คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมาน เวทวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจากหนี้สินล้นพ้นตัว: การพิจารณาภูมิลำเนาและหนังสือทวงถาม
แม้จำเลยที่2จะย้ายทะเบียนบ้านที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันที่ทำกับโจทก์แต่จำเลยที่2ก็ยังเป็นเจ้าของบ้านดังกล่าวอยู่และบ้านหลังนี้ยังเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของจำเลยที่1ซึ่งมีจำเลยที่2เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่1ตลอดมาจึงเป็นหลักแหล่งที่ทำการงานของจำเลยที่2ให้ถือว่าเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของจำเลยที่2ด้วยและถือว่าจำเลยที่2มีถิ่นที่อยู่หลายแห่งสับเปลี่ยนกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา45((มาตรา38ใหม่) จำเลยที่2ได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า2ครั้งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า30วันจำเลยที่2ไม่ชำระหนี้พฤติการณ์ของจำเลยที่2เข้าข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. เจตนาฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์และบาดแผล
ผู้เสียหายกับพวกและจำเลยกับพวกดื่มสุราด้วยกัน แล้วมีปากเสียงกัน มีคนเข้าห้ามปราม จึงแยกย้ายกันไป หลังจากนั้นเมื่อพบกันมีการปรับความเข้าใจและมีปากเสียงกันอีก ผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1 ที พฤติการณ์ดังกล่าวไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกัน ประกอบกับจำเลยแทงผู้เสียหายในทันทีนั้นเพียง 1 ครั้ง แล้วหลบหนีไปโดยไม่ได้แทงซ้ำอีก แม้จะแทงบริเวณหน้าอกข้างขวาใต้ราวนมอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย แต่บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเลือดออกในผนังหน้าอก ไม่ได้ลึกถึงอวัยวะสำคัญแสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรง กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายต้องพักรักษาตัวเกินกว่า 20 วัน จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 (8)
การที่ผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย 1 ที ยังไม่พอจะถือว่าเป็นการหยามหน้ากัน อันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหายจึงไม่ใช่เพราะเหตุบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์การแทงและเหตุการณ์ก่อนหน้า
ผู้เสียหายกับพวกและจำเลยกับพวกดื่มสุราด้วยกันแล้วมีปากเสียงกันมีคนเข้าห้ามปรามจึงแยกย้ายกันไปหลังจากนั้นเมื่อพบกันมีการปรับความเข้าใจและมีปากเสียงกันอีกผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1ทีพฤติการณ์ดังกล่าวไม่ร้ายแรงถึงกับจะต้องเอาชีวิตกันประกอบกับจำเลยแทงผู้เสียหายในทันทีนั้นเพียง1ครั้งแล้วหลบหนีไปโดยไม่ได้แทงซ้ำอีกแม้จะแทงบริเวณหน้าอกข้างขวาใต้ราวนมอันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายแต่บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเลือดออกในผนังหน้าอกไม่ได้ลึกถึงอวัยวะสำคัญแสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรงกรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายจำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเมื่อผู้เสียหายต้องพักรักษาตัวเกินกว่า20วันจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา297(8) การที่ผู้เสียหายตบจำเลยที่บริเวณท้ายทอย1ทียังไม่พอจะถือว่าเป็นการหยามหน้ากันอันเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมที่จำเลยใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงผู้เสียหายจึงไม่ใช่เพราะเหตุบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิพากษาว่าเป็นการฆ่าคนโดยไม่เจตนา
ขณะที่ผู้ตายเดินไปที่หัวเรือเพื่อจะขึ้นท่าถูกจำเลยซึ่งยืนอยู่ที่ท่าชกถูกที่ใบหน้า1ทีจากนั้นทั้งผู้ตายและจำเลยตกลงไปในน้ำทั้งคู่และต่างได้ชกกันในน้ำต่อไปประมาณ4ถึง5นาทีจึงได้เลิกกันผู้ตายถูกกระแสน้ำพัดไปติดหลักไม้ไผ่ใกล้ที่เกิดเหตุมีคนช่วยนำผู้ตายขึ้นจากน้ำและหมดสติไปและถึงแก่ความตายเพราะขาดอากาศหายใจในเวลาต่อมาเห็นว่าถ้าหากจำเลยไม่ชกผู้ตายและเมื่อผู้ตายและจำเลยตกลงไปในน้ำแล้วไม่มีการทำร้ายกันต่อไปอีกผู้ตายคงไม่ถึงแก่ความตายเพราะขาดอากาศหายใจการตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยจำเลยย่อมผิดฐานฆ่าคนโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา290วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: การฟ้องภายใน 10 ปี ทำให้สะดุดอายุความ
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติไว้โดยเฉพาะอันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(2)คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหรือไม่อีก ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและเมื่อการฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงแล้วระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วยกรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดีไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271มาใช้บังคับเมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8,14แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดจะพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตามก็หามีผลต่อคดีไม่ส่วนข้อที่ว่าโจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย: การสะดุดหยุดอายุความ
หนี้ตามคำพิพากษาเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษามาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาซึ่งอยู่ภายในกำหนดอายุความตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 บัญญัติไว้โดยเฉพาะอันทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2) คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหรือไม่อีก
ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาและเมื่อการฟ้องคดีนี้มีผลทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีมิใช่เรื่องการบังคับคดี ไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 มาใช้บังคับ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ชอบที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา8, 14 แม้ต่อมาในระหว่างการพิจารณาและก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดจะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็หามีผลต่อคดีไม่ ส่วนข้อที่ว่าโจทก์จะขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในคดีละเมิด: การวินิจฉัยประมาทเลินเล่อในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การฟังข้อเท็จจริงต้องเป็นไปตามคำพิพากษาคดีอาญา หากคดีอาญาไม่พบความประมาท คดีแพ่งก็ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาของศาลแขวงตลิ่งชันซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยระหว่างโจทก์และจำเลยที่1เป็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารทับขาซ้ายของโจทก์โดยประมาทเลินเล่อหรือไม่การฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยที่1มิได้ประมาทเลินเล่อเมื่อจำเลยที่1มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์และเนื่องจากมูลหนี้ละเมิดตามฟ้องเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาให้มีผลถึงจำเลยที่1ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่มีทุนทรัพย์ไม่ขัดแย้งกับคดีมีทุนทรัพย์ หากคำขอหลักคือการเพิกถอนนิติกรรม
คำฟ้องโจทก์สามารถแยกออกได้เป็นสองส่วน คือ จำเลยที่ 2ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง อีกส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แต่การที่จะวินิจฉัยคำขอในส่วนนี้ต้องวินิจฉัยคำขอในส่วนแรกเพื่อให้ได้ความว่ามีเหตุให้ต้องเพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินหรือไม่ก่อน และในกรณีที่เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกันจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลักคำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่องซึ่งต้องถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินเป็นคำขอหลักจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมคดีมีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์ คำขอหลักและต่อเนื่องมีผลต่อการฎีกา
ตามคำฟ้องโจทก์สามารถแยกข้อหาและคำขอบังคับออกได้เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 2 ซื้อและรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์อยู่ก่อนแล้วทำให้โจทก์เสียเปรียบ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ อีกส่วนหนึ่งคือ จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์และรับชำระราคาบางส่วนไปแล้ว ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ พร้อมทั้งรับค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ซึ่งคำขอในส่วนนี้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์รวมอยู่ในคดีเดียวกัน จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ย่อมจะต้องพิจารณาว่าคดีนั้นมีคำขอใดเป็นหลัก คำขอใดเป็นคำขอที่ต่อเนื่อง คดีนี้โจทก์มีคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อเพิกถอนแล้วจึงให้จำเลยที่ 1 โอนขายให้โจทก์พร้อมรับชำระราคาส่วนที่เหลือจึงถือว่าคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพิพาทเป็นคำขอหลัก คำขอให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเป็นคำขอต่อเนื่อง จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
of 99