พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6105/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการชำระหนี้ล้มละลาย: การยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
สัญญานายหน้าซื้อขายที่ดินระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 1 ระบุสาระสำคัญไว้ว่าจำเลยที่ 1 จะชำระค่านายหน้าให้แก่ผู้คัดค้านในวันจดทะเบียนซื้อขายที่ดิน ณสำนักงานที่ดิน แต่ปรากฎว่าผู้คัดค้านได้รับเงินค่านายหน้า ในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดิน จึงเป็นการชำระหนี้ก่อนมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขัดกับเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญานายหน้าอันเป็นข้อพิรุธแสดงให้เห็นถึงความเร่งรีบจ่ายและรับเงินค่านายหน้าซึ่งชำระก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเพียง7 วัน และก่อนจำเลยทั้งสองจะถูกฟ้องล้มละลายไม่ถึง 20 วันทั้งสัญญานายหน้าก็ทำก่อนสัญญาซื้อขายที่ดินเพียง 2 วันเท่านั้น จึงขัดกับวิธีปฎิบัติทั่วไปที่วิญญูชนพึงกระทำพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะยักย้ายถ่ายเทเงินค่าขายที่ดิน ปิดบังมิให้เจ้าหนี้รายอื่นของจำเลยที่ 1ได้รับชำระหนี้แต่ยอมชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เพียงเท่านี้ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนการชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้คัดค้านจะได้รับชำระหนี้โดยสุจริตหรือไม่ การเพิกถอนการชำระหนี้เป็นไปโดยผลของกฎหมาย ตราบใดที่ ศาลยังไม่มีคำสั่งให้เพิกถอนก็ต้องถือว่าเป็นการชำระหนี้ โดยชอบอยู่ จะถือได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องหาได้ไม่ ผู้คัดค้านต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6083/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่ลงทะเบียนยังใช้ยันบุคคลภายนอกได้ หากผู้รับโอนมีหลักฐานการครอบครองหุ้น
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสามมิใช่เป็นบุคคลภายนอกที่ต้องห้ามมิให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนหุ้นจากจำเลยที่ 2 ยกการโอนขึ้นยันตามพระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 199 ประกอบมาตรา 53 เพราะโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิอยู่ในหุ้นพิพาทเท่านั้นซึ่งถ้าการโอนหุ้นพิพาทสมบูรณ์แล้ว ผู้ร้องย่อมเป็นเจ้าของหุ้น ที่มีสิทธิขอให้ปล่อยหุ้นพิพาทได้ พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 53มิได้มุ่งประสงค์บังคับโดยเด็ดขาดว่าหากไม่ลงทะเบียนการโอนแล้วจะโอนหุ้น กันไม่ได้ หากผู้รับโอนหุ้น ไม่ประสงค์จะลงทะเบียนการโอนก็ไม่จำต้องดำเนินการดังกล่าว การไม่ลงทะเบียนการโอนมีผลเพียงมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนใดหรือเงินปันผลแก่บุคคลที่มิได้ลงทะเบียนเป็นผู้ถือหลักทรัพย์เท่านั้น เมื่อผู้ร้องมีหลักทรัพย์ประเภทหุ้นระบุชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือ และจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังแสดงการโอนไว้อยู่ในครอบครอง ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของหุ้นพิพาทโดยการโอนซึ่งไม่จำต้องลงทะเบียนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลและการสะดุดหยุดของอายุความจากการยึดทรัพย์
ว.แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน2534ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้วแต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่1กรกฎาคม2535ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลและยังอยู่ภายในกำหนดเวลา1ปีนับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าวอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุดอายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15วรรคสองดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้องโจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของจ. โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉลคดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลสะดุดหยุดเมื่อยึดทรัพย์ แม้ยังไม่ฟ้องคดี
