คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมาน เวทวินิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลายและการขอรับชำระหนี้ของผู้รับโอนที่ไม่สุจริต
เมื่อการโอนทรัพย์พิพาทถูกเพิกถอนแล้วผู้คัดค้านจะเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายการที่ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้มิใช่เป็นการตัดสิทธิของผู้คัดค้านแต่อย่างใดนอกจากนี้บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเพราะการโอนถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114เป็นบุคคลผู้ไม่สุจริตขอรับชำระหนี้ไม่ได้เพราะเป็นกรณีนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้เกินคำขอ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินค้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฎอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่าจำนวนเงิน104,000บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่5กุมภาพันธ์2534จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามแต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน104,000บาทเท่านั้นโดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา100การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การระบุจำนวนดอกเบี้ยในคำขอรับชำระหนี้มีผลต่อการพิพากษา
คดีล้มละลายในชั้นขอรับชำระหนี้ถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระ ถ้ามีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
แม้ตามบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ปรากฏอยู่ในช่องหลักฐานประกอบหนี้ระบุว่า จำนวนเงิน 104,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2534 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่ในช่องรายการเจ้าหนี้คงระบุแต่เพียงว่าค่าซื้อสินค้าและในช่องจำนวนเงินก็ระบุจำนวน 104,000 บาท เท่านั้น โดยหาได้ระบุคำนวณจำนวนดอกเบี้ยไว้ด้วยไม่ เมื่อดอกเบี้ยก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100 การที่เจ้าหนี้มิได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระหนี้มาเช่นนี้จึงไม่อาจถือว่าเจ้าหนี้ได้ขอรับชำระค่าดอกเบี้ยด้วย ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ด้วยจึงเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6605/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปี ย่อมหมดสิทธิฟ้องล้มละลาย
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีและยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ออกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดี เมื่อทรัพย์ดังกล่าวไม่พอชำระหนี้และหนี้ที่เหลืออยู่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายใน 10 ปี นับแต่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 แล้ว จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6604/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนหุ้นในคดีล้มละลาย หากผู้รับโอนซื้อโดยสุจริตและได้ค่าตอบแทน ย่อมไม่อาจเพิกถอนได้
ผู้คัดค้านรับโอนหุ้นบริษัทค. จำนวน12,000หุ้นจากจำเลยที่2โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนแม้เป็นการโอนในระหว่างระยะเวลา3ปีก่อนมีการขอให้จำเลยที่2ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนขายหุ้นระหว่างจำเลยที่2กับผู้คัดค้านได้ คดีในชั้นนี้ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคู่ความเองจึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะให้ผู้ร้องเป็นผู้กำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่อีกฝ่ายปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6604/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นสุจริตก่อนล้มละลาย และอำนาจศาลในการกำหนดค่าทนายความ
ผู้คัดค้านรับโอนหุ้นบริษัท ค.จำนวน 12,000 หุ้น จากจำเลยที่ 2โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แม้เป็นการโอนในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านได้
คดีในชั้นนี้ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคู่ความเองจึงไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะให้ผู้ร้องเป็นผู้กำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่อีกฝ่าย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า - พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ต้องทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดเดิมได้
โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1โดยปิดหมายเมื่อวันที่7มิถุนายน2537ซึ่งจำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่7กรกฎาคม2537แม้ทนายจำเลยที่1จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่1กรกฎาคม2537ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก6วันที่จำเลยที่1สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่งกรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้ด้วยกรณีของจำเลยที่1จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่1ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่7กรกฎาคม2537การที่จำเลยที่1ยื่นคำขอในวันที่15กรกฎาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาคำขอพิจารณาใหม่: การพิจารณาพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถในการยื่นคำขอภายในกำหนด
โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยปิดหมายเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2537 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2537 แม้ทนายจำเลยที่ 1 จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก 6 วัน ที่จำเลยที่ 1 สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลง เพราะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง กรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงได้ นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้ด้วย กรณีของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2537 การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำขอในวันที่ 15 กรกฎาคม 2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้, การรับสภาพหนี้, และขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้
คำฟ้องบรรยายว่า นับตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้เงินไปจากโจทก์ด้วยวิธีการนำเช็คมาขายลดและกู้เงินแบบทั่วไปหลายครั้ง ทุกครั้งที่กู้เงินไปก็ได้รับเงินไปครบถ้วนทุกครั้งและจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หลายครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 คำฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยชัดเจนแล้ว ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดของลูกหนี้ตามหนังสือรับสารภาพหนี้ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุมประเด็นเรื่องนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งถึงแม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ไว้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์โดย ผ. และ น.กรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญลงในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ. และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์หนังสือมอบอำนาจนี้หาระงับไปไม่ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุว่ามอบอำนาจให้ ป. หรือ อ. คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ได้เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7(2) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อ ป. ร่วมกับ น.มอบอำนาจช่วงให้ ว. ฟ้องและดำเนินคดีนี้แทนโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้เป็นลูกหนี้มาทำสัญญารับสภาพหนี้ไว้กับโจทก์เป็นสัญญา 2 ฝ่ายอันมีลักษณะเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งมาตรา 350มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด ดังนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้คนใหม่ให้ลูกหนี้คนเดิมทราบ เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจลูกหนี้เดิมแล้ว สัญญาแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวจึงใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
of 99