พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลผูกพันของข้อตกลง
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายและมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายกับให้ลูกหนี้มีอำนาจเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากภาวะล้มละลายและมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินได้ต่อไปและการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วย่อมผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา56ดังนั้นลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเท่านั้นและถ้าลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะรายงานต่อศาลให้มีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา63ประกอบมาตรา60เจ้าหนี้จะยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขการประนอมหนี้โดยให้ลูกหนี้นำเงินที่มีสิทธิจะได้จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งมาชำระหนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หาได้ไม่เพราะเท่ากับเป็นการขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการนอกเหนือไปจากอำนาจหน้าที่และเป็นการเข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงในขณะที่ลูกหนี้หลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรและแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ก็ไม่อาจร้องขอให้นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกประชุมเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงผูกมัดเจ้าหนี้ แม้มีทรัพย์สินเพิ่ม ศาลไม่อาจนัดประชุมเพิ่มเติม
เมื่อการประนอมหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ยอมรับและศาลเห็นชอบด้วยผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้และลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามข้อตกลงในการประนอมหนี้นั้นแล้วไม่ว่าภายหลังจากนั้นจะเกิดมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้อย่างไรแม้จะมีผลทำให้เจ้าหนี้สามารถได้รับชำระหนี้ได้เร็วกว่าที่ลูกหนี้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อตกลงประนอมหนี้นอกเหนือไปจากที่ลูกหนี้ได้ตกลงไว้ในการประนอมหนี้นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: ผลของการมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องและการขยายอายุความตามมาตรา 193/17 วรรคสอง
แม้คำให้การจำเลยจะยกข้อต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลยโจทก์ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อันเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ก็ตามเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าโจทก์เคยนำหนี้ดังกล่าวฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่7มิถุนายน2536ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ครบกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ในระหว่างการพิจารณาคดีโจทก์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้องโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลนี้อันเป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายขยายออกไปอีกหกสิบวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคสองคดีจึงมีประเด็นพิพาทโต้เถียงกันโดยตรงด้วยว่าโจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีกพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ว่าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ไม่ขาอายุความเพราะมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามคำฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุดอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างตรงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เห็นว่าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุให้ขยายอายุความออกไปอีกหกสิบวันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคสองหรือไม่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายมิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค4แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา271มาใช้บังคับได้ การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แล้วหากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา27,91แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อีกด้วยมิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไปการฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ10ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่30กรกฎาคม2536และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา193/17วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน60วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุดการที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่27กันยายน2536ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด60วันตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การขยายอายุความ 60 วันหลังคำสั่งไม่รับฟ้อง
แม้คำให้การจำเลยจะยกข้อต่อสู้คำฟ้องโจทก์ว่า หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายโจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์ไม่อาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ อันเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ก็ตาม แต่เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายถึงเหตุที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาว่าโจทก์เคยนำหนี้ดังกล่าวฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่7 มิถุนายน 2536 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ครบกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างการพิจารณา คดีโจทก์มิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายศาลจังหวัดเชียงรายได้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลนี้ อันเป็นข้ออ้างซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายขยายออกไปอีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นพิพาทโต้เถียงกันโดยตรงด้วยว่า โจทก์มีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่มีคำพิพากษาถึงที่สุด โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีหนี้ตามคำพิพากษาและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีกพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามคำฟ้องและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างตรงตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่เห็นว่า หนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแล้วศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยซึ่งปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ว่า ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะมีเหตุให้ขยายอายุความออกไปอีกหกสิบวันตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคสอง หรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา 271 มาใช้บังคับได้
การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27, 91แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อีกด้วย มิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไป การฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/32 บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา 193/17วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2536 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วมาเป็นมูลฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย มิใช่เรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในภาค 4 แห่ง ป.วิ.พ. จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาการบังคับคดีตามมาตรา 271 มาใช้บังคับได้
การฟ้องคดีล้มละลายนอกจากเป็นการฟ้องเพื่อให้จัดการทรัพย์ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้ว หากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็ยังจะต้องนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ที่ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายหรือไม่ก็ตามมาขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 27, 91แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อีกด้วย มิฉะนั้นย่อมหมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้อีกต่อไป การฟ้องคดีล้มละลายจึงมีผลเป็นการฟ้องเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/32 บัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดมีกำหนดอายุความ 10 ปีทั้งนี้ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีอายุความเท่าใดและโจทก์ได้นำเอามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดของศาลแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายต่อศาลจังหวัดเชียงรายภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นไม่รับฟ้องเพราะเหตุที่คดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดเชียงรายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2536 และคดีถึงที่สุดแล้ว เมื่ออายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวครบกำหนดไปแล้วในระหว่างพิจารณาคดีของศาลจังหวัดเชียงรายเช่นนี้ กรณีจึงต้องอยู่ในบังคับของบทบัญญัติในมาตรา 193/17วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.ซึ่งบัญญัติให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้ภายใน 60 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งที่ไม่รับคำฟ้องนั้นถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2536 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 60 วัน ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักทรัพย์เพื่อชำระหนี้ ไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน ต้องมีข้อความยอมชำระหนี้แทน
เอกสารที่จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันต้องมีข้อความที่ให้ความหมายว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วบุคคลภายนอกนั้นจะยอมชำระหนี้แทนแต่เอกสารพิพาทมีข้อความว่า"ข้าพเจ้านางสาวอ. (จำเลยที่2)นางสาวด. (จำเลยที่3)ขอรับรองว่าจะนำโฉนดที่ดิน(ระบุเลขโฉนด)มอบให้ม. ในวันที่13มีนาคม2531เพื่อเป็นหลักทรัพย์ซึ่งน. (จำเลยที่1)ได้บกพร่องต่อทางราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีตามความเป็นจริงที่น. ได้กระทำเท่านั้น"เมื่อเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความที่ให้ความหมายว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้แล้วจำเลยที่2และที่3จะชำระแทนจึงไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่2และที่3ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1066/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารค้ำประกันต้องมีเจตนาชำระหนี้แทนลูกหนี้ หากไม่มีข้อความดังกล่าว ไม่ถือเป็นสัญญาค้ำประกัน
เอกสารที่จะเข้าลักษณะเป็นสัญญาค้ำประกันต้องมีข้อความที่ให้ความหมายว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วบุคคลภายนอกนั้นจะยอมชำระหนี้แทนแต่เอกสารพิพาทมีข้อความว่า "ข้าพเจ้านางสาว อ.(จำเลยที่ 2) นางสาว ด.(จำเลยที่ 3) ขอรับรองว่าจะนำโฉนดที่ดิน (ระบุเลขโฉนด) มอบให้ ม.ในวันที่13 มีนาคม 2531 เพื่อเป็นหลักทรัพย์ซึ่ง น.(จำเลยที่ 1) ได้บกพร่องต่อทางราชการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ตามความเป็นจริงที่ น.ได้กระทำเท่านั้น" เมื่อเอกสารดังกล่าวไม่ปรากฏข้อความที่ให้ความหมายว่าถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชำระแทน จึงไม่ใช่เอกสารที่แสดงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมประนอมหนี้ล้มละลาย คำนวณจากยอดหนี้ที่ประนอมทั้งหมด แม้เจ้าหนี้บางรายถอนคำขอรับชำระหนี้
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 ให้คิดค่าธรรมเนียมอัตราร้อยละห้าจากจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ทั้งหมดแม้ต่อมาภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้แล้วเจ้าหนี้ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ไป คงเหลือเจ้าหนี้เพียงรายเดียวก็ตาม ก็ต้องคิดจากจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงเผาทรัพย์สินที่จำเลยและผู้เสียหายเป็นเจ้าของร่วมกัน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจากมาตรา 218 เป็น 217
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา222เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่าทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้นจำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วยที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหายจึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(3)กประกอบด้วยมาตรา247และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา217จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า"หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย"บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัดจะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแรงแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา2วรรคหนึ่ง แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา218แต่เมื่อมาตรา218เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา217ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา217ไว้ด้วยจึงลงโทษจำเลยตามมาตรา217ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงขัดแย้งกับพยานหลักฐาน และการตีความบทอาญาต้องเคร่งครัด
เมื่อคดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏจากคำเบิกความของผู้เสียหายว่า ทรัพย์ที่จำเลยเผาบางส่วนนั้น จำเลยเป็นเจ้าของรวมกันอยู่ด้วย ที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าทรัพย์ทั้งหมดเป็นของผู้เสียหาย จึงขัดต่อคำเบิกความของผู้เสียหายอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก ประกอบด้วยมาตรา 247และ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
ป.อ. มาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งการกระทำจะเป็นความผิดตามมาตรา 217 จะต้องเป็นการวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่นจะตีความให้รวมไปถึงทรัพย์ที่ผู้อื่นมีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยหาได้ไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่มีข้อความว่า "หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย" บัญญัติไว้การตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญาจะต้องตีความโดยเคร่งครัด จะขยายความไปถึงกรณีที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในตัวบทโดยชัดแจ้งอันจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยหาได้ไม่เพราะจะขัดต่อความรับผิดของบุคคลในการรับโทษทางอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 2วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 218แต่เมื่อมาตรา 218 เป็นบทฉกรรจ์ของมาตรา 217 ซึ่งรวมการกระทำความผิดตามมาตรา 217 ไว้ด้วย จึงลงโทษจำเลยตามมาตรา 217 ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความแตกต่างและความลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรไทยและอักษรโรมันคำว่าบิกกุ๊กBigCookแฟตกุ๊กFatCook และมาสเตอร์กุ๊กMasterCook ซึ่งตัวอักษรไทยอยู่ด้านบนของอักษรโรมันและไม่มีรูปพ่อครัวประดิษฐ์อยู่ด้วยจึงแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเภทที่เป็นรูปพ่อครัวประดิษฐ์คล้ายขวดทรงกระบอกเอนตัวยืนยิ้มมีอักษรไทยคำว่ากุ๊ก หรือมีอักษรไทยคำว่ากุ๊กและอักษรโรมันคำว่าCook รวมกันอยู่บนตัวรูปพ่อครัวประดิษฐ์อย่างชัดแจ้งไม่เหมือนหรือคล้ายกันแต่อย่างใดและเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวยังแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประเภทที่ใช้อักษรไทยคำว่ากุ๊ก หรืออักษรโรมันคำว่าCook หรืออักษรไทยและอักษรโรมันดังกล่าวรวมกันอย่างมากโดยคำว่าบิกกุ๊กBigCook และแฟตกุ๊กFatCook เป็นคำ2พยางค์คำว่ามาสเตอร์กุ๊กMasterCook เป็นคำ3พยางค์การจัดวางตัวอักษรและขนาดตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยก็ยังแตกต่างกันมากเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่ากุ๊กและคำCook เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตามแต่คำว่ากุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525หมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่งและคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำอักษรโรมันคำว่าCookซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรมคำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่วๆไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้จำเลยจึงนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้