พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฟ้องเท็จในคดีหมิ่นประมาท การตีความข้อความในเอกสารและหลักการรับฟังพยาน
การกระทำที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา175นอกจากจะต้องเอาข้อความเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่าการกระทำความผิดอาญาแล้วผู้กระทำจะต้องมีเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา59ด้วยเมื่อปรากฏว่าหนังสือตามเอกสารหมายล.1ที่โจทก์ทำและนำไปปิดประกาศที่หน้าบ้านโจทก์ซึ่งบุคคลอื่นที่ผ่านไปมาสามารถพบเห็นได้โดยง่ายมีข้อความว่าป.ผู้เช่าบ้านของก. ภริยาโจทก์ซึ่งถูกฟ้องขับไล่ทนต่อความละอายไม่ได้ได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้วแต่จำเลยกับมารดาและน้องๆของจำเลยบริวารของป. ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่าและจำเลยได้นำป้ายชื่อและอาชีพของตนไปติดไว้ที่ฝาบ้านโดยเปิดเผยแสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่าเช่นนี้ย่อมมีเหตุผลให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ใส่ความจำเลยต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสารว่าแม้ผู้เช่าบ้านได้ยอมออกจากบ้านไปแล้วจำเลยซึ่งเป็นบริวารยังดื้อดึงอาศัยอยู่ในบ้านเช่าตามลำพังโดยไม่จ่ายค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่าทั้งยังเอาป้ายชื่อและอาชีพของจำเลยไปติดไว้แสดงเจตนาครอบครองบ้านเช่าเป็นการกระทำที่น่าจะทำให้จำเลยเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังและตามหนังสือเอกสารหมายล.1ก็เป็นหนังสือของโจทก์ถึงจำเลยโดยตรงข้อความที่ว่าป.ผู้เช่าได้ออกจากบ้านเช่าไปอยู่ที่อื่นแล้วนั้นก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าป.ไม่มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าบ้านอีกต่อไปผู้ที่ต้องรับผิดชำระค่าเช่าบ้านคือผู้ที่อยู่ในบ้านเช่าซึ่งก็หมายถึงตัวจำเลยนั้นเองทั้งจำเลยได้แนบเอกสารหมายล.1เป็นเอกสารท้ายฟ้องของคดีอาญาที่โจทก์กล่าวหาเป็นฟ้องเท็จด้วยจำเลยจึงมิได้บรรยายฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยการบิดเบือนข้อเท็จจริงพฤติการณ์แห่งคดีไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฟ้องเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ: พยานบุคคลสืบแก้ข้อความในสัญญาได้, แก้ไขข้อผิดพลาดคำพิพากษา
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความมาตรา94 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน248,625บาทแต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น248,625บาทเพื่อให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานบุคคลสืบได้ในสัญญาจ้างทำของ, แก้ไขจำนวนเงินเบี้ยปรับตามข้อผิดพลาดเล็กน้อย
สัญญาจ้างทำของกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง จึงอาจนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อความในสัญญาจ้างทำของได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 248,625 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับจำนวน249,625 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็น 248,625 บาท เพื่อให้ถูกต้องได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความเหมือน/คล้ายคลึงจนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศ ใช้อักษรโรมัน มี 2 พยางค์เท่ากัน โดยเฉพาะพยางค์ต้นของโจทก์ใช้คำว่า PLAY แต่ของจำเลยดัดแปลงตัวอักษร A ให้ต่างกันเล็กน้อยเป็น play ซึ่งทั้งสองคำก็อ่านออกเสียงเหมือนกันว่าเพลย์ ส่วนพยางค์หลังของโจทก์คำหนึ่งอ่านว่า BOY และอีกคำหนึ่งอ่านว่า MATE แต่ของจำเลยได้ดัดแปลงให้ออกเสียงแตกต่างไปจากคำว่า MATE เล็กน้อยโดยเปลี่ยนใหม่ว่า man เมื่ออ่านออกเสียงคำว่า playman (เพลย์แมน) ของจำเลย จึงมีสำเนียงเรียกขานเกือบเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำว่า PLAYMATE (เพลย์เมท) ของโจทก์ ลักษณะตัวอักษรและจำนวนตัวอักษรก็ไล่เลี่ยกัน ของโจทก์ใช้อักษร 7 ตัว และ 8 ตัว ของจำเลยใช้อักษร 7 ตัว อักษรส่วนใหญ่เป็นตัวพิมพ์เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าคำว่าplayman ที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนจึงมีลักษณเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในสินค้าได้ เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและโอกาสที่จะทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำในภาษาต่างประเทศใช้อักษรโรมันมี2พยางค์เท่ากันโดยเฉพาะพยางค์ต้นของโจทก์ใช้คำว่าPLAYแต่ของจำเลยดัดแปลงตัวอักษรAให้ต่างกันเล็กน้อยเป็นplayซึ่งทั้งสองคำก็อ่านออกเสียงเหมือนกันว่า เพลย์ ส่วนพยางค์หลังของโจทก์คำหนึ่งอ่านว่าBOYและอีกคำหนึ่งอ่านว่าMATEแต่ของจำเลยได้ดัดแปลงให้ออกเสียงแตกต่างไปจากคำว่าMATEเล็กน้อยโดยเปลี่ยนใหม่ว่าmanเมื่ออ่านออกเสียงคำว่าplayman (เพลย์แมน) ของจำเลยจึงมีสำเนียงเรียกขานเกือบเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำว่าPLAYMATE(เพลย์เมท) ของโจทก์ลักษณะตัวอักษรและจำนวนตัวอักษรก็ไล่เลี่ยกันของโจทก์ใช้อักษร7ตัวและ8ตัวของจำเลยใช้อักษร7ตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นตัวพิมพ์เหมือนกันเครื่องหมายการค้าคำว่าplaymanที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนจึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในสินค้าได้เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจอ้างความสุจริตได้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 2 จึงหมดอำนาจที่จะจัดการหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ผู้คัดค้านในวันที่29 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจดทะเบียนจำนองจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 แก่ผู้คัดค้านจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่าก. คือ จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองที่ดินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ แม้ผู้รับจำนองจะสุจริต
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 2 จึงหมดอำนาจที่จะจัดการหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ผู้คัดค้านในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจดทะเบียนจำนองจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 24 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 แก่ผู้คัดค้านจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่า ก.คือ ร. จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้
เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่า ก.คือ ร. จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้
เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินและการจำนองก่อนล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้บุริมสิทธิและการกระทำที่ไม่สุจริต
แม้ผู้คัดค้านที่1จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ธนาคารก.ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายแต่เมื่อผู้คัดค้านที่1ได้ไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารก.ผู้รับจำนองเดิมถูกต้องครบถ้วนแล้วบุริมสิทธิจำนองของธนาคารก.ที่มีอยู่เหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา744(4)การที่ผู้คัดค้านที่1ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านที่2ในวันเดียวกันกับที่ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจำนองรายใหม่หาใช่เป็นการโอนสิทธิจำนองหรือรับช่วงสิทธิจากการจำนองรายเดิมแต่อย่างใดไม่ดังนั้นแม้การที่ผู้คัดค้านที่2ได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพียงใดก็ตามแต่เมื่อการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่1กระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนภายในระยะเวลาสามปีก่อนขอให้ลูกหนี้ล้มละลายซึ่งศาลเพิกถอนได้แล้วและการจำนองดังกล่าวได้กระทำภายหลังจากที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่2จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116 ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนที่ชอบอยู่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่1ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ยผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองที่ดินหลังล้มละลาย: สิทธิของผู้รับจำนองรายใหม่ และผลของการโอนที่ดินไม่สุจริต
แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ธนาคาร ก. ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ได้ไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ผู้รับจำนองเดิมถูกต้องครบถ้วนแล้ว บุริมสิทธิจำนองของธนาคาร ก. ที่มีอยู่เหนือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างย่อมระงับสิ้นไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 744 (4) การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ในวันเดียวกันกับที่ไถ่ถอนจำนองดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นการจำนองรายใหม่ หาใช่เป็นการโอนสิทธิจำนองหรือรับช่วงสิทธิจากการจำนองรายเดิมแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้การที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 กระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนภายในระยะ-เวลาสามปีก่อนขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ซึ่งศาลเพิกถอนได้แล้ว และการจำนองดังกล่าวได้กระทำภายหลังจากที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 116
ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนที่ชอบอยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
ตราบใดที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนที่ชอบอยู่ กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 1 ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างกองทรัพย์สินลูกหนี้กับทายาทผู้รับมรดก และกรอบเวลาการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่2และที่3ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมีก. ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่2ที่3และก. ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่2ที่3และก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีด้วยกรณีนี้จำเลยที่2ที่3และก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3เป็นลูกหนี้ชั้นต้นส่วนก. เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่สองตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา724มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้และแม้ว่าก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่าก. ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3หาได้หมายความว่าก. จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3ไปด้วยไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ก. และจำเลยที่2และที่3ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน9,429,863บาทให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66บาทไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว