พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24 มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เริ่มนับจากเจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเบิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: เกณฑ์การนับอายุความตามสิทธิเจ้าหนี้
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม2531 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 และ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ยื่นหลังหมดระยะเวลา แต่มีคำสั่งอนุญาตถูกต้อง และการลดโทษรอการลงโทษ
คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการที่จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งคำร้องเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาไปแล้วก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาเกินกำหนดระยะเวลาและการพิจารณาคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาโดยผู้พิพากษาที่ย้ายไปแล้วยังคงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงพร้อมกับฎีกาภายในกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา ถึงแม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้ฎีกาเมื่อล่วงเลยระยะเวลาฎีกาและย้ายไปรับราชการอยู่ที่ศาลอื่นแล้ว ก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3023/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้รับอาวัลไม่อาจรับช่วงสิทธิคำขอรับชำระหนี้เดิมได้
ผู้ร้องเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาร่วมกับลูกหนี้(จำเลย)เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องเนื่องจากเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ไว้เต็มจำนวนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา101แล้วแม้ต่อมาผู้ร้องได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้แล้วเพราะไม่มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติล้มละลายฯบัญญัติให้กระทำได้และหากจะถือว่าเป็นคำขอรับชำระหนี้ในฐานะผู้ร้องเป็นผู้รับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ก็พ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา27,91แล้วผู้ร้องจึงขอเข้ารับช่วงสิทธิคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่เป็นสาระเมื่อข้อเท็จจริงในชั้นอุทธรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาเดิม
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตามพฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้ง จึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจะระงับไปแล้วหรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลคดีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไป ถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่วินิจฉัยประเด็นหนี้สินหากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2เห็นว่าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่าตามพฤติการณ์ยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งจึงฟังเป็นยุติว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องหนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจะระงับไปแล้วหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลคดีส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมศาลในคดีล้มละลาย: การพิจารณาประเภทคดีและผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียม
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119วรรคสองและวรรคสามบัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสินสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยันและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง2(3)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่นๆที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง20บาทมาใช้บังคับสำหรับชั้นอุทธรณ์นั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้องและตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายบัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยันหากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดีทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้นอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ(1)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา179วรรคท้ายซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระแต่ผู้ร้องไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา132(1)ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนดอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องเช่นนี้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลาย: การคำนวณทุนทรัพย์และผลของการไม่ชำระค่าขึ้นศาล
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม บัญญัติให้บุคคลที่ได้รับแจ้งความยืนยันหนี้คัดค้านต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องภายในกำหนดเวลาสิบสี่วันนับแต่ได้รับแจ้งความยืนยัน และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมคำร้องไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำตาราง 2 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งกำหนดให้คู่ความเสียค่าธรรมเนียมการยื่นคำขออื่น ๆ ที่ต้องทำเป็นคำร้องเพียง 20 บาท มาใช้บังคับ สำหรับชั้นอุทธรณ์นั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้ให้คู่ความทำเป็นคำร้อง และตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย บัญญัติให้คิดอัตราเดียวกับค่าธรรมเนียมตามป.วิ.พ. เมื่อผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกคำสั่งของผู้คัดค้านที่ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้โดยอ้างว่าไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่ผู้คัดค้านแจ้งยืนยัน หากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้องซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องไม่ต้องรับผิดตามที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องนั้น อันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1 ข้อ (1) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 179 วรรคท้าย ซึ่งผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องไม่ชำระ จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2),246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามมาตรา 132 (1) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่มาชำระภายในกำหนด อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้อง เช่นนี้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา