คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมาน เวทวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: การพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 วรรคท้าย
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นแต่มาตรา153บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่าเมื่อศาลได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งตามบทบัญญัติในมาตรานี้วันใดให้ถือว่าวันนั้นเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีนั้นจึงต้องถือว่าวันที่4พฤศจิกายน2531เป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราวไม่ใช่วันที17ตุลาคม2531ซึ่งร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค1และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้ตามที่นัดไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: พิจารณาตามวันที่ศาลอ่านคำสั่ง ไม่ใช่วันที่ส่งให้ตรวจ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดีแต่มาตรา153บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมกรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา140วรรคท้ายดังนั้นจึงต้องถือว่าวันที่4พฤศจิกายน2531ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้คู่ความฟังเป็นวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยไม่ใช่วันที่17ตุลาคม2531เพราะในวันดังกล่าวร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค3และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยึดวันอ่านคำสั่งจริง ไม่ใช่วันที่ร่างคำสั่งส่งถึงอธิบดีผู้พิพากษา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่มีบทบัญญัติถึงวันที่ให้ถือว่าเป็นวันที่พิพากษาหรือมีคำสั่งคดี แต่มาตรา 153 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม กรณีจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 140 วรรคท้าย ดังนั้น จึงต้องถือว่า วันที่ 4 พฤศจิกายน 2531ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ให้คู่ความฟังเป็นวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม 2531เพราะในวันดังกล่าวร่างคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังอยู่ที่อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 และไม่สามารถอ่านในวันดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้คัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 146
เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ในราคาต่ำผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลา14วันนับแต่วันที่ได้ทราบการขายทอดตลาดนั้นขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดและประกาศขายทอดตลาดใหม่ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา146กรณีนี้ไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองที่จะอนุโลมนำมาใช้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา153เพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา146บัญญัติไว้โดยเฉพาะอยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลถึงที่สุดเกี่ยวกับสิทธิรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง และการคำนวณดอกเบี้ยที่ไม่ทบต้น ผู้ร้องมิอาจคัดค้านได้
จ.พ.ท.มีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้300,000บาทจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองพร้อมดอกเบี้ยอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่2กันยายน2531จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จะแปลความว่าคำสั่งของจ.พ.ท.มีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นหาได้ไม่หากผู้ร้องไม่คัดค้านคำสั่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146คำสั่งของจ.พ.ท.ย่อมถึงที่สุดเมื่อบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินของจ.พ.ท.คิดถูกต้องตามคำสั่งนั้นผู้ร้องจะยื่นคัดค้านบัญชีดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งผู้คัดค้านเกี่ยวกับการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองถึงที่สุด ผู้ร้องมิอาจโต้แย้งได้อีก
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่าลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน300,000บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าวหลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่งณวันที่14มกราคม2534ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน546,895.54บาทผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่นและวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆนับตั้งแต่วันที่2กันยายน2531เป็นต้นไปก็ตามแต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน300,000บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่2กันยายน2531จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นหาได้ไม่หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใดชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าวคำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุดผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้านบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2477/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง: คำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์, ดอกเบี้ยทบต้น, และผลของการไม่คัดค้าน
ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้าน แม้จะกล่าวถึงมูลหนี้ว่า ลูกหนี้ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องในวงเงิน 300,000 บาทโดยยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงินดังกล่าว หลังจากนั้นมีการเดินสะพัดทางบัญชีและต่อมาผู้ร้องได้บอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ซึ่ง ณ วันที่14 มกราคม 2534 ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องจำนวน 546,895.54 บาท ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองหลักประกันตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยก่อนเจ้าหนี้อื่น และวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราต่าง ๆนับตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 เป็นต้นไปก็ตาม แต่เมื่อที่สุดผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองภายในต้นเงิน 300,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยนับแต่วันที่ 2 กันยายน 2531 จนถึงวันขายทอดตลาดทรัพย์จำนองซึ่งไม่ได้ระบุให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น ก็จะแปลว่าคำสั่งของผู้คัดค้านมีความหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นมาได้ไม่ หากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวไม่ถูกต้องอย่างใด ชอบที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิคัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 เมื่อผู้ร้องไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำสั่งของผู้คัดค้านย่อมถึงที่สุด ผู้ร้องจะคัดค้านอีกหาได้ไม่และเมื่อตามบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายเงิน ผู้คัดค้านได้คำนวณให้ผู้ร้องมีสิทธิไดรับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์ตามคำสั่งของผู้คัดค้าน บัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงินของผู้คัดค้านจึงถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านโดยไม่มีเจตนาอยู่อาศัยจริง ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนภูมิลำเนา
ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางแค เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีจำเลยและบุตรอีก 2 คน พักอาศัยอยู่ด้วย แต่จำเลยแจ้งย้ายออกเพียง 2 คน โดยแจ้งว่าย้ายเข้าบ้านเลขที่ 30หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน แต่มิได้ย้ายบุตรทั้งสองไปด้วยและแทนที่จะย้ายเข้าที่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน กลับย้ายเข้าที่บ้านเลขที่ 22 หมู่ 1 ตำบลท่าตุ้ม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน คนละแห่งกันกับที่แจ้งย้ายเข้า และเพียงเดือนเศษก็แจ้งย้ายออกไปเข้าที่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 4 ตำบลท่าพัก อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แต่ก็มิได้ย้ายเข้าบ้านเลขที่ดังกล่าวตามที่ได้แจ้งไว้แต่อย่างใด แสดงว่าการที่จำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากภูมิลำเนาเดิมที่กรุงเทพมหานครไปยังที่ต่าง ๆ ดังกล่าวก็เพียงเพื่อมิให้โจทก์ติดตามสืบหาที่อยู่ได้เท่านั้น โดยจำเลยไม่ได้เข้าพักอาศัยไม่ได้ย้ายบุตรไปด้วย พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จำเลยได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านเลขที่ตามฟ้องซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นก็จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาครั้งสุดท้ายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ศาลจังหวัดลำพูนจึงไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาและการมีเจตนาเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่เพื่อประโยชน์ในการฟ้องคดีล้มละลาย
ตามหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่64/1หมู่ที่3แขวงบางแคเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครมีจำเลยและบุตรอีก2คนพักอาศัยอยู่ด้วยแต่จำเลยแจ้งย้ายออกเพียง2คนโดยแจ้งว่าย้ายเข้าบ้านเลขที่30หมู่ที่1ตำบลท่าตุ้มอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนแต่มิได้ย้ายบุตรทั้งสองไปด้วยและแทนที่จะย้ายเข้าที่บ้านเลขที่30หมู่ที่1ตำบลท่าตุ้มอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนกลับย้ายเข้าที่บ้านเลขที่22หมู่1ตำบลท่าตุ้มอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูนคนละแห่งกันกับที่แจ้งย้ายเข้าและเพียงเดือนเศษก็แจ้งย้ายออกไปเข้าที่บ้านเลขที่21หมู่ที่4ตำบลท่าพักอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรีแต่ก็มิได้ย้ายเข้าบ้านเลขที่ดังกล่าวตามที่ได้แจ้งไว้แต่อย่างใดแสดงว่าการที่จำเลยแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากภูมิลำเนาเดิมที่กรุงเทพมหานครไปยังที่ต่างๆดังกล่าวก็เพียงเพื่อมิให้โจทก์ติดตามสืบหาที่อยู่ได้เท่านั้นโดยจำเลยไม่ได้เข้าพักอาศัยไม่ได้ย้ายบุตรไปด้วยพฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาย้ายถิ่นที่อยู่และจงใจจะเปลี่ยนภูมิลำเนาแต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยได้แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้าบ้านเลขที่ตามฟ้องซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นก็จะถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นหาได้ไม่ต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาครั้งสุดท้ายอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครศาลจังหวัดลำพูนจึงไม่มีอำนาจรับฟ้องคดีของโจทก์ไว้พิจารณาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืมต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ หากไม่มีหลักฐานดังกล่าว เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าเงินยืม โดยมีสำเนาเช็คและใบคืนเช็คเป็นหลักฐานประกอบหนี้มิใช่ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็ค ดังนี้เช็คเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้มิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อเจ้าหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อลูกหนี้ผู้กู้มาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หนี้เงินกู้ยืมจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 653 ดังนั้น เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้าม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1)
of 99