พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7281/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ศาลต้องไต่สวนหากเจ้าหนี้อ้างความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 แม้ว่าในมาตรานี้ไม่ได้บัญญัติให้ศาลต้องทำการไต่สวนก่อน แต่ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลในอันที่จะทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้กรณีไม่อาจนำความในบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มบุคคลไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หากมิได้มีฐานะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคลโดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดรไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนแม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวมแต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่าผู้ขอรับชำระหนี้คือ"กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดยนายเรืองยศรมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ"ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: กลุ่มบุคคลไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคล โดยจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ก็ได้ เมื่อกลุ่มครูโรงเรียนอุดรเจ้าหนี้มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเพราะเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเท่านั้น เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดร โดยนายเรืองยศ รมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว ฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
การรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร ไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่ตามคำขอรับชำระหนี้ปรากฏชัดว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดร โดยนายเรืองยศ รมณียชาติ ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว ฉะนั้นกลุ่มครูโรงเรียนอุดรซึ่งไม่มีฐานะเป็นบุคคลจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7196/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลุ่มบุคคลไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีกรรมการ แต่ไม่ได้ยื่นในฐานะกรรมการ
เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นบุคคล กลุ่มครูโรงเรียนอุดร เจ้าหนี้เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งเกิดจากการรวมกลุ่มของครูผู้เป็นสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนอุดร มิใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล อีกทั้งไม่ได้ประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำ จึงไม่มีลักษณะคล้ายห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน แม้กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนอุดรจะเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าวและอยู่ในลักษณะเจ้าของรวม แต่เมื่อระบุในคำขอรับชำระหนี้ว่า ผู้ขอรับชำระหนี้คือ "กลุ่มครูโรงเรียนอุดรโดย ร. ผู้รับมอบอำนาจ" ไม่ใช่กรรมการของกลุ่มครูโรงเรียนดังกล่าว จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6969/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: วัตถุออกฤทธิ์เมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 7 กับพวกร่วมกันผลิตเมทแมเฟตามีนและมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายกับมีอีเฟดรีนไว้ในครอบครองในวาระเดียวกัน ทั้งวัตถุแห่งการกระทำความผิดต่างก็เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และยึดได้ในคราวเดียวกันถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างให้ถูกต้องและยังมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เช่าซื้อ, การรับสภาพหนี้, และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้เดิมเป็นหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระ มีกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) เดิมนับตั้งแต่วันครบกำหนดแต่ละงวดตามสัญญาเช่าซื้ออันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ คืออย่างช้าวันที่ 1 ธันวาคม 2529 และเมื่อนับจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม 2533อันเป็นวันทำสัญญารับสภาพหนี้เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้วหนี้ค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อจึงขาดอายุความลูกหนี้ไม่อาจทำสัญญารับสภาพหนี้ได้ เพราะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ลูกหนี้ จะทำหนังสือรับสภาพหนี้ได้ก่อนอายุความครบบริบูรณ์เท่านั้น แต่การที่ลูกหนี้จะทำหนังสือรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้พอถือได้ว่า เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความและรับสภาพ ความรับผิดโดยสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคสามและมาตรา 192 วรรคหนึ่ง เดิม เนื่องจากขณะทำสัญญาดังกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ซึ่งบัญญัติให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือมีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดยังไม่ใช้บังคับ สัญญารับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้ และแม้หากต้องถืออายุความตามสัญญาเช่าซื้ออันเป็นมูลหนี้เดิมคือ 2 ปี เมื่อนับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังที่ระบุไว้ในสัญญารับสภาพหนี้ดังกล่าวคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่เจ้าหนี้ฟ้องบังคับตามสัญญาดังกล่าวในวันที่ 16 ตุลาคม 2535 แล้ว ไม่เกินกำหนด2 ปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม และอายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) การที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงนอกจากสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้มีข้อความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหมายความว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อความว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนก็มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน, ข้อตกลงนอกสัญญา, การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม, อายุความ, และดอกเบี้ย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา680วรรคสองจึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)ดังนั้นข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่าหากบริษัทง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลายมีความว่าหากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายเป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตายหรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบหรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมดังนี้ย่อมมีความหมายว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัทง.เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัทง. ชำระหนี้ก่อนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา691 แม้สัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนสัญญาค้ำประกันและตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนแต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/32มิใช่มีอายุความ5ปีตามมาตรา193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ21ต่อปีผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ17ต่อปีตามสัญญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่6มิถุนายน2534ย้อนหลังขึ้นไป5ปีคือวันที่6มิถุนายน2529และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดีผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่าการคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(1)ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การคิดดอกเบี้ยจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และอายุความตามกฎหมายล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา680 วรรคสอง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ดังนั้น ข้อตกลงนอกเหนือสัญญาค้ำประกันว่า หากบริษัท ง. ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือเมื่อดำเนินการบังคับคดีแล้วได้ทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจึงจะชำระหนี้แทนดังที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลอันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกัน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้กับผู้ล้มละลาย มีความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเป็นผู้สาบสูญ หรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ย่อมมีความหมายว่า ผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมในหนี้ของบริษัท ง. เหตุนี้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ผู้คัดค้านเรียกให้บริษัท ง. ชำระหนี้ก่อนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
แม้สัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนสัญญาค้ำประกัน และตารางการผ่อนชำระหนี้ท้ายสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อความว่าผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือน แต่เมื่อสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
มูลหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและสัญญาค้ำประกันเกิดจากตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อได้ความว่าขณะเกิดกรณีพิพาทผู้ล้มละลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจเงินทุนมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้สูงสุดถึงอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ผู้ล้มละลายจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 17 ต่อปี ตามสัญญา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ผู้ร้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับจากวันที่ 6มิถุนายน 2534 ย้อนหลังขึ้นไป 5 ปี คือวันที่ 6 มิถุนายน 2529 และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ผู้ร้องในปัญหานี้ให้เพราะเห็นว่าไม่เป็นสาระแก่คดี ผู้ร้องฎีกาอ้างเพียงว่า การคิดดอกเบี้ยต้องไม่เกิน 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33(1) ฎีกาของผู้ร้องไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายและการขอรับชำระหนี้ของผู้รับโอนที่ไม่สุจริต
เมื่อการโอนทรัพย์พิพาทถูกเพิกถอนแล้วผู้คัดค้านจะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายการที่ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้มิใช่เป็นการตัดสิทธิของผู้คัดค้านแต่อย่างใดนอกจากนี้บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเพราะการโอนถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114เป็นบุคคลผู้ไม่สุจริตขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะเป็นกรณีนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้จึงชอบแล้ว