พบผลลัพธ์ทั้งหมด 990 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4363/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจำนองเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย แม้สุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
ผู้คัดค้านยอมตกลงให้จำเลยที่ 2 กู้เงินโดยจำนองที่ดินพิพาทไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ของตนเองและหนี้เงินกู้ของ อ. ที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกัน ซึ่งการจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้ อันเป็นหนี้อุปกรณ์ของหนี้เงินกู้ซึ่งเป็นหนี้ประธาน จึงเป็นหนี้คนละส่วนแยกจากกันได้ และกรณีเป็นการจำนองเพื่อหนี้ในอนาคตตาม ป.พ.พ.มาตรา 707สัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับ อ.ได้เกิดขึ้นแล้วก่อนการจำนอง แม้ผู้คัดค้านยังไม่จ่ายเงินให้จำเลยที่ 2 หรือ อ.ตามสัญญากู้เงินจนกว่าจะได้จดทะเบียนจำนองก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการจ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรืออ.ก็เป็นผลมาจากตามสัญญากู้เงินที่มีต่อกัน โดยมีการจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันเท่านั้น ผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันอยู่ก่อนแล้วในขณะมีการจดทะเบียนจำนอง เมื่อจำเลยที่ 2 นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองไว้แก่ผู้คัดค้านภายหลังจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
การจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ มิใช่สัญญาต่างตอบแทน เพราะเป็นเพียงการเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันชำระหนี้ หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ ผู้คัดค้านจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองภายหลัง ซึ่งเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญากู้อันเป็นหนี้ประธาน และคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 แม้ผู้คัดค้านจะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การจดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ มิใช่สัญญาต่างตอบแทน เพราะเป็นเพียงการเอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันชำระหนี้ หากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระหนี้ ผู้คัดค้านจึงจะบังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองภายหลัง ซึ่งเป็นสัญญาแยกต่างหากจากสัญญากู้อันเป็นหนี้ประธาน และคดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 แม้ผู้คัดค้านจะสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นฎีกา: ทุนทรัพย์พิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาท จึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง 75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามทุนทรัพย์คดีล้มละลาย: มูลค่าหุ้น 75,000 บาท
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง 75,000 บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2784/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อมีทุนทรัพย์พิพาทน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดในคดีล้มละลาย
มูลค่าหุ้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีหนังสือยืนยันให้ผู้ร้องชำระมีราคาเพียง75,000บาทจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาเพียง75,000บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9656/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย - ผิดสัญญาชำระหนี้ - เบี้ยปรับ - การลดเบี้ยปรับ
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ1กำหนดว่าจำเลยจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่27ธันวาคม2533และข้อ5กำหนดว่าจำเลยจะต้องดำเนินการจัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาททั้งหมดด้วยเมื่อปรากฎว่าในวันนัดโอนโจทก์มีเงินค่าที่ดินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลยเหตุที่ไม่มีการโอนที่ดินพิพาททั้งๆที่โจทก์และจำเลยได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดโอนเนื่องจากจำเลยยังมิได้จัดการให้ช. รื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาทจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้วเพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้นแม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียวอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(3)อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่าถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใดเมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วจำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัยโจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน500,000บาทคืนจากจำเลยไม่ได้ ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขายกำหนดว่าถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันทีและยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน1,000,000บาทนั้นค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญาและเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรกล่าวคือไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา381จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้วโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วยแต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้1,000,000บาทนั้นสูงเกินส่วนที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ100,000บาทเป็นจำนวนที่สมควรแล้ว ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใดถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้องโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9656/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ย
สัญญาจะซื้อจะขายข้อ 1 กำหนดว่า จำเลยจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2533 และข้อ 5 กำหนดว่า จำเลยจะต้องดำเนินการจัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทออกไปจากที่ดินพิพาททั้งหมดด้วย เมื่อปรากฏว่าในวันนัดโอนโจทก์มีเงินค่าที่ดินพร้อมที่จะชำระให้แก่จำเลย เหตุที่ไม่มีการโอนที่ดินพิพาททั้ง ๆ ที่โจทก์และจำเลยได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัดโอนเนื่องจากจำเลยยังมิได้จัดการให้ ช.รื้อถอนบ้านและออกไปจากที่ดินพิพาท จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย
การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้ว เพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้น แม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียว อันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378 (3) อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่า ถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน 500,000 บาท คืนจากจำเลยไม่ได้
ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขาย กำหนดว่า ถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันที และยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร กล่าวคือ ไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ 1,000,000 บาท นั้น สูงเกินส่วน ที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ 100,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใด ถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง
การที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาในข้อที่ว่าจะไปทำการโอนที่ดินพิพาทในวันนัดโอนแล้ว เพียงแต่จำเลยจัดการให้ผู้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทล่าช้าไปบ้างนั้น แม้เป็นการผิดสัญญาแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้เสียทีเดียว อันจะเป็นผลให้จำเลยต้องส่งคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 378 (3) อีกทั้งตามสัญญาจะซื้อจะขายก็มิได้กำหนดว่า ถ้าฝ่ายจำเลยผิดสัญญาให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นอันเลิกกันและโจทก์ก็ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทแต่อย่างใด เมื่อจำเลยจัดการให้ผู้ที่อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยสามารถโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ การชำระหนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงเรียกมัดจำจำนวน 500,000 บาท คืนจากจำเลยไม่ได้
ส่วนค่าเสียหายซึ่งสัญญาจะซื้อจะขาย กำหนดว่า ถ้าผู้จะขายเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องศาลบังคับคดีได้ทันที และยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้ออีกส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ค่าเสียหายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควร กล่าวคือ ไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 จำเลยผิดสัญญาโดยไม่จัดการให้ผู้ที่อาศัยหรือทำประโยชน์ออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันนัดโอนนอกจากโจทก์จะมีสิทธิเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทอันเป็นการชำระหนี้แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย แต่เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ 1,000,000 บาท นั้น สูงเกินส่วน ที่ศาลชั้นต้นลดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชดใช้ให้โจทก์ลงเหลือ 100,000 บาท เป็นจำนวนที่สมควรแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับเมื่อใด ถือว่าจำเลยผิดนัดนับแต่วันฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยสำหรับเบี้ยปรับจากจำเลยนับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหักล้างสัญญากู้เงินและการพิจารณาหนี้สินในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปีเป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ ส.ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย: การนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อตกลงกู้เงินที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยที่1นำไปให้บุคคลภายนอกกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ7ถึง25ต่อเดือนแล้วแบ่งผลประโยชน์กันสัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่1ปล่อยกู้เพียง375,000บาทแต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ25ต่อเดือนเป็นเวลา1ปีเป็นเงิน1,125,000บาทมารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน1,500,000บาทแล้วให้จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกันจำเลยที่1ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่1ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ส.ไปแล้วจำนวน250,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยที่1ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายนอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารในคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาความจริงเพื่อความสงบเรียบร้อย
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14เป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานย่อมขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องหนี้จากการผิดสัญญาตัวแทน, เบี้ยปรับ, และอายุความดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า ถ้าจำเลยผิดสัญญาโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินแทนได้ทันที เป็นข้อกำหนดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดมิใช่หน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ โจทก์จะใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันหรือไม่เป็นเรื่องของโจทก์ ทั้งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 ก็ไม่ได้กำหนดเวลาว่าเจ้าหนี้จะต้องเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้โดยพลัน เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นและธนาคารในฐานะผู้ค้ำประกันยังชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบถ้วน ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้และสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ได้ตามมาตรา 213 และมาตรา 685 สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยระบุว่า ในกรณีตัวแทนผิดนัดสัญญาขายเงินเชื่อไม่ส่งเงินค้างชำระภายใน ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้นเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 สัญญาตั้งตัวแทนขายปุ๋ยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ส่งเงินค่าปุ๋ยของโจทก์ที่จำเลยจำหน่ายได้ให้โจทก์ภายในกำหนดจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ15 ต่อปีของเงินที่จะต้องส่งให้โจทก์ ดังนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ย จึงเป็นดอกเบี้ยค้างส่งหรือค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(1) ซึ่งมีอายุความ 5 ปี ไม่ใช่ 10 ปี