ว.ผู้แทนโจทก์ทราบเมื่อประมาณเดือนกันยายน 2534 ว่าที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งถือได้ว่าโจทก์รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลแล้ว แต่โจทก์ก็ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2535 ซึ่งเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล และยังอยู่ภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนดังกล่าว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และตราบใดที่ที่ดินพิพาทยังถูกยึดอยู่ เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ตามมาตรา193/15 วรรคสอง ดังนั้นเมื่อผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่า ที่ดินพิพาทที่โจทก์นำยึดเป็นของผู้ร้อง โจทก์ต่อสู้ว่ายังเป็นของ จ.โดยการโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเป็นการคบคิดกันฉ้อฉล คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อฉลและการยึดทรัพย์: การยึดทรัพย์เป็นการกระทำที่ทำให้สะดุดหยุดอายุความ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ที่พิพาทที่โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลย โจทก์ให้การว่าผู้ร้องรับโอนที่พิพาทจากจำเลยโดยคบคิดกันฉ้อฉล ดังนี้ หากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่พิพาทภายใน 1 ปี นับแต่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือภายใน 10 ปี นับแต่จำเลยโอนที่พิพาทให้ผู้ร้อง ก็ถือว่าการยึดทรัพย์เป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ซึ่งทำให้อายุความเกี่ยวกับการเพิกถอนการฉ้อฉลสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(5) และตราบใดที่พิพาทยังถูกยึดอยู่เหตุที่จะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ยังไม่สิ้นสุด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6041/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีค่าหุ้นค้างชำระ: ระยะเวลา 10 ปีนับจากคดีถึงที่สุด & การอ้างเอกสารในสำนวน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้อ้างสรรพเอกสารในสำนวนทวงหนี้ลูกหนี้รายผู้ร้องเป็นพยาน โดยระบุไว้ในบัญชีพยานแล้ว แม้จะขออ้างส่งเฉพาะเอกสารบางฉบับในสำนวนก็ไม่จำต้องยื่นบัญชีพยานหรือขอระบุพยานเพิ่มเติมต่างหากอีก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกหนี้ค่าหุ้นที่ค้างชำระจากผู้ร้อง ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ถือว่าคดีถึงที่สุดนับแต่ระยะเวลาที่อาจฎีกาได้สิ้นสุดลง ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเมื่อยังไม่เกิน 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนเงินทางโทรศัพท์ทำให้หนี้ระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยโอนเงินทางโทรศัพท์เข้าบัญชีโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653แต่เป็นการชำระหนี้อย่างอื่น เมื่อโจทก์ยอมรับแล้วหนี้เงินกู้จึงระงับลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้สงวนไว้เฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้อื่นไม่มีสิทธิร้องขอ
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทวงหนี้จากลูกหนี้ในคดีแพ่งหากไม่ได้รับชำระหนี้ก็ให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับคดีต่อไป เมื่อผู้คัดค้านไม่ดำเนินการบังคับดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำร้องของผู้ร้องจึงมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2443 มาตรา 36 ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้สงวนไว้สำหรับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ผู้ล้มละลายไม่มีสิทธิ
เดิมผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องผู้จัดการมรดกและทายาทขอแบ่งทรัพย์มรดกและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วต่อมาผู้ร้องถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายบ. ในฐานะผู้จัดการมรดกในคดีแพ่งและในฐานะเจ้าหนี้รายที่12ได้ยื่นคำร้องขอชำระเงินจำนวน3,000,000บาทที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยให้ถือว่าเป็นส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนที่ผู้ร้องจะได้รับและให้งดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินในกองมรดกและยอมให้บ. ถอนคำขอรับชำระหนี้การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทวงหนี้จากลูกหนี้ในคดีแพ่งหากไม่ได้รับชำระหนี้ก็ให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้นเนื่องมาจากผู้คัดค้านปฎิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติรับข้อเสนอของบ. ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคำร้องของผู้ร้องจึงมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้บุคคลอื่นไม่มีสิทธิร้องขอได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา153