พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: ขอบเขตการคุ้มครองจนถึงวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ต่อมาได้ขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ศาลอนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน กรณีจึงต้องด้วยพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตาา 100 ที่บัญญัติไม่ให้ถือว่าดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในดอกเบี้ยได้จนถึงวันที่ลูกหนี้ที่ 1 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือที่ขาดทุน ไม่ถือว่ารู้ถึงหนี้สินล้นพ้นตัว
ลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือของเจ้าหนี้โดยเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ42.8เท่ากับว่าเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอย่างมากการที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาในสภาวะที่กิจการขาดทุนจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินในลักษณะชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสดำเนินธุรกิจไปตามปกติในทางการค้าซึ่งอาจจะมีกำไรได้ในภายหลังเมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะที่เจ้าหนี้ให้กู้ยืมนั้นลูกหนี้มีหนี้สินกับเจ้าหนี้อื่นใดมาก่อนอีกทั้งการกู้ยืมตลอดจนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่เจ้าหนี้ได้กระทำขึ้นก่อนที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย5ถึง6ปีและในขณะนั้นไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องลูกหนี้จึงยังไม่พอฟังว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4799/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทในเครือและการประเมินสภาพหนี้สินก่อนล้มละลาย
ลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือของเจ้าหนี้โดยเจ้าหนี้ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ42.8 เท่ากับว่าเจ้าหนี้มีส่วนได้เสียอย่างมาก การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินเมื่อลูกหนี้ประสบปัญหาในสภาวะที่กิจการขาดทุน จึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินในลักษณะชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสดำเนินธุรกิจไปตามปกติในทางการค้าซึ่งอาจจะมีกำไรได้ในภายหลัง เมื่อไม่ปรากฏว่าในขณะที่เจ้าหนี้ให้กู้ยืมนั้นลูกหนี้มีหนี้สินกับเจ้าหนี้อื่นใดมาก่อน อีกทั้งการกู้ยืมตลอดจนการออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่เจ้าหนี้ได้กระทำขึ้นก่อนที่ลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย 5 ถึง6 ปี และในขณะนั้นไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหนี้รายใดฟ้องลูกหนี้ จึงยังไม่พอฟังว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดจากหนังสือแจ้งหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยหลังแจ้งหนี้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งความไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคแรก เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของจำเลยถือได้ว่าเป็นการทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีซึ่งเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เดิมเมื่อผู้คัดค้านได้แจ้งความเป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2524 ซึ่งอยู่ภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่12 มกราคม 2522 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงสะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2524สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านจึงยังไม่ขาดอายุความ และมิใช่ผู้คัดค้านเพิ่งมาใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้เมื่อวันที่12 มกราคม 2537 อันเป็นวันที่ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องให้ชำระหนี้ตามมาตรา 119 วรรคสอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม ใช้บังคับแก่ดอกเบี้ยที่ค้างส่งอยู่ก่อนวันฟ้อง เมื่อการแจ้งความ เป็นหนังสือให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 มีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีแล้วดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจึงไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างส่งจะใช้มาตรา 166 เดิมมาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมกันรับซื้อและสับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ที่ถูกขโมย แม้แสดงเจตนาบริสุทธิ์ แต่พฤติการณ์บ่งชี้ความผิดฐานรับของโจร
ในวันเกิดเหตุลักรถจักรยานยนต์ของกลาง ก. ได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปพบจำเลยที่ 3 ที่คิวรถและบอกขายเครื่องยนต์ของรถคันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3ซึ่งจำเลยที่ 3 ทราบดีว่าเครื่องยนต์ที่ตนรับซื้อไว้ไม่ใช่ของ ก. ผู้บอกขายหากแต่เป็นของบุคคลอื่น ทั้งสถานที่บอกขายก็มิใช่สถานที่มีการขายและขายในราคาต่ำแต่จำเลยที่ 3 ยังรับซื้อและนำไปให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยกันถอดเปลี่ยนตัวเครื่องยนต์เพื่อสับเปลี่ยนกับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งทำให้หมายเลขตัวเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ทั้งสองคันมีหมายเลขไม่ตรงกับรายการจดทะเบียนในสมุดคู่มือจดทะเบียน แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสามจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางและของจำเลยที่ 3 ไปถอดตัวเครื่องยนต์และชิ้นอุปกรณ์อื่นที่บริเวณหน้าบ้านจำเลยที่ 1 เป็นที่เปิดเผยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เคยรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์ที่บริเวณหน้าบ้านของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจได้ว่าการถอดตัวเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นในคราวเกิดเหตุนี้เป็นการซ่อมรถจักรยานยนต์อย่างที่จำเลยที่ 1 เคยรับจ้างมาก็เป็นได้ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 รับซื้อตัวเครื่องยนต์แล้วนำไปจ้างให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถอดเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: เจตนาและพฤติการณ์การสับเปลี่ยนเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ที่บ่งชี้ถึงความรู้ว่าทรัพย์สินนั้นถูกลักมา
ในวันเกิดเหตุลักรถจักรยานยนต์ของกลาง ก.ได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปพบจำเลยที่ 3 ที่คิวรถและบอกขายเครื่องยนต์ของรถคันดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 ทราบดีว่าเครื่องยนต์ที่ตนรับซื้อไว้ไม่ใช่ของ ก.ผู้บอกขายหากแต่เป็นของบุคคลอื่น ทั้งสถานที่บอกขายก็มิใช่สถานที่มีการขายและขายในราคาต่ำแต่จำเลยที่ 3 ยังรับซื้อและนำไปให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ช่วยกันถอดเปลี่ยนตัว-เครื่องยนต์เพื่อสับเปลี่ยนกับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 3 ซึ่งทำให้หมายเลขตัวเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ทั้งสองคันมีหมายเลขไม่ตรงกับรายการจดทะเบียนในสมุดคู่มือจดทะเบียน แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสามจะนำรถจักรยานยนต์ของกลางและของจำเลยที่ 3 ไปถอดตัวเครื่องยนต์และชิ้นอุปกรณ์อื่นที่บริเวณหน้าบ้านจำเลยที่ 1เป็นที่เปิดเผยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เคยรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์ที่บริเวณหน้าบ้านของจำเลยที่ 1 ย่อมทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจได้ว่าการถอดตัวเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นในคราวเกิดเหตุนี้เป็นการซ่อมรถจักรยานยนต์อย่างที่จำเลยที่ 1เคยรับจ้างมาก็เป็นได้ พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 รับซื้อตัวเครื่องยนต์แล้วนำไปจ้างให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ถอดเครื่องยนต์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้อยู่ว่าเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลย-ทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4685/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินกับการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยื่นไว้ระบุว่า เป็นค่าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งคดีดังกล่าวเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ตามมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ต่อมาเจ้าหนี้ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เป็นว่า เป็นหนี้ตามอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาต ดังนั้น คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ในคดีนี้จึงเป็นการขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาสามปีนับแต่วันถึงกำหนดใช้เงิน สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงขาดอายุความ ถือว่าเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 94 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในมูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลภายในกำหนด แม้ศาลไม่ต้องระบุผลการทิ้งฟ้องโดยชัดแจ้ง
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่18กรกฎาคม2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่าให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน5วันไม่มีผู้รับให้ปิดโดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตามยางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่21กรกฎาคม2537ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้วกรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่21กรกฎาคม2537แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์จนกระทั่งวันที่17สิงหาคม2537อันล่วงเลยกำหนดเวลา5วันตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าพ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้วผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่งศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2),246ประกอบด้วยมาตรา153แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการนำส่งตามตำสั่งของศาลชั้นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)บัญญัติว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วแต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบด้วยมาตรา246จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า"หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4640/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลในการดำเนินคดีล้มละลาย ถือเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2537ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของผู้ร้องในวันรุ่งขึ้นว่า ให้รับอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้องให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 5 วัน ไม่มีผู้รับให้ปิด โดยเจ้าหน้าที่ของศาลได้ประทับตรายางกำหนดให้ผู้ร้องมาทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ซึ่งผู้ร้องได้ลงชื่อรับทราบไว้แล้ว กรณีจึงถือได้ว่าผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 แต่ผู้ร้องมิได้มานำส่งสำเนาอุทธรณ์ จนกระทั่งวันที่ 17 สิงหาคม 2537 อันล่วงเลยกำหนดเวลา5 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีได้รายงานต่อศาลชั้นต้นว่า พ้นกำหนดระยะเวลาในการนำหมายแล้ว ผู้ร้องไม่มาเสียค่าธรรมเนียมในการส่ง ศาลชั้นต้นจึงให้ส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2), 246 ประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าธรรมเนียมในการนำส่งก็ไม่ทำให้ผู้ร้องหมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) บัญญัติว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยได้ส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว ให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เมื่อผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นซึ่งกำหนดให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพื่อการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา246 จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องสั่งไว้อย่างชัดแจ้งด้วยว่า "หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือว่าทิ้งฟ้อง"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการขายทอดตลาด: ผลประโยชน์ตกเป็นของจำเลยจนกว่าการซื้อขายจะสมบูรณ์
ผู้ร้องทั้งสามเป็นผู้ซื้อที่ดินของจำเลยจากการขายทอดตลาดจำเลยยื่นคำร้องให้ยกเลิกการขายทอดตลาดระหว่างพิจารณาคำร้องผู้คัดค้านมีคำสั่งให้สำนักงานบังคับคดีฯจัดเก็บผลประโยชน์ต่างๆในที่ดินดังกล่าวเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยผู้ร้องทั้งสามจึงได้ชำระเงินครบถ้วนภายหลังจากนั้นการขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าวเมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของจำเลยผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์ในที่ดินนั้น