พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย การนับระยะเวลาการทราบคำสั่ง และการส่งมอบเงินตามคำสั่งศาล
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ก. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินได้ร่วมกันจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 724 มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้ และแม้ว่า ก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 อย่างลูกหนี้ร่วมก็ไม่มีฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นไปด้วย มาตรา 693 ก็ไม่ได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่จะไล่เบี้ยเอาจาก ก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ก. และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกัน ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้จำนวน 9,429,863 บาท ให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน 3,143,287.66 บาทไปหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของ ก. ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างกองทรัพย์สินลูกหนี้กับทายาทผู้รับมรดก และกรอบเวลาการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่2และที่3ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมีก. ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่2ที่3และก. ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่2ที่3และก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีด้วยกรณีนี้จำเลยที่2ที่3และก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3เป็นลูกหนี้ชั้นต้นส่วนก. เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่สองตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา724มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้และแม้ว่าก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่าก. ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3หาได้หมายความว่าก. จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3ไปด้วยไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ก. และจำเลยที่2และที่3ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน9,429,863บาทให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66บาทไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้: แม้การทำสัญญาจะไม่มีอำนาจ แต่หากตัวการรับชำระหนี้ ย่อมผูกพันตามสัญญา
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2 ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2 ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้งคัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพันลูกหนี้ที่ 1ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9153/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้ที่ตัวแทนทำโดยปราศจากอำนาจ และผลผูกพันของผู้ค้ำประกัน
การที่ลูกหนี้ที่ 2 ในฐานะกรรมการของบริษัทลูกหนี้ที่ 1ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้แก่เจ้าหนี้โดยมีลูกหนี้ที่ 2ลงลายมือชื่อแต่เพียงผู้เดียวและประทับตราบริษัทของลูกหนี้ที่ 1 ไม่ครบถ้วนตามหนังสือรับรองของลูกหนี้ที่ 1ที่นายทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทออกให้ซึ่งต้องมีกรรมการอื่นอีกคนหนึ่งลงชื่อร่วมกัน เป็นการกระทำของตัวแทนที่กระทำโดยปราศจากอำนาจแต่หลังจากที่ลูกหนี้ที่ 2ทำหนังสือรับสภาพหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่ 1 มิได้โต้แย้ง คัดค้านกลับนำเงินไปผ่อนชำระให้แก่เจ้าหนี้ตามหนังสือ รับสภาพหนี้นั้นบางส่วน ถือได้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้ให้ สัตยาบันแก่การกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ทำให้มีผลผูกพัน ลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะตัวการว่ายอมรับการกระทำของลูกหนี้ที่ 2 ที่ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่เจ้าหนี้และต้องชำระหนี้ นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ลูกหนี้ ที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9052/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถเช่าซื้อของผู้ให้เช่าซื้อโดยไม่สุจริตและข้อจำกัดในการฎีกา
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า การที่ผู้ร้องติดตามรถจักรยานยนต์คืนเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายนั้น ผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังคงค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นหากปรากฏว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายหรือบุบสลาย ผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป ผู้ร้องเพิ่งได้มอบอำนาจให้ จ.ติดตามยึดรถจักรยานยนต์คืนหลังจากรถจักรยานยนต์ถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้แล้วถึง 4 เดือนเศษ และหลังจากผู้เช่าซื้อขาดส่งค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 8 เดือนเศษ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนนอกจากนี้หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระครบถ้วน ผู้ร้องก็ยินยอมให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวต่อไป จึงแสดงว่าผู้ร้องไม่มีความประสงค์จะยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อแต่ประการใด พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าผู้ร้องร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังคงค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นหากปรากฏว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายหรือบุบสลาย ผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้น ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้องวดใดงวดหนึ่ง ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อ เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อต่อไป ผู้ร้องเพิ่งได้มอบอำนาจให้ จ.ติดตามยึดรถจักรยานยนต์คืนหลังจากรถจักรยานยนต์ถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้แล้วถึง 4 เดือนเศษ และหลังจากผู้เช่าซื้อขาดส่งค่าเช่าซื้อเป็นเวลา 8 เดือนเศษ โดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนนอกจากนี้หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระครบถ้วน ผู้ร้องก็ยินยอมให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวต่อไป จึงแสดงว่าผู้ร้องไม่มีความประสงค์จะยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อแต่ประการใด พฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าผู้ร้องร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9052/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอคืนทรัพย์เช่าซื้อ: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ให้เช่าซื้อและการบอกเลิกสัญญา
ที่ผู้ร้องฎีกาว่าการที่ผู้ร้องติดตามรถจักรยานยนต์คืนเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายนั้นผู้ร้องเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195ประกอบด้วยมาตรา225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่าหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายแก่ทรัพย์ที่เช่าซื้อผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังคงค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นหากปรากฏว่าทรัพย์ที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายหรือบุบสลายผู้เช่าซื้อยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ทั้งสิ้นถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่างวดใดงวดหนึ่งผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้ายึดถือครอบครองทรัพย์ที่เช่าซื้อเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิครอบครองรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อต่อไปผู้ร้องเพิ่งได้มอบอำนาจให้จ. ติดตามยึดรถจักรยานยนต์คืนหลังจากรถจักรยานยนต์ถูกพนักงานสอบสวนยึดไว้แล้วถึง4เดือนเศษและหลังจากผู้เช่าซื้อขาดส่งค่าเช่าซื้อเป็นเวลา8เดือนเศษโดยไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนนอกจากนี้หากผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระครบถ้วนผู้ร้องก็ยินยอมให้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวต่อไปจึงแสดงว่าผู้ร้องไม่มีความประสงค์จะยึดรถจักรยานยนต์ของกลางคืนจากผู้เช่าซื้อแต่ประการใดพฤติการณ์เช่นนี้เห็นได้ว่าผู้ร้องร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีหมิ่นประมาท: ความผิดเกิดได้หลายท้องที่ แม้เริ่มที่ กทม. แต่จำหน่ายหนังสือพิมพ์ทั่วประเทศถือเป็นเขตอำนาจศาลในจังหวัดนั้นได้
จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์อันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ และจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ได้ลงข้อความที่จำเลยที่ 1ให้สัมภาษณ์ดังกล่าวในหนังสือพิมพ์อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์และหมิ่นประมาท จึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันโดยความผิดหลายฐานได้กระทำลงโดยมีเจตนาอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24(2) แม้จำเลยที่ 1 จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งตั้งอยู่แขวงป้อมปราบเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร อันเป็นความผิดเกิดในกรุงเทพมหานครก็ตาม แต่หนังสือพิมพ์ที่จำเลยที่ 2ลงข้อความนั้นออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ซึ่งรวมทั้งจังหวัดปทุมธานี อันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22และมาตรา 24 แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่ 2ก็ไม่มีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและความผิดเกี่ยวพัน: คดีหมิ่นประมาทจากหนังสือพิมพ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ และจำเลยที่ 2 บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่ 1 ให้สัมภาษณ์ดังกล่าว อันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย จึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 (2) แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานคร แต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักร ซึ่งรวมทั้งจังหวัดปทุมธานี อันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 22 และมาตรา 24 ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้ แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์ ความผิดเกิดที่ไหนฟ้องได้ที่นั่น แม้ถอนฟ้องจำเลยร่วม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ด้วยถ้อยคำซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และจำเลยที่2บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งได้ลงข้อความที่จำเลยที่1ให้สัมภาษณ์ดังกล่าวอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ถือว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่2ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยจึงเป็นความผิดเกี่ยวพันกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา24(2)แม้ว่าจำเลยที่1จะให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวที่กรุงเทพมหานครแต่หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นได้ออกวางจำหน่ายทั่วราชอาณาจักรซึ่งรวมทั้งจังหวัดประทุมอันถือว่าความผิดได้เกิดในจังหวัดปทุมธานีด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยที่1และที่2ต่อศาลจังหวัดปทุมธานีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา22และมาตรา24ศาลจังหวัดปทุมธานีมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ได้แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยที่2ก็หามีผลทำให้ศาลจังหวัดปทุมธานีไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจ้างทำของในคดีล้มละลาย หากภาระเกินประโยชน์
สัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นสัญญาจ้างทำของที่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่คู่สัญญาที่จะต้องพึงปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่ายกล่าวคือถ้าพิจารณาในด้านของผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับผลงานตามสัญญาแต่ในขณะเดียวกันผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายสินจ้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นการตอบแทนด้วยในทำนองเดียวกันหากพิจารณาในด้านของผู้รับจ้างผู้รับจ้างย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินสินจ้างและในขณะเดียวกันผู้รับจ้างก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างให้แล้วเสร็จตามสัญญาด้วยดังนั้นสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างของจำเลยจึงขึ้นอยู่กับผลงานที่จำเลยได้กระทำไปตามสัญญาจ้างทำของอันมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนและสัญญาดังกล่าวนี้ย่อมตกอยู่ในบังคับมาตรา122แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483กล่าวคือหากผู้คัดค้านเห็นว่าสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาได้