกว้างอยู่เพียง3เมตรนั้นแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้ามิได้กระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภารจำยอมที่จำเลยที่1จดทะเบียนไว้ลดหรือเสื่อมความสะดวกไปโจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้ารื้อถอนเสาปูนที่ปักไว้และเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเกินขอบเขตที่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์
แม้ตามคำฟ้องจะไม่ได้กล่าวถึงที่ดินโฉนดเลขที่ 11114 ถึง11117 รวม 4 โฉนด แต่โจทก์ก็ได้กล่าวในคำฟ้องว่า เมื่อปี 2511 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7496 ได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของ ป. เพื่อให้รถบรรทุกเข้าออกจากโรงสีสู่ถนนสรรประศาสน์มากว่า 10 ปีป.ได้ทำทางภาระจำยอมเป็นถนนมีความกว้าง 5 ถึง 6 เมตร ต่อมาที่ดินโฉนดเลขที่ 7496 ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 4 โฉนด โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นผู้รับโอนมา ครั้นต่อมาเดือนพฤษภาคม 2531 จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนเข้าไปในทาง ทำให้ทางแคบลงเหลือความกว้างเพียง 3 เมตร โจทก์ไม่สามารถนำรถบรรทุกขนข้าวเปลือกได้ จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าถอนเสาปูนออกไป ห้ามมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 7496มีเนื้อที่ 2 ไร่ ต่อมาได้ทำการแบ่งเป็นแปลงย่อยอีก 4 แปลง คือแปลงโฉนดเลขที่ 11114 ถึง 11117 รวม 4 โฉนด และตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 5 คนละแปลง ส่วนโฉนดเดิมคงเหลือเนื้อที่ 91 ตารางวา โดยมีความกว้าง3 เมตร ยาว 125 เมตร และได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของป. ทั้งตามคำขอของโจทก์ขอบังคับมิให้จำเลยทั้งห้ากระทำการใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวก ดังนี้ ตามคำฟ้องพอเข้าใจได้ว่าโจทก์มุ่งประสงค์ให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 11114 ถึง 11117 รวม 4 โฉนด ซึ่งถูกแบ่งแยกมาจากโฉนดเลขที่ 7496 และมีชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของตกเป็นทางภาระจำยอมโดยมีความกว้าง 5 ถึง 6 เมตร ยาว 125 เมตร ซึ่งมีความกว้างเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้ 2 ถึง 3 เมตร ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์โดยอายุความด้วย
การได้สิทธิในทางภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 นั้น จะต้องเป็นกรณีที่โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งห้าโดยปรปักษ์ต่อเจ้าของที่ดินเพื่อให้ได้ทางภาระจำยอมแต่การที่โจทก์ใช้ทางล้ำออกไปมากกว่าที่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินนั้นถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยความยินยอมของเจ้าของที่ดินโดยปริยาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิในทางพิพาทโดยการกระทำที่เป็นปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งห้า แม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเพียงใด โจทก์ก็ไม่อาจอ้างว่าได้สิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทตามบทกฎหมายดังกล่าว ประกอบกับโจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางสำหรับรถบรรทุกขนาดเล็กและขนาดใหญ่บรรทุกข้าวจากโรงสีของโจทก์อันเป็นการใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยตรง เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนทางภาระจำยอมมีความกว้างเพียง 3 เมตรโจทก์จะใช้ทางพิพาทเพื่อประโยชน์แก่การค้าของโจทก์มากกว่า 3 เมตร ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้โดยจำเลยที่ 1 มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยทั้งห้าร่วมกันปักเสาปูนลงในทางพิพาทด้านที่ติดกับที่ดินของโจทก์ ทำให้ทางภาระจำยอมเหลือความกว้างอยู่เพียง 3 เมตร นั้น แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งห้ามิได้กระทำการใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์ของภาระจำยอมที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนไว้ลดหรือเสื่อมความสะดวกไป โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งห้ารื้อถอนเสาปูนที่ปักไว้และเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งห้าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน: การยิงต่อเนื่องโดยมีเจตนาฆ่าแต่ละบุคคล
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายรวม 4 นัด นัดแรกยิงผู้เสียหายที่ 1 เพราะผู้เสียหายที่ 1 ต่อว่าจำเลยที่นำเอาอาวุธปืนออกมาขู่ ครั้นผู้เสียหายที่ 2 ส่งเสียงร้องหวีดเพราะตกใจที่เห็นจำเลยยิงผู้เสียหายที่ 1 จำเลยก็ยิงผู้เสียหายที่ 2 เป็นนัดที่ 2 เมื่อผู้ตายยกมือไหว้และขอร้องอย่ายิงจำเลยก็ยิงผู้ตายเป็นนัดที่ 3 ก่อนไปจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 ที่ถูกยิงยังไม่ตายจึงได้ยิงซ้ำอีก 1 นัดแสดงว่าการยิงปืนแต่ละนัดตามประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าการยิงนัดใดจำเลยยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายคนใด เจตนาฆ่าจึงแยกออกจากกันได้เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานคู่ความ การนำสืบพยานที่ไม่เบิกความพร้อมกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
แม้ผู้เสียหายที่1และผู้เสียหายที่2จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในความเดียวกันแต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใดศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานคู่รู้เห็น ไม่บังคับต้องเบิกความพร้อมกัน ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาได้
แม้ผู้เสียหายที่ 1 และผู้เสียหายที่ 2 จะเป็นพยานคู่รู้เห็นเหตุการณ์ในคราวเดียวกัน แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติบังคับให้โจทก์ต้องนำพยานคู่มาเบิกความในคราวเดียวกันอันเป็นข้อห้ามไม่ให้รับฟังเป็นข้อพิจารณาของศาลแต่ประการใด ศาลย่อมนำคำเบิกความของผู้เสียหายทั้งสองไปพิเคราะห์เทียบเคียงให้เห็นเท็จและจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน: การยิงต่อเนื่องโดยมีเจตนาต่างกัน ถือเป็นหลายกรรม
จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายรวม4นัดนัดแรกยิงผู้เสียหายที่1เพราะผู้เสียหายที่1ต่อว่าจำเลยที่นำเอาอาวุธปืนออกมาขู่ครั้นผู้เสียหายที่2ส่งเสียงร้องหวีดเพราะตกใจที่เห็นจำเลยยิงผู้เสียหายที่1จำเลยก็ยิงผู้เสียหายที่2เป็นนัดที่2เมื่อผู้ตายยกมือไหว้และขอร้องจำเลยอย่ายิงจำเลยก็ยิงผู้ตายเป็นนัดที่3ก่อนไปจำเลยเห็นผู้เสียหายที่2ที่ถูกยิงยังไม่ตายจึงได้ยิงซ้ำอีก1นัดแสดงว่าการยิงปืนแต่ละนัดตามประสงค์และจุดมุ่งหมายของจำเลยได้แยกออกจากกันว่าการยิงนัดใดจำเลยยิงผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายคนใดเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสองและผู้ตายในขณะลงมือกระทำผิดจึงแยกออกจากกันได้การกระทำของจำเลยจึงมิใช่กรรมเดียวแต่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เกณฑ์การนับเริ่มต้นจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น1ปีนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่วันที่ผู้ร้องทราบ
พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24 มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113
of 99