พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการชำระหนี้แทนบุคคลล้มละลายและการยกเลิกการล้มละลายเมื่อหนี้สินได้รับการชำระเต็มจำนวน
แม้คำร้องที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านที่1ได้อายัดไว้มากกว่าหนี้ของเจ้าหนี้ที่เหลือหลายเท่าตัวผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องถูกเพิกถอนการขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งทำให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโอนกลับคืนเข้าไปเป็นกองทรัพย์สินของจำเลยผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยได้ก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นผู้ร้องได้ขอวางเงินในจำนวนที่เพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วการที่ผู้ร้องซึ่งต้องเสียสิทธิในที่ดินที่ได้รับซื้อฝากเพราะศาลฎีกาได้พิพากษาให้เพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา116ให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก็เพื่อให้ที่ดินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่าง>เจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา124หากเจ้าหนี้ทั้งหลายได้รับชำระหนี้โดยครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านที่1ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยต่อไปตลอดจนไม่ต้องเก็บรวบรวมที่ดินของผู้ร้องที่ถูกเพิกถอนนั้นถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยในการชำระหนี้จึงชอบที่จะเข้าชำระหนี้นั้นได้แม้จะเป็นการเข้าชำระหนี้โดยขืนใจจำเลยก็ตามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา314วรรคสองเมื่อผู้ร้องเป็นผู้เข้าชำระหนี้ของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายรวมทั้งค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของจำเลยเพราะเหตุที่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา135(3)ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ แม้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้แม้ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. จะมีลูกหนี้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ก็เป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ล้มละลาย ไม่ล่วงล้ำจัดการทรัพย์สินนิติบุคคลแยกต่างหาก
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา24และมาตรา22ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่3ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นหาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่3มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ได้แม้จำเลยที่3จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นจำกัดพ. ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1269เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่3ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5429/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินลูกหนี้ที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ไม่สามารถล่วงล้ำไปยังทรัพย์สินของบุคคลอื่นหรือนิติบุคคลอื่นได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติถึงวิธีการจัดกิจการและรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายไว้ตามมาตรา 24 และมาตรา 22 ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเข้าจัดการได้เฉพาะทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น หาได้มีอำนาจล่วงล้ำไปถึงการจัดการทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 3 มิได้เป็นลูกหนี้ผู้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ได้ แม้จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิได้รับแบ่งคืนทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นเรื่องที่มีมาภายหลังเพียงเท่าที่ไม่ต้องเอาไว้ใช้ในการชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 1269 เหตุนี้จึงมิได้เกี่ยวข้องกับกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ร้องขอเป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5405/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่จำเลยที่ยึดครองที่ดินต่างส่วนกัน การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการครอบครองปรปักษ์
จำเลยทั้งสองต่างเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของโจทก์คนละส่วนเป็นส่วนสัดแยกต่างหากจากกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองเป็นคนละคดีได้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง เข้ามาในคดีเดียวกัน แต่การพิจารณาว่าคดีมีทุนทรัพย์เท่าใด ย่อมจะต้องถือตามราคาที่ดินที่จำเลยแต่ละคนต่างเข้าไป ยึดถือครอบครองมิใช่นับรวมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดสิทธิทายาทและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม: สิทธิทายาทนอกพินัยกรรมยังคงมีอยู่
ปัญหาที่ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่บ.และระบุไว้ในพินัยกรรมว่า"บุคคลอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ไม่มีสิทธิรับมรดกของข้าฯแต่อย่างใด"แสดงว่าผู้ตายมีเจตนายกทรัพย์มรดกทั้งตามพินัยกรรมและนอกพินัยกรรมให้แก่บ. แต่เพียงผู้เดียวและเป็นการตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้ร้องจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำแก้อุทธรณ์ก็ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคสอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจนแต่ตามข้อความในพินัยกรรมมิได้ระบุไว้ให้ชัดเจนว่าตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดกและเมื่อผู้ตายยังมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากทรัพย์มรดกที่ยกให้แก่บ.ตามพินัยกรรมผู้คัดค้านในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมมีสิทธิร้องคัดค้านและขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ แม้ผู้คัดค้านจะเป็นทายาทมีสิทธิรับทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมของผู้ตายคนหนึ่งและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกก็ตามแต่เมื่อผู้ตายได้ทำพินัยกรรมแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกแล้วก็สมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตัดสิทธิทายาท: พินัยกรรมต้องระบุชัดเจน การตัดสิทธิจึงมีผลบังคับใช้
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ บ. และระบุไว้ในพินัยกรรมว่า บุคคลอื่นใดที่มิได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ไม่มีสิทธิรับมรดกของข้าฯ มิได้ระบุไว้ให้ชัดเจนว่าตัวผู้คัดค้านมิให้รับมรดก จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการตัดผู้คัดค้านมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1608
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดซื้อพัสดุโดยวิธีพิเศษที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ แต่ไม่เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นละเมิด
หนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมปีที่1เป็นหนังสือแบบฝึกหัดไม่จำต้องส่งให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจเพราะไม่ได้เป็นหนังสืออยู่ในบังคับของกระทรวงศึกษาธิการแต่เป็นหนังสือประกอบการเรียนไม่เป็นหนังสือที่บังคับใช้ตามหลักสูตรจึงไม่จำเป็นต้องซื้อโดยเร่งด่วนและไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยวิธีพิเศษแม้ฝ่ายจำเลยจะอ้างว่าในการจัดซื้อหนังสือรายนี้ได้มีการจัดตั้งกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯข้อที่25(4)ก็เป็นการกล่าวอ้างลอยๆโดยไม่มีพยานหลักฐานใดสนับสนุนทั้งตามบันทึกเสนอขอซื้อก็มีเพียงระบุตัวกรรมการตรวจรับพัสดุเท่านั้นหาได้มีการเสนอตั้งกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษไม่ฟังไม่ได้ว่าได้มีการจัดตั้งกรรมการจัดซื้อดังที่ฝ่ายจำเลยอ้างการจัดซื้อหนังสือรายพิพาทจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ผู้แทนสำนักพิมพ์ต่างๆเบิกความเกี่ยวกับราคาหนังสือพิพาทว่าเป็นราคาประเมินมีราคาไม่เท่ากันเอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้และยังได้ความว่าในการจัดพิมพ์หนังสือรายพิพาทนี้ผู้พิมพ์ให้ค่าตอบแทนค่าลิขสิทธิ์แก่ผู้เขียนแตกต่างกันโดยภาคเอกชนให้ในอัตราสูงส่วนของทางราชการให้ในอัตราต่ำและเมื่อนำไปประกอบกับผู้แต่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสูงเป็นที่น่าเชื่อถือมีจำหน่ายที่ร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัดเพียงแห่งเดียวย่อมทำให้ผู้ผลิตและจำหน่ายกำหนดราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาดได้เพราะไม่มีคู่แข่งส่วนที่โจทก์อ้างว่าหนังสือพิพาทมีราคาเล่มละ9.49บาทซึ่งสำนักงานการประถมศึกษาฯซื้อในราคาเล่มละ30บาทเป็นราคาสูงกว่าความเป็นจริงก็เพียงอาศัยการประเมินราคาจากสำนักพิมพ์ต่างๆซึ่งไม่ได้พิมพ์หนังสือพิพาทที่เป็นหนังสือชนิดประเภทและคนแต่งคนเดียวกันที่จะนำมาเปรียบเทียบราคากันได้อีกทั้งผู้ขายได้เสนอขายหนังสือพิพาทไปยังจังหวัดต่างๆซึ่งก็ซื้อในราคาเดียวกันนี้จนทางราชการได้รับหนังสือและแจกจ่ายให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์สมความมุ่งหวังของทางราชการแล้วเมื่อไม่ปรากฎว่ามีการทุจริตกรณีจึงไม่เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือโจทก์แต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยที่5ถึงที่8จะดำเนินการซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมปีที่1จากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัดไม่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการแต่ก็ไม่เกิดความเสียหายการกระทำของจำเลยที่5ถึงที่8จึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย หากเจตนาให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ แม้ผู้รับโอนสุจริต
การที่จำเลยโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งภายในระยะเวลา3เดือนก่อนจำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้เพราะการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆของจำเลยเพียงแต่จำเลยฝ่ายเดียวรู้ว่าเป็นการโอนที่ทำให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นก็เป็นการเพียงพอที่จะให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการโอนนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา115โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: ขอบเขตการคุ้มครองจนถึงวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ต่อมาได้ขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน กรณีจึงต้องด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตาา 100 ที่บัญญัติไม่ให้ถือว่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในดอกเบี้ยได้จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น