พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2438/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ยืมที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่าเป็นหนี้ค่าเงินยืมโดยมีสำเนาเช็คและใบคืนเช็คเป็นหลักฐานประกอบหนี้มิใช่ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามเช็คดังนี้เช็คเป็นหลักฐานแห่งการชำระหนี้มิใช่เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเมื่อเจ้าหนี้ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อลูกหนี้ผู้กู้มาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หนี้เงินกู้ยืมจึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653ดังนั้นเจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะต้องห้ามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจตัวแทนโจทก์ต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์"โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใดการที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อนเป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้นเมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัยการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่าพนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ.2498มาตรา11(2)กำหนดไว้ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนโจทก์: การมอบอำนาจต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาลตั้งแต่แรก
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร โดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์" โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใด การที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับ ว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การหักล้างข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามเข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้นปัญหาว่าความจริงจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่อาจนำสืบหักล้างประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายได้พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบปรากฎชัดว่าจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินคือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทไทยประเมินราคา จำกัดได้ประเมินราคาไว้สูงถึง36,775,820บาทแม้จะเป็นการประเมินราคาของเอกชนแต่ก็เป็นการประเมินเพื่อประโยชน์ในการขอกู้เงินจากธนาคารและต่อมาธนาคารได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้ในวงเงิน13,000,000บาทแสดงถึงความเชื่อถือของธนาคารและจำเลยที่2และที่3มีหนังสือสัญญาขายที่ดินนำสืบว่ามีราคาเกือบ2,000,000บาทแม้หนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นสำเนาเอกสารแต่ก็รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารต้นฉบับที่ถูกต้องแล้วจึงรับฟังได้ข้อนำสืบของจำเลยที่2และที่3มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ส่วนจำเลยที่1แม้ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้แต่เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เป็นหนี้ร่วมที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้แก่โจทก์ได้คดีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่1ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในประกันภัยค้ำจุน: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุเกิน 180 วัน
จำเลยที่1นำรถยนต์ไปประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่2โดยมีข้อตกลงว่าผู้รับประกันไม่ต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกถ้าผู้ขับขี่รถยนต์มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า180วันดังนี้เมื่อปรากฎว่าในขณะเกิดเหตุและในขณะทำสัญญาประกันภัยใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่1ขาดต่ออายุเกินกว่า180วันและหลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วจำเลยที่1ยังใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ขาดต่ออายุดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยประมาททำให้รถยนต์โจทก์เสียหายกรณีจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยที่2ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดได้ การประกันกันค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัยดังนั้นแม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่1ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180วันก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญเพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลยเพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอให้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดประกันภัยค้ำจุน: ใบอนุญาตขับขี่ขาดอายุ และผลกระทบต่อการคุ้มครองความเสียหาย
จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ไปประกันภัยค้ำจุนไว้แก่จำเลยที่ 2โดยมีข้อตกลงว่า ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกถ้าผู้ขับขี่รถยนต์มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์แต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน ดังนี้เมื่อปรากฏว่าในขณะเกิดอุบัติเหตุและในขณะทำสัญญาประกันภัย ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน และหลังจากทำสัญญาประกันภัยแล้วจำเลยที่ 1 ยังใช้ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ขาดต่ออายุดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุโดยประมาททำให้รถยนต์โจทก์เสียหาย กรณีจึงเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 2 ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ปฏิเสธความรับผิดได้
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัย ดังนั้น แม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้ นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลย เพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้
การประกันภัยค้ำจุนตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยที่ไปก่อความเสียหายให้แก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับขี่หรือยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ การประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับขี่รถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยในขณะทำสัญญาประกันภัย ดังนั้น แม้ขณะทำสัญญาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยขาดต่ออายุเกินกว่า180 วัน ก็ไม่อาจถือว่าคู่สัญญามิได้เจตนาถือเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ข้อนี้เป็นสาระสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วหากทำสัญญาประกันภัยกำหนดเงื่อนไขไม่ให้ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดอย่างกรณีนี้ นิติบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในรถยนต์ที่เอาประกันภัยย่อมไม่มีทางจะทำสัญญาประกันได้เลย เพราะนิติบุคคลโดยสภาพย่อมไม่มีทางขอมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในประกันภัยค้ำจุนกรณีผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตหรือใบอนุญาตขาดอายุเกิน 180 วัน
การ ประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา887เป็นการประกันความเสียหายอันเกิดจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยไปก่อความเสียหายแก่บุคคลอื่นในเมื่อผู้เอาประกันภัยขับหรือยินยอมให้ผู้อื่นขับดังนั้นการประกันภัยค้ำจุนจึงมุ่งที่ตัวบุคคลผู้ขับรถยนต์ที่เอาประกันภัยในขณะเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญยิ่งกว่าตัวบุคคลผู้เอาประกันภัยเมื่อกรมธรรม์ของจำเลยที่2มีข้อความยกเว้นความรับผิดของจำเลยที่2ไว้ว่าผู้รับประกันจะไม่รับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกอันเกิดจากการขับโดยบุคคลที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์แต่ ขาดการต่ออายุเกินกว่า180วันจำเลยที่2จึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำในประเด็นที่เคยวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการฟ้องครั้งหลังไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องซ้ำ
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมีการแบ่งที่ดินที่ซื้อขายกันเป็น3 ส่วน ตามสัญญา ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ตามลำดับ และมีข้อตกลงกับเงื่อนไขในการซื้อขายของที่ดินแต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันตามข้อสัญญาแต่ละข้อดังกล่าวโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ซึ่งเกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง คดีมีประเด็นในคดีว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ส่วนคดีแพ่งเรื่องเดิมแม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบแล้วเพราะฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ดังนี้ผลก็คือศาลฎีกายังมิได้วินิจฉัยในคดีเดิมว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผิดสัญญา แต่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย การฟ้องใหม่จึงไม่เป็นการรื้อฟ้อง
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมีการแบ่งที่ดินที่ซื้อขายกันเป็น 3 ส่วน ตามสัญญา ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 ตามลำดับ และมีข้อตกลงกับเงื่อนไขในการซื้อขายของที่ดินแต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันตามข้อสัญญาแต่ละข้อดังกล่าว โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ซึ่งเกี่ยวกับที่ดิน น.ส.3 โจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง คดีมีประเด็นในคดีว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ส่วนคดีแพ่งเรื่องเดิมแม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2แต่เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็นและศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบแล้วเพราะฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ดังนี้ ผลก็คือศาลฎีกายังมิได้วินิจฉัยในคดีเดิมว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องในคดีนี้ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1934/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องประเด็นเดิมที่ยังมิได้วินิจฉัยในคดีก่อน ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาข้อ 2 คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยนอกประเด็น และศาลฎีกาวินิจฉัยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยชอบแล้ว ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ว่าจำเลยผิดสัญญาข้อ 2หรือไม่ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148